reply
Not identifiable July 2, 2011, 3:43 pm
ช่วงเดือนก่อนลูกค้าท่านหนึ่ง(ฝรั่่งต่างชาติด้วย)สั่งเปลือกเม็ดมะม่วงจำนวนหลายตัน ลูกค้าบอกว่าสามารถเอาไปทำน้ำมันนวดตัวได้ครับ ผมยังแปลกใจอยู่ว่า ยางมันกัดผิวหนังแล้วน้ำมันจากเปลือก จะไม่กัดผิดหนังหรือ ไม่แน่อาจมีเทคโนโลยีที่สามารถทำให้ผิวหนังไม่ระคายเคืองเป็นแน่แท้...

--------------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับลูกค้าทุกท่าน เรามี "เม็ดมะม่วงหิมพานต์" ขายจำนวนมาก..

- จัมโบ้ (jumbo)
- เกรด เอ A
- เกรด บี B
- เม็ดซีก
- เม็ดท่อน
ถ้าท่านต้องการซื้อยกคัน ตั้งแต่ 2.8 ตันขึ้นไปราคาถูกลงไปอีก
บริการจัดส่งถึงที่เฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑล ต่างจังหวัดราคาตามพื้นที่ค่ะ สนใจติดต่อ

คุณ ปลาย 084-0419990 หรือ 088-1600547
คุณ อร 089-6941720
E-mail : korrawig@gmail.com
http://tamlay.com/ad-4e0ed4eae216a7ac3a000000.html



reply
Not identifiable October 2, 2010, 11:16 am
อยากรู้คุณสมบัติของเปลือกจังคับว่ามันสามารถทำอะไรดได้บ้าง



reply
nongview September 8, 2010, 7:56 pm
เนื่องจากมะม่วงหิมพานต์เป็นพืชที่มีลักษณะพิเศษคือ สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพดินเลว แห้งแล้ง และให้ผลผลิตในช่วงแล้ง เริ่มติดผลเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน และจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคมของทุกปี จึงเป็นพืชที่มีความเหมาะสมอีกชนิดหนึ่งที่จะปลูกได้ดีในเขตจังหวัดระนอง



reply
nongview September 8, 2010, 7:54 pm
เคล็ดลับกับคุณประโยชน์ของมะม่วงหิมพานต์

มะม่วงหิมพานต์(กาหยู)เป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนของต้น เช่น ผลปลอม ใช้รับประทานเป็นอาหาร ทำแยม ทำน้ำส้มสายชู เครื่องดื่มและไวน์ หรือใช้ทำปุ๋ยน้ำชีวภาพก็ได้ เมล็ดใน ใช้รับประทานเป็นอาหาร มีคุณค่าทางอาหารสูง เปลือกหุ้มเมล็ด ใช้ทำเชื้อเพลิง ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าสกัดเป็นน้ำมัน มีประโยชน์ทางอุตสาหกรรมทำผ้าเบรก แผ่นคลัตช์ หมึกพิมพ์ สีทาบ้าน ใบและยอดอ่อนรับประทานบรรเทาโรคท้องร่วง บิด และริดสีดวงทวาร ลำต้น ใช้ทำลังไม้ หีบใส่ของ เป็นต้น

 



คุณประโยชน์เมล็ดมะม่วงหิมพานต์



reply
nongview September 8, 2010, 7:53 pm
คัดเมล็ดแล้วนำไปอบ อีก 2 ชั่วโมง
จึงนำบรรจุถุง

150 บาท ต่อถุง
ทราบขั้นตอนแล้วไม่แพงเลยใช่ไหมครับ

 



บรรจุถุง



reply
nongview September 8, 2010, 7:53 pm
ลุงเจ้าของสวนกำลังบรรยายขบวนการกระเทาะ
โรงงานในจังหวัดระนอง ใหญ่แค่ไหนก็ต้องทำทีละเมล็ด
ขั้นตอนแต่ละขั้นยุ่งยากไม่น้อย



เข้าเครื่องทุ่นแรง ช่วยกระเทาะทีละเมล็ด



reply
nongview September 8, 2010, 7:52 pm
ปูนแดง
ใช้ทาผิวกันยางจากเมล็ดกัดผิวหนังไหม้ได้



ปูนแดง



reply
nongview September 8, 2010, 7:51 pm
ต้มแล้วอบ
อบแล้วมากระเทาะเม็ด
บางที่ใช้ค้อน บางที่ใช้เครื่องทุ่นแรงแบบนี้

ลุงบอกให้ค่าจ้างกระเทาะ โลละ 25 บาท มีใครสนใจบ้าง?

 



กระเทาะเปลือก



reply
nongview September 8, 2010, 7:51 pm
ตากแดด 5 วัน แล้วนำมาต้ม
ต้มด้วยเตาฟื้น จะได้กลิ่นหอมกว่า



เตาฟืน



reply
nongview September 8, 2010, 7:50 pm
เก็บแล้ว คัดเมล็ดและชั่งกิโล

 



คัดเมล็ด



reply
nongview September 8, 2010, 7:50 pm
นำไปตากแดด



ตากแดด



reply
nongview September 8, 2010, 7:49 pm
ผลผลิตกาหยูจะเก็บได้ประมาณเดือนธันวาคม-มีนาคมของทุกปี เกษตรกรเจ้าของสวนจะปล่อยให้กาหยูสุกจนร่วงหล่น แล้วไปเก็บใต้โคนต้น โดยก่อนกาหยูใกล้สุกเกษตรกรจะทำความสะอาดบริเวณโคนต้นให้สะอาด โล่งเตียน เพื่อความสะดวกในการเก็บเมล็ดกาหยูที่ร่วงหล่นบนพื้นดินใต้โคนต้น ปลิดเอาเฉพาะเมล็ดไปขาย ราคากิโลกรัมละ 25-30 บาท ตามคุณภาพ
-------------------------------------
ไทยทัวร์ถาม
ทำไปลุงปล่อยให้กาหยูหล่นไม่สนใจไปเก็บหรือ
คุณลุงตอบ
ไม่มีคนไปเก็บ .... ปกติจะจ้างชาวบ้านแถวนี้ไปเก็บ ให้ โลละ 5 บาท (เก็บอย่างเดียวจากสวนของแก)
 



reply
nongview September 8, 2010, 7:48 pm
เมล็ดจะเริ่มโผล่ออกมาก่อนผล
แล้วรอจนผลสุก จึงจะเริ่มเก็บ

 



ยังไม่สุก



reply
nongview September 8, 2010, 7:48 pm
การทำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์(กาหยู)
ปัจจุบันหากเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ จะมีระบบขั้นตอนแปรรูปที่ประหยัดเวลาและพลังงานต่อหน่วยกว่าก็จริง แต่....
สู้แบบดั้งเดิมแบบนี้ไม่ได้



กาหยูเผาแบบดั้งเดิม ดีกว่าการแปรรูปโดยวิธีการต้มหรือวิธีการอื่น เพราะ กาหยูแบบดั้งเดิมจะหอมตามธรรมชาติ รสชาติดี
ไม่ต้องปรุงแต่ง ขั้นตอนการเผาเริ่มจากรับซื้อเมล็ดกาหยูจากเกษตรกร แล้วนำไปตากแดด ก่อนนำไปคั่วหรือเผาในกระทะใบใหญ่ บนเตาเผาแบบก่อดินโบราณ โดยใช้หินก้อนโต
วางเป็นสามเส้า ใช้เปลือกกาหยูเป็นเชื้อเพลิง คั่วบนเตา ประมาณ 20 นาที จนกระทั่งยางเริ่มออกจากเปลือกเมล็ดกาหยู ไฟจากเตาก็จะขึ้นลุกโชนในกระทะเหมือนเผากาหยู จึงเรียกกันว่า "กาหยูเผา" จากนั้นยกกระทะลงจากเตาและคั่วต่อไปจนเมล็ดกาหยูสุกจนทั่ว สังเกตได้จากเมล็ดจะไหม้ดำทั่วทั้งกระทะ จึงใช้น้ำดับไฟ แล้วเทลงบนพื้น เกลี่ยบาง ๆ ทิ้งไว้จนเย็น จึงนำไปกระเทาะเปลือกออก โดยใ้ช้ค้อนเล็ก ๆ หรือเครื่องเคาะ
ก็จะได้เมล็ดกาหยูเผาที่แสนหอม



(ที่เกาะพะยามนี้ ยังคงใช้วิธีดั้งเดิม+เตาอบที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ดูจะทันสมัยหน่อย)
 

 



ลุงผู้ให้ข้อมูลกับผมเอง...



reply
nongview September 8, 2010, 7:46 pm
อาคารหลังนี้ครับ....
โรงงานผลิดเม็ดมะม่วงหิมพานต์ สุดยอดความอร่อย
(ผมก็ซื้อมา 2 ถุง)

โปรดสังเกตุ แผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านครับ....
ตอนแรกนึกว่าคงไม่ได้ใช้
แต่ที่ไหนได้ ตัวเล็กๆ อย่างนี้ ลุงเจ้าของ บอกว่าใช้ได้ดีกว่ากันเดิมอีก (แกได้มาสมัยนายกทักษิณ)

ต่อไปนี้จะเริ่มเข้าเรื่องซักที.....
 



โรงงานทำเม็ดมะม่วงหิมพานต์



reply
nongview September 8, 2010, 7:45 pm


โซล่าเซลล์



reply
nongview September 8, 2010, 7:45 pm
โครงการพัฒนาชนบท ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยกระทรวงมหาดไทย

ที่โครงการที่เกาะพะยามนี่ มี 2 จุด
จุดที่ป้ายนี้เคยใช้ได้ดี ปีแรกๆ(42) แต่ปัจจุบัน ชำรุดไปหน่อย
ชาวบ้านบอกผมว่า ไม่ใช้แล้ว
แต่ยังคงใช้พลังแสงอาทิตย์ในกระบวนการผลิดเม็ดมะม่วงหิมพานต์อยู่บ้าง...

 



โครงการพัฒนาชนบท โดยพลังงานแสงอาทิตย์



reply
nongview September 8, 2010, 7:44 pm
ภาพ (ถ่ายเมื่อ 10 เม.ย. 2551)
ศูนย์เกษตรแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ เกาะพะยาม จ.ระนอง
 



เกาะพยาม ที่ปลูกกาหยู



reply
nongview September 8, 2010, 7:43 pm
ที่ระนองอากาศเหมาะสม ท่านคอซิมบี้ เป็นผู้นำเข้ามาปลูกในไทย ที่ จ.ระนอง รวมทั้งตามเกาะช้าง เกาะพยาม ซึ่ง เป็นแหล่งผลิตกาหยูที่มีคุณภาพดี จนขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งกาหยูหวานของจังหวัดระนองเลยทีเดียว
 



ต้นกาหยู



reply
nongview September 8, 2010, 7:40 pm
มะม่วงหิมพานต์
พืชอุตสาหกรรมที่สำคัญพืชหนึ่งของประเทศไทย และกำลังได้รับความสนใจทั้ง ภาครัฐบาลและเอกชนที่จะพัฒนาให้เป็นพืชเศรษฐกิจเพื่อเป็นสินค้าส่งออก จากการวิจัยพบว่า มะม่วงหิมพานต์ สามารถเจริญได้ดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ของประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นพืชที่ทนแล้ง ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว ดูแลง่าย ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดที่ระบายน้ำดี หน้าดินลึกไม่เป็นดินดาน ไม่เป็นดินด่างจัด หรือกรดจัด การปลูกมะม่วงหิมพานต์นอกจากเป็นการเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรแล้วยังเป็นการเพิ่มการปลูกป่า ทำให้สภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น



Load more...