reply
Jirapong July 18, 2012, 6:43 pm
โทษของการทำลายป่าพรุ
ทำให้ดินและน้ำบริเวณป่าพรุและใกล้เคียงกลายเป็นกรดอย่างรุนแรงจนไม่สามารถประกอบการกสิกรรมหรือแม้แต่นำมาดื่มกินได้ ปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ สูญหายไปอย่างรวดเร็ว ยิ่งไปกว่านั้น อากาศร้อนจะแห้งแล้งมากขึ้น น้ำที่เคยมีในพื้นที่ป่าพรุก็แห้งเกิดไฟป่าเผาไหม้ เหตุการณ์เหล่านี้เองเป็นสิ่งเตือนใจให้ประชาชนได้ทราบถึงผลร้ายในการทำลายป่าพรุ

การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าพรุที่เสื่อมโทรมให้คืนดีจะต้องอาศัยความร่วมมือกันหลาย ๆ ฝ่าย และประชาชนจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของป่าพรุด้วยเนื่องจากป่าพรุเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ จึงอยู่ในความสนใจของประชาชนอย่างกว้างขวาง ความตื่นตัวนี้ส่งผลให้เกิดความพยายามที่จะรักษาธรรมชาติ และคุณภาพสิ่งแวดล้อมเอาไว้


กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานที่ริเริ่มเข้าไปดำเนินงานด้านป่าพรุภายใต้โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส ได้ขยายการดำเนินงานการศึกษาและวิจัยป่าพรุ โดยการจัดตั้งศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าพรุขึ้น และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ทรงพระราชทานนามศูนย์ศึกษาธรรมชาติแห่งนี้ว่า "ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร"


ศูนย์นี้ตั้งขึ้นโดยมีความมุ่งหมายให้ป่าพรุเป็นแหล่งการศึกษาความรู้ในธรรมชาติ อีกทั้งเป็นสถานที่พักผ่อนหาความเพลิดเพลินของนักศึกษาและประชาชนผู้สนใจ โดยมีการก่อสร้างทางเดินเพื่อสะดวกในการเข้าไปศึกษาป่าพรุ แต่อย่างไรก็ตามความมุ่งหมายในที่สุดก็คือ เพื่อให้เป็นแหล่งสร้างจิตสำนักแก่ประชาชนโดยทั่วไป ได้ตระหนักถึงความสำคัญและเกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรในป่าพรุ และช่วยกันรักษาป่าพรุโต๊ะแดงให้คงอยู่ตลอดไป



reply
Jirapong July 18, 2012, 6:41 pm
จากจุดนี้ นั่งเรือออกทะเลได้เลย



reply
Jirapong July 18, 2012, 6:40 pm
เด็กๆ กำลังเล่นน้ำ อย่างสนุก



reply
Jirapong July 18, 2012, 6:40 pm
พันธุ์ไม้ ใน ป่าพรุ

พื้นที่พรุส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำและดินอินทรีย์ซึ่งทับถมกันอยู่หลวม ๆ การดำรงชีวิตอยู่ของพืชโดยเฉพาะต้นไม้ใหญ่จึงเป็นไปอย่างยากลำบาก พืชในป่าพรุจึงมีการพัฒนาระบบราก ชนิดพิเศษแตกต่างไปจากระบบรากของพืชในป่าประเภทอื่น ๆ เช่น พัฒนาเป็นพูพอน รากค้ำยัน และรากหายใจ เป็นต้น
--------------
ภาพ: ดอกไม้ ระหว่างเดิน




reply
Jirapong July 18, 2012, 6:39 pm
ป่าพรุมีน้ำแช่ขังตลอดปี การไหลเวียนของน้ำเป็นไปอย่างช้า ๆ กระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ ไม่หยุดนิ่ง สีของน้ำเป็นสีน้ำตาลคล้ายน้ำชา เป็นสีของน้ำฝาด (น้ำฝาด คือ น้ำสีน้ำตาลที่ได้จากการสลายตัวของซากพืช) รสเฝื่อนเล็กน้อย (เผื่อน คือ ฝาดปนเปรี้ยว) น้ำในป่าพรุมีสภาพความเป็นกรด-ด่าง หรือมีค่า pH = 4.5-6.0 เป็นกรดอ่อน ๆ สามารถนำมาใช้บริโภคได้ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำได้เป็นอย่างดี
------------
ภาพ: พืชใต้น้ำ ใน ป่าพรุ



reply
Jirapong July 18, 2012, 6:33 pm
ในอดีต เคยมีป่าพรุในประเทศไทยมากถึงกว่า 400,000 ไร่ กินเนื้อที่กว่า 50 ล้านไร่ แต่ได้ค่อย ๆ ลดปริมาณลงจากการถูกบุกรุกแผ้วถางทำการเกษตร จนปัจจุบันเหลือไม่ถึง 60,000 ไร่




reply
Jirapong July 18, 2012, 6:32 pm
เส้นทางเดินเท้ายังไม่จบ



reply
Jirapong July 18, 2012, 6:32 pm
สำหรับในประเทศไทย พื้นที่ที่มีป่าพรุเกิดขึ้นนั้น มักจะเป็นที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป และพบในบางส่วนบ้างของภาคกลาง ในปัจจุบัน พื้นที่ป่าพรุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ป่าพรุสิรินธร หรือป่าพรุโต๊ะแดง ในจังหวัดนราธิวาส มีเนื้อที่กว่า 125,625 ไร่



reply
Jirapong July 18, 2012, 6:29 pm
สภาพโดยทั่วไปของป่าพรุ นั้น คือ พื้นด้านล่างจะเป็นพรุมีน้ำขังตลอดทั้งปี น้ำจะมีสีเขียวหรือน้ำตาลเข้ม อันเกิดจากการหมักหมมตัวมาอย่างยาวนานของซากพืช ซากสัตว์ น้ำจะมีสภาพเป็นกรดมากกว่าค่าของน้ำปกติ (PH ต่ำกว่า 7)

ระบบนิเวศในป่าพรุนั้นมีความหลากหลาย และเกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันกัน ไม้ยืนต้นจะมีระบบรากแขนงแข็งแรงแผ่ออกไปเกาะเกี่ยวกันเพื่อจะได้ช่วยพยุงลำต้นของกันและกัน และให้ยืนตัวทรงอยู่ได้ ดังนั้นต้นไม้ในป่าพรุจึงอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หากต้นใดต้นหนึ่งล้ม ต้นอื่นจะล้มตามไปด้วย



reply
Jirapong July 18, 2012, 6:28 pm
ป่าพรุ คือ อะไร ?
ป่าพรุ เป็นประเภทของป่าดิบชื้นประเภทหนึ่ง ที่อยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม เกิดจากแอ่งน้ำจืดเกิดขังตัวติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน มีการสะสมของชั้นดินอินทรีย์วัตถุ เช่น ซากพืช, ซากสัตว์, เศษซากของต้นไม้ ใบไม้ ต่าง ๆ จนย่อยสลายช้า ๆ กลายเป็นดินพีตหรือดินอินทรีย์ที่มีลักษณะหยุ่นยวบเหมือนฟองน้ำที่มีความหนาแน่นน้อยอุ้มน้ำได้มาก และพบว่ามีการสะสมระหว่างดินพีตกับดินตะกอนทะเลสลับกันชั้นกัน 2-3 ชั้น เนื่องจากน้ำทะเลเคยมีระดับสูงขึ้นจนท่วมป่าพรุ เกิดการสะสมของตะกอนน้ำทะเลถูกขังอยู่ด้านใน พันธุ์ไม้ในป่าพรุตายลงไป และเกิดเป็นป่าชายเลนขึ้นมาแทนที่ เมื่อระดับน้ำทะเลลดลง และมีฝนตกลงมาสะสมน้ำที่ขังอยู่จึงจืดจางลง และเกิดป่าพรุขึ้นมาอีกครั้ง ดินพรุชั้นล่างมีอายุถึง 6,000-7,000 ปี ส่วนดินพรุชั้นบนอยู่ระหว่าง 700-1,000 ปี



reply
Jirapong July 18, 2012, 6:26 pm
นี่แหละครับ ป่าพรุ



reply
Jirapong July 18, 2012, 6:25 pm
เมื่อเดินเท้าเข้าไปลึกๆ จะพบความเป็นป่าชายเลนมากขึ้น เพราะใกล้ปากอ่าว(น้ำทะเล)



reply
Jirapong July 18, 2012, 6:24 pm
เส้นทางเดินเท้า ศึกษาธรรมชาติ เป็นป่ารกบ้าง ทึบบ้าง สลับกันไป



reply
Jirapong July 18, 2012, 6:22 pm
ช็อดนี้ถ่ายไว้เยอะ (พอไหวไหม)



reply
Jirapong July 18, 2012, 6:21 pm
เล่นมุมแสง นิดหน่อย



reply
Jirapong July 18, 2012, 6:20 pm
คลองสองน้ำ คือ น้ำจืด จากเขาครามไหลมาผสมกับน้ำเค็มเมื่อยามน้ำทะเลขึ้นสูง จึงเป็นชื่อเรียกของผืนป่าที่นี่ "คลองสองน้ำ"



reply
Jirapong July 18, 2012, 6:18 pm
แถวนี้ดูน้ำจะขุ่นไปหน่อย



reply
Jirapong July 18, 2012, 6:17 pm
ถ่ายได้เรื่อยๆ ครับ แนะนำเที่ยวช่วงเย็นๆ ประมาณ16.00-17.00 น. แสงกำลังดี ทำมุมสะท้อนเงาน้ำและต้นไม้ได้สวย



reply
Jirapong July 18, 2012, 6:15 pm
จุดถ่ายภาพ จุดแรกของผม



reply
Jirapong July 18, 2012, 6:15 pm
เส้นทางเดินทางเท้า ทางอย่างดีตลอด




Load more...