reply
nongview July 3, 2010, 8:38 pm
ชาวบ้านนิยมมาวางเบ็ดตกปลา ที่ท้ายเขื่อน



reply
nongview July 3, 2010, 8:37 pm
ภาพนี้ ถ่ายปี 07



reply
nongview July 3, 2010, 8:35 pm
ขอบคุณข้อมูลจาก egat.com และ ไทยทัวร์.com



reply
nongview July 3, 2010, 8:34 pm
ภาพ: อ่างเก็บน้ำ
การก่อสร้างและติดตั้ง
การก่อสร้างและติดตั้งระยะแรก (เครื่องที่ 1-2-3) สำหรับการเตรียมการก่อสร้างเขื่อนนั้น ได้เจาะอุโมงค์น้ำตามแนว อุโมงค์ผันน้ำ ที่ได้ออกแบบไว้เพื่อการศึกษาทางด้านธรณีวิทยาเพิ่มเติม และเพื่อทำการอัดฉีดน้ำปูนป้องกันการรั่วซึม ในเรื่องของการก่อสร้างตัวเขื่อนนั้น ได้เริ่มจากงานฐานราก ขุดลอกดิน และผิวหน้าออก อัดฉีดน้ำปูนเพื่อป้องกันการรั่วซึม จากนั้นก็ได้เริ่มงานถมดินและบดอัดดินเหนียว ในส่วนที่เป็นแกนเขื่อน ถมกรวดทรายที่เป็นผนังติดกับแกนเขื่อน และถมหิน การก่อสร้างได้เริ่มไปพร้อมๆกันจนตัวเขื่อนแล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤษภาคม

พ.ศ.2521ต่อจากนั้นก็เริ่มดำเนินงานติดตั้งอุปกรณ์เครื่องกลไฟฟ้า ซึ่งได้แก่ปั้นจั่นประจำโรงไฟฟ้า เครื่องกังหันน้ำ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า อุปกรณ์ภายในโรงไฟฟ้าและลานไกไฟฟ้า ด้านอ่างเก็บน้ำ ได้เริ่มทำการกักเก็บน้ำเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา



reply
nongview July 3, 2010, 8:29 pm
ภาพ: สวนกาลเวลา

โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนศรีนครินทร์
โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ ตั้งอยู่บนแม่น้ำแควใหญ่ ที่บ้านเจ้าเณรตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ได้ศึกษา และสำรวจอย่างจริงจัง ตั้งแต่ พ.ศ. 2508 และเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2516 จนกระทั้งแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2523 และใช้ประโยชน์อยู่ใน ปัจจุบันนี้การก่อสร้างในระยะแรกนั้น ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพียง 3 เครื่องขนาดกำลังผลิตเครื่องละ 120,000 กิโลวัตต์ การก่อสร้างระยะที่ 2 กฟผ.ได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำ ระบบสูบน้ำกลับได้ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ 180,000 กิโลวัตต์ อีก 2 เครื่องเพื่อรองรับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยเครื่องที่ 4 ติดตั้งแล้วเสร็จและจ่ายไฟฟ้าได้ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2528 และเครื่องที่5 ติดตั้งแล้วเสร็จและจ่ายไฟฟ้าได้ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งทำให้เขื่อนศรีนครินทร์มีกำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 320,000 กิโลวัตต์นับเป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่มีกำลังผลิตสูงที่สุดในประเทศไทย



reply
nongview July 3, 2010, 8:27 pm
ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้เลือกที่ตั้งเขื่อน ที่บ้านเจ้าเณร เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2513 ได้ทำการศึกษา และสำรวจรายละเอียดของโครงการ รวมทั้งการทดลอง การทดสอบในสนาม และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ กฟผ. ดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2516 กฟผ. ได้ดำเนินงานก่อสร้างเขื่อน (ศรชี้ในรูปคือจุดสร้างเขื่อน) และอาคารประกอบ พร้อมติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 3 เครื่อง มีกำลังผลิตเครื่องละ 120,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิตไฟฟ้า 360,000กิโลวัตต์ ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 1,028 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2525 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 4 และ 5 ซึ่งมีกำลังผลิตเครื่องละ 180,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิตไฟฟ้า 360,000 กิโลวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณปีละ 222 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ได้เริ่มก่อสร้างและติดตั้งเพิ่มเข้าไป ทำให้มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั้งหมด 5 เครื่อง มีกำลังผลิตรวม 720,000 กิโลวัตต์



reply
nongview July 3, 2010, 8:26 pm
ประวัติ

การศึกษาโครงการพัฒนาแหล่งน้ำแควใหญ่เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2448 แต่ยังไม่ละเอียดนัก ในปี พ.ศ. 2508 กฟผ. ได้ทำการศึกษารายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแควใหญ่ และได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจตามลำน้ำแควใหญ่ เพื่อหาข้อมูลมาประกอบการพิจารณาที่ตั้งเขื่อน ได้เห็นว่าบริเวณบ้านเจ้าเณร เป็นที่ที่เหมาะสมอีกแห่งหนึ่ง และในปี พ.ศ. 2509 นี้เอง กฟผ. ก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปดำเนินงานภาคสนาม ในปี พ.ศ. 2510 ได้สำรวจเพื่อหาข้อมูลในด้านต่างๆ เช่น การทำแผนที่ภูมิประเทศ งานสำรวจทางธรณีวิทยา เก็บข้อมูลทางอุทกวิทยา และสำรวจแหล่งวัสดุ ฯลฯ เป็นต้น การเลือกที่ตั้งเขื่อนบนลำน้ำแควใหญ่นั้น พิจารณาเห็นว่าที่บ้านเจ้าเณรเหมาะสมที่สุด



reply
nongview July 3, 2010, 8:25 pm
สันเขื่อน



Load more...