reply
Jirapong June 15, 2012, 12:11 am
ขอบคุณข้อมูล www.naranong.net



reply
Jirapong June 15, 2012, 12:10 am


ในปลายรัชกาลที่ ๔ หลวงระนองเจ้าเมืองคนเดิมถึงแก่กรรมลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า หลวงรัตนเศรษฐีทำอากรดีบุกมาช้านานหลายปี ส่งเงินภาษีอากรมิได้ขาดค้าง เป็นผู้ใหญ่ใจอารีอารอบเป็นที่รักใคร่นับถือ พอจะเป็น เจ้าเมืองระงับกิจทุกข์ของไพร่บ้านพลเมืองต่อไปได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนเป็น พระรัตนเศรษฐี ผู้สำเร็จราชการเมืองระนอง
ปีพุทธศักราช ๒๔๐๕ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกเมืองตระและเมืองระนองขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อกรุงเทพพระมหานคร เพื่อให้สะดวกในการรักษาพระราชอาณาเขต เพราะขณะนั้น อังกฤษได้เข้ามารุกรานพม่า ซึ่งมีชายแดน ติดต่อถึงเมืองระนอง โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยารัตนเศรษฐี ผู้สำเร็จราชการเมืองระนอง

เมืองระนองเจริญรุ่งเรืองมาก มีผู้คนอพยพจากเมืองใกล้เคียง เช่น เมืองไทรบุรี เมืองปีนัง มาตั้งหลักแหล่งทำมาค้าขายและขุด ร่อนแร่ดีบุก พระยารัตนเศรษฐีได้ตั้งห้างโกหงวนที่เกาะหมากเพื่อซื้อขายสินค้าของเมืองระนอง ขยายการทำเหมืองแร่ข้ามเขาบรรทัด ไปถึงเมืองหลังสวน ทำให้เมืองหลังสวนเจริญขึ้น และได้รับการยกฐานะเป็นเมืองจัตวาเช่นเดียวกัน

ปีพุทธศักราช ๒๔๑๙ อันเป็นสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ระนองเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยผลประโยชน์ นายทุนและกรรมกร กรรมกรจีนซึ่งมีอยู่มากมายเกิดกำเริบต่อสู้เจ้าเมือง รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงส่งทหารคุม ปืนใหญ่เล็ก และโปรดฯ ให้ส่งกำลังจากกองทัพหัวเมืองเข้ามาปราบ เมื่อบ้านเมือง สงบแล้ว ได้เลื่อนตำแหน่งพระยารัตนเศรษฐี เป็น พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี จางวางผู้กำกับราชการเมืองระนอง และทรงแต่งตั้งคอซิมก๊อง บุตรชายคนโตของ ท่านขึ้นเป็น “พระยารัตนเศรษฐี” ผู้ว่าราชการเมืองระนองแทน
พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) ได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปีพุทธ ศักราช ๒๔๒๕ อายุได้ ๘๖ ปี ด้วยวัณโรคที่ไขสันหลัง ได้รับพระราชทานที่ดินที่ เขาระฆังทอง เมืองระนอง เป็นที่ฝังศพ พระราชทานป้ายศิลาปักหน้าฮวงซุ้ย จารึกประวัติของท่านทั้งภาษาไทยและภาษาจีน.



reply
Jirapong June 15, 2012, 12:10 am
ในระหว่างที่ทำการค้าอยู่ที่พังงา ได้สมรสกับหญิงชาวพังงา (คุณหญิงซิทท์ กิ้มเหลียน) มีบุตรด้วยกัน ๕ คน และมีบุตรที่เกิดจากภรรยาเมืองระนอง ชื่อ กิ้ม อีก ๑ คน

ปีพุทธศักราช ๒๓๘๙ ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ คอซู้เจียง ได้เข้ากรุงเทพพระมหานคร พบกับ พระยาอัครมหาเสนาบดี (ดิศ บุนนาค) สมุหพระกลาโหม ผู้รับผิดชอบหัวเมืองภาค ใต้ เพื่อขอประมูลผูกขาดอากรดีบุกเมืองระนอง และเมืองตระ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต จากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้เป็น หลวงรัตนเศรษฐี ตำแหน่งขุนนางนายอากรเมืองระนอง แล้วได้ย้ายครอบครัวจาก เมืองพังงามาอยู่เมืองระนอง แต่บ้านที่พังงาก็ยังรักษาไว้เพื่อความไม่ประมาท ได้เกลี้ยกล่อมชักชวน ราษฎรชาวไทยจีนและหัวเมืองใกล้เคียงให้มาทำมาหากินใน ๑๐ ตำบลที่ รับทำอากรดีบุก ได้ถวายอากรดีบุกจำนวน ๑๔,๐๐๐ ชั่ง ต่อปี (หนึ่งล้านบาทเศษในขณะนั้น)



reply
Jirapong June 15, 2012, 12:09 am
คอซู้เจียง (ต้นตระกูล ณ ระนอง) เป็นชาวจีนฮกเกี้ยน เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๓๔๐ ที่เมืองเจียงจิวหู ประเทศจีน ตรงข้ามกับเกาะ ไต้หวัน เมื่ออายุ ๒๕ ปี (พ.ศ.๒๓๖๕) ได้เดินทางออกจากแผ่นดินจีน หนีความยากแค้นกดขี่จาก รัฐบาลแมนจู มาเป็นกรรมกรอยู่ที่เกาะหมาก (ปีนัง) ทำเกษตรกรรมและค้าขายอยู่ราว ๖ ปี พอมีทุนแล้วได้เข้ามาราชอาณาจักสยามในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ทำการค้าที่เมืองตะกั่วป่า โดยได้รับความช่วยเหลือจากท้าวเทพสุนทร ภริยาเจ้าเมือง ตะกั่วป่า ต่อมาย้ายไปตั้งหลักแหล่งที่พังงา ได้ต่อเรือกำปั่นใบวิ่งล่องค้าขายดีบุกและพืชผล เช่น รังนก พริกไทย จันทน์เทศ แลกเปลี่ยนกับเสื้อผ้า ปืน ฯลฯ ที่เกาะหมาก ต่อมาเห็นว่าเมืองตระและเมือง ระนองมีแร่ดีบุกมาก แต่ผู้ทำการขุดแร่มีน้อย จึงได้คิดทำเหมืองแร่



Load more...