“ศาลที่ประดิษฐานรูปแกะสลัก ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว”

ประวัติเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ศาลเจ้าเล่งจูเกียง หรือ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นศาลที่ประดิษฐานรูปแกะสลัก ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว พระหมอ เจ้าแม่ทับทิม ตั้งอยู่ที่ถนนอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวจีนและชาวไทยโดยทั่วไปมาก

 

ประวัติการสร้างหรือความเป็นมาของศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว มีการเล่าสืบต่อๆ กันมาเป็นตำนานที่เกี่ยวกับประวัติเมืองปัตตานี จากการศึกษาจากการบันทึกในสมัยราชวงศ์เหม็ง (พ.ศ. 2064-2109) เมื่อประมาณกว่า 400 ปี กล่าวว่า ลิ้มกอเหนี่ยวและพี่ชาย ชื่อลิ้มโต๊ะเคี่ยมเป็นชาวเมืองฮุยไล้ แขวงเมืองแต้จิ๋ว เดิมลิ้มโต๊ะเคี่ยมรับราชการอยู่ที่เมืองดังกล่าว ครั้งเมื่อสิ้นบุญบิดาแล้วจึงมารับราชการที่เมืองจั่วจิว ในช่วงที่โจรสลัดญี่ปุ่นกำเริบหนัก ทางเมือหลวงได้แต่งตั้งขุนพล เช็ก กี กวง เป็นแม่ทัพเรือปราบสลัดญี่ปุ่น จึงเป็นโอกาสดีของคู่อริที่จะใส่ความลิ้มโต๊ะเคี่ยม ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจึงหนีไปยังเกาะกีลุ่ง (เกาะไต้หวัน) และหนีต่อไปยังเกาะลูวอน (ฟิลิปปินส์) แต่ต้องปะทะกับกองเรือของสเปนที่ยึดครองอยู่

 

หลังจากนั้นลิ้มโต๊ะเคี่ยมจึงเดินทางมายังปัตตานี ได้ทำงานเป็นนายด่านเก็บภาษี ต่อมาจึงได้สร้างท่าเรือพาณิชย์แห่งหนึ่งชื่อ “โต๊ะเคี่ยม” ภายหลังลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้เข้ารับนับถือศาสนาอิสลามมีภรรยาเป็นเชื้อพระวงศ์ของเจ้าเมืองปัตตานีเป็นที่โปรดปรานของเจ้าเมืองปัตตานีจนได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหัวหน้าด่านเก็บส่วยสาอากรต่างๆ ทางเมืองจีนมารดาและน้องสาว สืบเสาะข่าวก็ไม่ทราบ ลิ้มกอเหนี่ยวน้องสาวจึงขออนุญาตมารดาออกติดตามพี่ชายและนำกองเรือมาถึงเมืองปัตตานี ได้พบพี่ชายและขอร้องให้พี่ชายเดินทางกลับเมืองจีน พี่ชายได้รับปากกับเจ้าเมืองปัตตานีไว้ว่าจะสร้างมัสยิดประจำเมืองให้แล้วเสร็จ ลิ้มกอเหนี่ยวไม่ละความพยายามจึงขอพักอยู่ที่เมืองปัตตานีต่อไป เพื่อหาโอกาสอันควรชักชวนให้พี่ชายกลับ ต่อมาเมืองปัตตานีเกิดการกบฎแย่งชิงกันเป็นใหญ่ ภายหลังเจ้าเมืองถึงแก่อนิจกรรม ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจึงเข้าร่วมต่อสู้กับกบฏ ลิ้มกอเหนี่ยวเข้าช่วยพี่ชายแต่พิจารณาเห็นว่าสู้ข้าศึกไม่ได้ จึงฆ่าตัวตายไม่ยอมตายด้วยอาวุธของศัตรู จากการกระทำอย่างอาจหาญและเด็ดเดี่ยวเยี่ยงชายชาตรีของลิ้มกอเหนี่ยว ได้ก่อให้ชาวจีนในปัตตานีมีความศรัทธาในตัวนางจึงแกะสลักรูปลิ้มกอเหนี่ยวประดิษฐานไว้ที่ศาลเจ้าใกล้มัสยิดกรือเซะที่ลิ้มโต๊ะเคี่ยมสร้างไว้ไม่สำเร็จ ต่อมาภายหลังปรากฏว่ามีความศักดิ์สิทธิ์จนเป็นที่เลื่องลือทั่วไป

 

อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่า เมื่อลิ้มกอเหนี่ยวได้ฟังคำปฏิเสธของพี่ชายที่ไม่ยอมเดินทางกลับเมืองจีน จึงอธิษฐานขอให้การก่อสร้างมัสยิดกรือเซะไม่สำเร็จและผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ใกล้มัสยิดกรือเซะ ตามคำสัญญาที่ให้ไว้กับมารดาก่อนจะออกเดินทางมาตามหาพี่ชาย เมื่อย้ายเมืองปัตตานีไปที่วังจะบังติกอ ชาวจีนในเมืองปัตตานีก็ย้ายชุมชนจากกรือเซะไปสร้างชุมชนชาวจีน ที่ตำบลอาเนาะรู และสร้างศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวนำรูปแกะสลักเจ้าแม่มาประทับ ณ ศาลเจ้าแม่แห่งนี้เพื่อสักการะจนถึงปัจจุบันนี้ 


ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี จะมีงานประเพณีแห่เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวไปตามถนนสายต่างๆ ภายในตัวเมืองฯ ทำพิธีลุยไฟบริเวณหน้าศาลเจ้าเล่งจูเกียง ว่ายน้ำข้ามแม่น้ำตานีบริเวณสะพานเดชานุชิต ในงานนี้มีผู้ที่เคารพศรัทธาเป็นมาร่วมงานเป็นจำนวนมากทุกปี

เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

แชร์

ถ.อาเนาะรู ต.บานา อ. เมืองปัตตานี จ. ปัตตานี 94000 แผนที่

รีวิว 1 รายการ | ศิลปะวัฒนธรรม,ศาล

เปิด : 6.00 - 17.00

จ.6.00 - 17.00
อ.6.00 - 17.00
พ.6.00 - 17.00
พฤ.6.00 - 17.00
ศ.6.00 - 17.00
ส.6.00 - 17.00
อา.6.00 - 17.00

073332851

https://www.thai-tour.com/thai-tour/south/pattani/data/place/pic_shrine_chaomaelimkoniew.htm

5720

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 1 รายการ)

Not identifiable

รีวิวเมื่อ 4 มิ.ย. 55

มัสยิดกรือเซ๊ะ หรือมัสยิดปินตูกรือบัง ได้ถูกกรมศิลปกรตีทะเบียนเป็นโบราณสถานและทำการบูรณะ เมื่อปี พ.ศ.2478 และได้ทำการบูรณะอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2500 และในปี พ.ศ.2525 ได้ทำการบูรณะอีกครั้งเนื่องในโอกาสสมโภชน์ กรุงรัตนโกสินทร์ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมหรือหลิมเต้าเคียน เข้ามาในปัตตานี เมื่อประมาณปี พ.ศ.2119 ในสมัยแผ่นดินสุลต่านบาฮาดูร์ ชาห์ โดยได้นำเรือสำเภามาจอดเทียบท่าที่ท่าเทียบเรือตันหยงลูโล๊ะ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าลิ้มโต๊ะเคี่ยมหรือหลิมเต้าเคียนได้อภิเษกสมรสเจ้าหญิงคนไหนเลย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหญิงฮิเยาว์ เจ้าหญิงบีรู หรือเจ้าหญิงอูงู เพราะฉะนั้นตามตำนาน(ที่ตำนาน-นาน) ได้เล่าต่อๆ กันมาว่าลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้แต่งงานกับบุตรีของเจ้าเมืองปัตตานี น่าจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เพราะในประวัติศาสตร์อิสลามปัตตานี นับตั้งแต่พระยาอินทิราเข้ารับอิสลามมาจนถึงการปกครองของสุลต่านบาฮาดูร์ ชาห์ ซึ่งอยู่ในระหว่างปี พ.ศ.2043-2127 ไม่ปรากฏว่าบุตรีของสุลต่านองค์ใดแต่งงานกับลิ้มโต๊ะเคี่ยมหรือหลิมเต้าเคียนเลย และมัสยิดกรือเซะไม่ได้ถูกสร้างในสมัยสุลต่านบาฮาดูร์ ชาห์ แต่น่าจะสร้างในรัชสมัยของสุลต่านอิสมาแอล ชาห์ (พระยาอินทิรา)ภายหลังจากที่พระองค์ได้เข้ารับศาสนาอิสลาม และสิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างก็คือ ศีลปะของมัสยิดกรือ เป็นศิลปะแบบเปอร์เซีย ไม่ว่าจะเป็นซุ้มโค้งประตูหรือเมี๊ยะรอบ ล้วนแล้วแต่เป็นทรงและศีลปแบบเปอร์เซียทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจะสร้างมัสยิดหลังนี้ ตามที่ตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเล่าต่อๆ กันมา เพราะถ้าเราได้ไปดูมัสยิดในเมืองจีนที่สร้างเมื่อ 400-500 ปีที่แล้ว เราเห็นได้ว่า มัสยิดเหล่านั้นล้วนแล้วแต่เป็นทรงจีน(เหมือนวัดจีน)ทั้งสิ้น ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจะเอาศีลปกรรมแบบเปอร์เซียมาสร้างมัสยิดนี้ได้อย่างไร อาจจะเป็นไปได้ว่า ลิ้มโต๊ะเคี่ยม อาจจะเข้ามาช่วยอาสาบูรณะมัสยิดภายหลังจากเกิดความเสียหายจากสงครามก็เป็นได้ อีกอย่างลิ้มโต๊ะเคี่ยมไม่ได้สมรสกับบุตรีของสุลต่านปัตตานีดั่งที่ตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวว่ากล่าวไว้ แต่อาจจะสมรสกับเครือญาติของสุลต่านก็เป็นได้ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจึงเป็นผู้ที่อาสาต่อเติมมัสยิดให้เสร็จสิ้นและสิ่งที่น่าสังเกตก็คือในสมัยเจ้าหญิงฮิเยาว์ เจ้าหญิงบีรู เจ้าหญิงอูงู และเจ้าหญิงกูนิงครองเมืองปัตตานี ระหว่างปี พ.ศ.2127-2230 มัสยิดกรือเซะก็ยังไม่ถูกทำลาย มัสยิดกรือเซะยังคงถูกบันทึกว่าเป็นมัสยิดที่งดงามภายในมัสยิดมีลวดลายอันวิจิตร บนยอดโดมของมัสยิดกรือเซะหุ้มด้วยทองคำบริสุทธิ์

ถูกใจ แชร์

สถานที่ใกล้เคียง

มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี (รีวิว 3 รายการ)

ห่าง 1.09 กิโลเมตร

พิพิธภัณฑ์ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ พิพิธภัณฑ์ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 2.51 กิโลเมตร

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ปัตตานี สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ปัตตานี (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.72 กิโลเมตร

มัสยิดกรือเซะ มัสยิดกรือเซะ (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 4.93 กิโลเมตร

แหลมตาชี แหลมตาชี (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 9.09 กิโลเมตร

โรงแรมใกล้เคียง

พาราไดส์ ปัตตานี พาราไดส์ ปัตตานี (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.55 กิโลเมตร

เดอะ รูม เรสซิเดนซ์ เดอะ รูม เรสซิเดนซ์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.18 กิโลเมตร

โชคไพบูลย์ อพาร์ทเมนท์ โชคไพบูลย์ อพาร์ทเมนท์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.22 กิโลเมตร

ริเวอร์ ปัตตานี ริเวอร์ ปัตตานี (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.78 กิโลเมตร

เรนโบว์ แมนชั่น ปัตตานี เรนโบว์ แมนชั่น ปัตตานี (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.79 กิโลเมตร

ริเวอร์ ลิฟวิ่ง เพลส โฮเทล ริเวอร์ ลิฟวิ่ง เพลส โฮเทล (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.84 กิโลเมตร

ราชพฤกษ์ ปัตตานี ราชพฤกษ์ ปัตตานี (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.87 กิโลเมตร

โรงแรมมาย การ์เดนส์ โรงแรมมาย การ์เดนส์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.98 กิโลเมตร

เดอะ วูดส์ ปัตตานี เดอะ วูดส์ ปัตตานี (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.17 กิโลเมตร

นาเกลือ วิลล่า รีสอร์ท นาเกลือ วิลล่า รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.63 กิโลเมตร

ร้านอาหารใกล้เคียง

นำรส นำรส (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.86 กิโลเมตร