“หลวงพ่อโต พระพุทธรูปศักดิ์สร้างมาก่อนสร้างเมืองอยุธยา”

วัดพนัญเชิงวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร แบบมหานิกาย สร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี (จากคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่าเป็นพระอารามหลวงลำดับที่ 15) อยู่ในเขตปกครองของคณะสงฆ์ตำบลหอรัตนไชย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ตอนใต้ของเกาะเมือง ทางราชการใช้ชื่อว่าตำบลคลองสวนพลู (หรือตำบลกะมัง) อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ประวัติ

วัดพนัญเชิง เป็นวัดเก่า สร้างสมัยเมืองอโยธยาเป็นราชธานี ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พระเจ้าวงเกรียงกฤษณราช (พระเจ้าสายน้ำผึ้ง) ครองเมืองเสนาราชนครตั้งอยู่ปากน้ำแม่เบี้ยเป็นผู้สร้างวัดนี้ เพื่อเป็นอนุสรณืแด่พระนางสร้อยดอกหมาก พระเจ้าศรีธรรมโศกราช (สมเด็จพระเอกาทศรฐ) เป็นผู้สร้างพระเจ้าพะแนงเชิง คือ องค์พระพุทธไตรรัตนนายก (หลวงพ่อโต) สร้างก่อนกรุงศรีอยธยา 26 ปี สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระเจ้าสายน้ำผึ้งผู้เป็นพระอัยยกานามเดิมหลวงพ่อโต เรียกว่า "พระเจ้าพะแนงเชิง" ในรัชกาลที่ 4 ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า "พระพุทธไตรรัตนนายก" จึงได้นามมาตลอดจนปัจจุบันนี้ พระมหากษัตริย์ได้อุปถัมภ์ตลอดมาโดยลำดับ

วัดนี้เป็นพระอารามหลวงมาแต่โบราณ และปัจจุบันนี้ก็เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ คือ องค์พระพุทธไตรรัตนนายก (หลวงพ่อโต) และพระพุทธรูปทองสมัยสุโขทัยประดิษฐานในพระอุโบสถ 2 องค์ จึงเป็นที่เคารพสักการะทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

วัดพนัญเชิงเป็นวัดเก่ามานานเสนาสนะสงฆ์และปูชนียสถานได้ชำรุดทรุดโทรมไปเป็นอันมาก ทางคณะสงฆ์และทางราชการได้ช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์มาโดยลำดับตลอดปัจจุบันนี้ก็ได้ดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์อยู่เสมอ

 

เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 7.00-18.00 น.

การเดินทางสู่วัดพนัญเชิงวรวิหาร 3 ทาง

  1. เดินทางโดยรถยนต์ไปตามถนนพหลโยธิน แยกเข้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่สามแยกอำเภอวังน้อย ถนนสายโรจนะถึงเจดีย์ใหญ่วัดสามปลื้ม ตรงหลักกิโลเมตรที่ 1 เลี้ยวซ้ายไปตามถนน ผ่านวัดใหญ่ชัยมงคลแล่นเรื่อยไปจนถึงวัด
  2. เดินทางโดยรถไฟไปยังสถานีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาต่อรถประจำทาง หรือรถรับจ้างเพื่อข้ามเรือที่สถานีตำรวจป้อมเพชร ซึ่งเรียกว่า ท่าข้ามวัดสุวรรณดาราราม – วัดพนัญเชิงฯ 
  3. เดินทางโดยเรือ มีเรือ 3 สาย 
    • สายใต้และสายตะวันตก จะถึงวัดซึ่งอยู่ตรงข้ามสถานีตำรวจป้อมเพชรก่อนถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    • สายเหนือจะถึงตัวจังหวัดก่อนถึงวัด
 

วัดพนัญเชิงวรวิหาร

แชร์

ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา 13000 แผนที่

รีวิว 7 รายการ | ครอบครัว,ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,วัด,วัด,โบสถ์

เปิด : 7.00 - 18.00

จ.7.00 - 18.00
อ.7.00 - 18.00
พ.7.00 - 18.00
พฤ.7.00 - 18.00
ศ.7.00 - 18.00
ส.7.00 - 18.00
อา.7.00 - 18.00

035-243867-8

https://www.thai-tour.com/thai-tour/central/ayutthaya/data/place/wat-phananchoeng.html

9053

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 7 รายการ)

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 11 ส.ค. 55

พระพุทธรูปหน้าองค์หลวงพ่อโต
พระพุทธรูปหน้าองค์หลวงพ่อโต

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 11 ส.ค. 55

เจ้าชายสายน้ำผึ้งกับพระนางสร้อยดอกหมาก
เจ้าชายสายน้ำผึ้งกับพระนางสร้อยดอกหมาก

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 11 ส.ค. 55

ภายใตตึกเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก...แสงกำลังทำมุมหักเหพอดี
ภายใตตึกเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก...แสงกำลังทำมุมหักเหพอดี

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 11 ส.ค. 55

เทพเจ้าไฉ่สิ่งเอี๊ยะ
เทพเจ้าไฉ่สิ่งเอี๊ยะ

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 11 ส.ค. 55

ประวัติ
แต่โบราณนานมาแล้ว มีเด็กหญิงเล็กๆคนหนึ่ง เกิดอยู่ในจั่นหมากพระเจ้ากรุงจีนได้ทรงนำมาเลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรม และได้ให้นามนางว่า “นางสร้อยดอกหมาก” เมื่อนางสร้อยดอกหมาก เจริญวัยขึ้น นางมีรูปโฉมงดงามยิ่งนัก พระเจ้ากรุงจีนทรงโปรดให้โหรทำนายว่า ในกาลภายหน้า พระนางสร้อยดอกหมากจะคู่ควรกับกษัตริย์เมืองใด โหรพิเคราะห์ดูแล้วกล่าวว่า คู่ของนางจะเป็นกษัตริย์กรุงไทย อยู่ทางทิศตะวันตกเป็นผู้มีบุญญาอภินิหารมากนัก พระเจ้ากรุงจีนได้ฟังคำโหรทำนายดังนั้น ก็ทรงพอพระทัยยิ่งนัก ทางด้านกรุงไทย ขณะนั้นกำลังว่างผู้ปกครองแผ่นดินและไม่มีรัชทายาทจะสืบราชสมบัติ ต่อมาบรรดาเสนาอำมาตย์และสมณชีพราหมณ์ จึงทำพิธีเสี่ยงเรือสุวรรณหงส์เอกชัย เพื่อเสาะหาผู้มีบุญวาสนามาเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อเรือแล่นไปถึงยังที่แห่งหนึ่งที่ริมฝั่ง มีเด็กเลี้ยงโคกำลังเล่นกันอยู่ เรือสุวรรณหงส์เอกชัยจอดหยุดนิ่ง ไม่เคลื่อนอีกต่อไป แม้เหล่าฝีพายจะพยายามสักเท่าไรเรือก็ไม่เคลื่อนที่ เหล่าอำมาตย์เห็นเช่นนั้น รู้สึกอัศจรรย์ใจและเกิดสังหรณ์ใจ จึงเดินเข้าไปในกลุ่มเด็กเลี้ยงโคที่กำลังเล่นกันอยู่ พบเด็กชายคนหนึ่งท่าทางฉลาดพูดจาตอบโต้ฉาดฉาน เหล่าอำมาตย์ต่างก็คิดว่า “ชะรอยเด็กคนนี้คงเป็นผู้มีบุญ กิริยาท่าทางจึงต่างกับเด็กคนอื่นอย่างเห็นได้ชัด แม้การเจรจากับเราซึ่งเป็นผู้ใหญ่กว่าก็ฉลาดหลักแหลม” เมื่อคิดดังนั้นแล้วเหล่าอำมาตย์จึงพร้อมใจกันอัญเชิญเด็กชายคนนั้น มาเป็นพระเจ้าแผ่นดินปกครองกรุงไทยต่อไป

เมื่อพระเจ้ากรุงไทยพระองค์ใหม่ได้ขึ้นปกครองแผ่นดิน ทรงปกครองบ้านเมืองเป็นปรกติสุข ครั้งหนึ่งพระองค์โปรดให้ยกขบวนพยุหยาตราไปทางชลมารคพร้อมกับเหล่าเสนาบดี เมื่อเสด็จมาถึงยังหัวแหลมวัดปากคลอง เป็นเวลาน้ำขึ้น จึงตรัสสั่งให้จอดเรือพระที่นั่งอยู่หน้าวัด ทรงทอดพระเนตรเห็นผึ้งจับอยู่ที่อกไก่ใต้ช่อฟ้าหน้าบันของโบสถ์จึงทรงดำริว่า “จะขอนมัสการพระพุทธปฏิมากร ด้วยเดชะบุญญาภิสังขารของเรา เพื่อจะได้ครองไพร่ฟ้าอาณาประชาราษฎร์ ขอให้น้ำผึ้งหยดลงมากลั้วเอาเรือขึ้นไปประทับแทนกำแพงแก้วนั้นเถิด” เมื่อตรัสจบน้ำผึ้งก็หยดลงมากลั้วเอาเรือพระที่นั่งยกขึ้นไปถึงที่ทันที เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่ตาของเสนาบดีน้อยใหญ่ พระเจ้ากรุงไทยจึงเสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธปฏิมากร โดยเปลื้องพระภูษาทรงสักการะพระพุทธปฏิมากร เสร็จแล้วจึงเสด็จลงเรือประทับพระที่นั่ง เรือพระที่นั่งก็ถอยลงมาตามเดิม บรรดาภิกษุสงฆ์และเหล่าเสนาบดีต่างก็พากันถวายพระพรชัยและถวายพระนามพระเจ้ากรุงไทยว่า “ พระเจ้าสายน้ำผึ้ง ”

ครั้นถึงเวลาน้ำลง พระเจ้าสายน้ำผึ้งจึงมีรับสั่งให้เหล่าเสนาบดีกลับไปรักษาพระนคร ส่วนพระองค์นั้นเสด็จไปโดยเรือพระที่นั่งเอกชัยเพียงลำเดียว เดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ด้วยอำนาจแห่งราชกุศลที่สร้างมาแต่ปางหลัง จึงทำให้การเดินทางเป็นไปด้วยความเรียบร้อยปลอดภัย จนกระทั่งลุถึงกรุงจีน ชาวจีนทั้งหลายเห็นเป็นอัศจรรย์ จึงนำความขึ้นทูลว่าพระเจ้าแผ่นดินไทยองค์นี้มีบุญญาธิการมาก พระเจ้ากรุงจีนจึงรับสั่งให้เสนาบดีผู้ใหญ่ไปสืบดูว่าพระเจ้ากรุงไทยมีบุญญาธิการจริงหรือไม่ เสนาบดีจีนออกไปทูลเชิญพระเจ้าสายน้ำผึ้งประทับที่อ่าวนาค ซึ่งเป็นที่ที่มีภยันตรายมาก ตกเพลาค่ำเสนาบดีจีนใช้ทหารไปสอดแนมดูว่า “ เหตุการณ์ร้ายแรงอันใดจะเกิดขึ้นหรือไม่ ” มีแต่เสียงดุริยางค์ดนตรีเป็นที่ครึกครื้น ในคืนต่อมาเสนาบดีจึงทูลเชิญเสด็จพระเจ้าสายน้ำผึ้งประทับที่มีอันตรายมากขึ้นไปอีก เหตุการณ์ยังเหมือนคืนก่อนเมื่อพระเจ้ากรุงจีนได้ทรงทราบก็ทรงโสมนัสยิ่งนัก จึงมีรับสั่งให้จัดกระบวนแห่ออกไปรับพระเจ้าสายน้ำผึ้งเข้ามาภายในพระราชวัง และให้ราชาภิเษกพระนางสร้อยดอกหมากขึ้นเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสายน้ำผึ้ง

เมื่อเวลาผ่านไป พระเจ้าสายน้ำผึ้งจึงกราบถวายบังคมลาพระเจ้ากรุงจีนกลับพระนคร พระเจ้ากรุงจีนให้นำสำเภาห้าลำพร้อมด้วยเครื่องอุปโภคเป็นอันมาก เมื่อถึงปากน้ำพระเจ้าสายน้ำผึ้งเสด็จเข้าพระนครก่อน เมื่อจัดตำหนักซ้ายขวาเสร็จก็จัดขบวนมารับพระนางสร้อยดอกหมากจากเรือ โดยพระองค์ไม่ได้เสด็จไปด้วย พระนางสร้อยดอกหมากจึงไม่ยอมเสด็จขึ้นจากเรือ กล่าวว่า“มาด้วยพระองค์ก็โดยยากเมื่อมาถึงพระราชวังแล้วเป็นไฉนพระองค์จึงไม่มารับ ถ้าพระองค์ไม่เสด็จมารับก็จะไม่ไป”

เสนาบดีนำเนื้อความไปกราบทูล พระเจ้าสายน้ำผึ้งคิดว่านางหยอกเล่นจึงกล่าวสัพยอกว่า“เมื่อมาถึงแล้วจะอยู่ที่นั่นก็ตามใจเถิด”เมื่อพระนางทราบเนื้อความจึงสำคัญว่าพระเจ้าสายน้ำผึ้งพูดจริง จึงน้อยพระทัยและเศร้าพระทัยยิ่งนัก ครั้นรุ่งเช้าเมื่อพระเจ้าสายน้ำผึ้งจัดกระบวนแห่มารับ และเสด็จมาด้วยพระองค์เอง เมื่อเสด็จขึ้นไปบนสำเภา พระนางสร้อยดอกหมากจึงตัดพ้อต่อว่าพระองค์ พระเจ้าสายน้ำผึ้งจึงทรงสัพยอกอีกว่า “เอาละ เมื่อไม่อยากขึ้นก็จงอยู่ที่นี่เถิด” ฝ่ายพระนางสร้อยดอกหมากได้ฟังดังนั้น ด้วยความน้อยพระทัยนางจึงกลั้นพระทัยตายทันที พระเจ้าสายน้ำผึ้งทรงเสียพระทัยมาก โปรดเกล้าให้อัญเชิญพระศพของพระนางขึ้นมาพระราชทานเพลิง ท่ามกลางความอาลัยรักของประชาชนชาวจีนและชาวไทย จึงทรงสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงพระนางสร้อยดอกหมาก และได้ตั้งชื่อวัดนี้ว่า “ วัดพระนางเชิญ ” แต่นั้นมา

ตำนานเรื่อง “เจ้าชายสายน้ำผึ้งกับพระนางสร้อยดอกหมาก” จึงเป็นตำนานแห่งการสร้างวัด พนัญเชิง หรือวัดพระเจ้าแพนงเชิง หรือวัดพระนางเชิญ ก็มี วัดนี้เป็นวัดสำคัญเก่าแก่แต่โบราณของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่ได้รับความเคารพนับถือของชาวไทยและจีน ทุกปีจะมีงานฉลองตามประเพณีสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบันนี้ และในปี ๒๕๔๔ พระธรรมญาณมุนี อดีตเจ้าอาวาสวัด และพระพิพัฒน์วราภรณ์ รองเจ้าอาวาสในสมัยนั้น (ในปัจจุบันได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชรัตนวราภรณ์ เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในปัจจุบัน) ได้ให้มีการบูรณะศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมากขึ้นใหม่จนมีความสวยงามเป็นยิ่งนัก ฯ
ประวัติ
แต่โบราณนานมาแล้ว  มีเด็กหญิงเล็กๆคนหนึ่ง  เกิดอยู่ในจั่นหมากพระเจ้ากรุงจีนได้ทรงนำมาเลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรม  และได้ให้นามนางว่า “นางสร้อยดอกหมาก”  เมื่อนางสร้อยดอกหมาก  เจริญวัยขึ้น  นางมีรูปโฉมงดงามยิ่งนัก พระเจ้ากรุงจีนทรงโปรดให้โหรทำนายว่า ในกาลภายหน้า พระนางสร้อยดอกหมากจะคู่ควรกับกษัตริย์เมืองใด  โหรพิเคราะห์ดูแล้วกล่าวว่า  คู่ของนางจะเป็นกษัตริย์กรุงไทย  อยู่ทางทิศตะวันตกเป็นผู้มีบุญญาอภินิหารมากนัก  พระเจ้ากรุงจีนได้ฟังคำโหรทำนายดังนั้น ก็ทรงพอพระทัยยิ่งนัก  ทางด้านกรุงไทย  ขณะนั้นกำลังว่างผู้ปกครองแผ่นดินและไม่มีรัชทายาทจะสืบราชสมบัติ     ต่อมาบรรดาเสนาอำมาตย์และสมณชีพราหมณ์ จึงทำพิธีเสี่ยงเรือสุวรรณหงส์เอกชัย  เพื่อเสาะหาผู้มีบุญวาสนามาเป็นพระเจ้าแผ่นดิน  เมื่อเรือแล่นไปถึงยังที่แห่งหนึ่งที่ริมฝั่ง  มีเด็กเลี้ยงโคกำลังเล่นกันอยู่  เรือสุวรรณหงส์เอกชัยจอดหยุดนิ่ง  ไม่เคลื่อนอีกต่อไป  แม้เหล่าฝีพายจะพยายามสักเท่าไรเรือก็ไม่เคลื่อนที่  เหล่าอำมาตย์เห็นเช่นนั้น  รู้สึกอัศจรรย์ใจและเกิดสังหรณ์ใจ  จึงเดินเข้าไปในกลุ่มเด็กเลี้ยงโคที่กำลังเล่นกันอยู่  พบเด็กชายคนหนึ่งท่าทางฉลาดพูดจาตอบโต้ฉาดฉาน  เหล่าอำมาตย์ต่างก็คิดว่า  “ชะรอยเด็กคนนี้คงเป็นผู้มีบุญ  กิริยาท่าทางจึงต่างกับเด็กคนอื่นอย่างเห็นได้ชัด  แม้การเจรจากับเราซึ่งเป็นผู้ใหญ่กว่าก็ฉลาดหลักแหลม” เมื่อคิดดังนั้นแล้วเหล่าอำมาตย์จึงพร้อมใจกันอัญเชิญเด็กชายคนนั้น มาเป็นพระเจ้าแผ่นดินปกครองกรุงไทยต่อไป 

เมื่อพระเจ้ากรุงไทยพระองค์ใหม่ได้ขึ้นปกครองแผ่นดิน ทรงปกครองบ้านเมืองเป็นปรกติสุข ครั้งหนึ่งพระองค์โปรดให้ยกขบวนพยุหยาตราไปทางชลมารคพร้อมกับเหล่าเสนาบดี  เมื่อเสด็จมาถึงยังหัวแหลมวัดปากคลอง เป็นเวลาน้ำขึ้น จึงตรัสสั่งให้จอดเรือพระที่นั่งอยู่หน้าวัด  ทรงทอดพระเนตรเห็นผึ้งจับอยู่ที่อกไก่ใต้ช่อฟ้าหน้าบันของโบสถ์จึงทรงดำริว่า “จะขอนมัสการพระพุทธปฏิมากร ด้วยเดชะบุญญาภิสังขารของเรา เพื่อจะได้ครองไพร่ฟ้าอาณาประชาราษฎร์ ขอให้น้ำผึ้งหยดลงมากลั้วเอาเรือขึ้นไปประทับแทนกำแพงแก้วนั้นเถิด” เมื่อตรัสจบน้ำผึ้งก็หยดลงมากลั้วเอาเรือพระที่นั่งยกขึ้นไปถึงที่ทันที เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่ตาของเสนาบดีน้อยใหญ่ พระเจ้ากรุงไทยจึงเสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธปฏิมากร โดยเปลื้องพระภูษาทรงสักการะพระพุทธปฏิมากร เสร็จแล้วจึงเสด็จลงเรือประทับพระที่นั่ง  เรือพระที่นั่งก็ถอยลงมาตามเดิม บรรดาภิกษุสงฆ์และเหล่าเสนาบดีต่างก็พากันถวายพระพรชัยและถวายพระนามพระเจ้ากรุงไทยว่า “ พระเจ้าสายน้ำผึ้ง ” 

ครั้นถึงเวลาน้ำลง  พระเจ้าสายน้ำผึ้งจึงมีรับสั่งให้เหล่าเสนาบดีกลับไปรักษาพระนคร  ส่วนพระองค์นั้นเสด็จไปโดยเรือพระที่นั่งเอกชัยเพียงลำเดียว  เดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ด้วยอำนาจแห่งราชกุศลที่สร้างมาแต่ปางหลัง  จึงทำให้การเดินทางเป็นไปด้วยความเรียบร้อยปลอดภัย  จนกระทั่งลุถึงกรุงจีน ชาวจีนทั้งหลายเห็นเป็นอัศจรรย์  จึงนำความขึ้นทูลว่าพระเจ้าแผ่นดินไทยองค์นี้มีบุญญาธิการมาก  พระเจ้ากรุงจีนจึงรับสั่งให้เสนาบดีผู้ใหญ่ไปสืบดูว่าพระเจ้ากรุงไทยมีบุญญาธิการจริงหรือไม่ เสนาบดีจีนออกไปทูลเชิญพระเจ้าสายน้ำผึ้งประทับที่อ่าวนาค  ซึ่งเป็นที่ที่มีภยันตรายมาก  ตกเพลาค่ำเสนาบดีจีนใช้ทหารไปสอดแนมดูว่า  “ เหตุการณ์ร้ายแรงอันใดจะเกิดขึ้นหรือไม่ ” มีแต่เสียงดุริยางค์ดนตรีเป็นที่ครึกครื้น ในคืนต่อมาเสนาบดีจึงทูลเชิญเสด็จพระเจ้าสายน้ำผึ้งประทับที่มีอันตรายมากขึ้นไปอีก  เหตุการณ์ยังเหมือนคืนก่อนเมื่อพระเจ้ากรุงจีนได้ทรงทราบก็ทรงโสมนัสยิ่งนัก  จึงมีรับสั่งให้จัดกระบวนแห่ออกไปรับพระเจ้าสายน้ำผึ้งเข้ามาภายในพระราชวัง และให้ราชาภิเษกพระนางสร้อยดอกหมากขึ้นเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสายน้ำผึ้ง 

เมื่อเวลาผ่านไป พระเจ้าสายน้ำผึ้งจึงกราบถวายบังคมลาพระเจ้ากรุงจีนกลับพระนคร พระเจ้ากรุงจีนให้นำสำเภาห้าลำพร้อมด้วยเครื่องอุปโภคเป็นอันมาก  เมื่อถึงปากน้ำพระเจ้าสายน้ำผึ้งเสด็จเข้าพระนครก่อน  เมื่อจัดตำหนักซ้ายขวาเสร็จก็จัดขบวนมารับพระนางสร้อยดอกหมากจากเรือ โดยพระองค์ไม่ได้เสด็จไปด้วย  พระนางสร้อยดอกหมากจึงไม่ยอมเสด็จขึ้นจากเรือ กล่าวว่า“มาด้วยพระองค์ก็โดยยากเมื่อมาถึงพระราชวังแล้วเป็นไฉนพระองค์จึงไม่มารับ  ถ้าพระองค์ไม่เสด็จมารับก็จะไม่ไป” 
          
เสนาบดีนำเนื้อความไปกราบทูล พระเจ้าสายน้ำผึ้งคิดว่านางหยอกเล่นจึงกล่าวสัพยอกว่า“เมื่อมาถึงแล้วจะอยู่ที่นั่นก็ตามใจเถิด”เมื่อพระนางทราบเนื้อความจึงสำคัญว่าพระเจ้าสายน้ำผึ้งพูดจริง จึงน้อยพระทัยและเศร้าพระทัยยิ่งนัก  ครั้นรุ่งเช้าเมื่อพระเจ้าสายน้ำผึ้งจัดกระบวนแห่มารับ  และเสด็จมาด้วยพระองค์เอง  เมื่อเสด็จขึ้นไปบนสำเภา  พระนางสร้อยดอกหมากจึงตัดพ้อต่อว่าพระองค์  พระเจ้าสายน้ำผึ้งจึงทรงสัพยอกอีกว่า “เอาละ เมื่อไม่อยากขึ้นก็จงอยู่ที่นี่เถิด” ฝ่ายพระนางสร้อยดอกหมากได้ฟังดังนั้น  ด้วยความน้อยพระทัยนางจึงกลั้นพระทัยตายทันที  พระเจ้าสายน้ำผึ้งทรงเสียพระทัยมาก  โปรดเกล้าให้อัญเชิญพระศพของพระนางขึ้นมาพระราชทานเพลิง  ท่ามกลางความอาลัยรักของประชาชนชาวจีนและชาวไทย  จึงทรงสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงพระนางสร้อยดอกหมาก และได้ตั้งชื่อวัดนี้ว่า “ วัดพระนางเชิญ ” แต่นั้นมา 
          
ตำนานเรื่อง  “เจ้าชายสายน้ำผึ้งกับพระนางสร้อยดอกหมาก”  จึงเป็นตำนานแห่งการสร้างวัด พนัญเชิง หรือวัดพระเจ้าแพนงเชิง  หรือวัดพระนางเชิญ ก็มี  วัดนี้เป็นวัดสำคัญเก่าแก่แต่โบราณของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เป็นวัดที่ได้รับความเคารพนับถือของชาวไทยและจีน  ทุกปีจะมีงานฉลองตามประเพณีสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบันนี้  และในปี ๒๕๔๔  พระธรรมญาณมุนี  อดีตเจ้าอาวาสวัด  และพระพิพัฒน์วราภรณ์  รองเจ้าอาวาสในสมัยนั้น (ในปัจจุบันได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชรัตนวราภรณ์ เมื่อวันที่  ๑๒  สิงหาคม  ๒๕๔๗ และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในปัจจุบัน) ได้ให้มีการบูรณะศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมากขึ้นใหม่จนมีความสวยงามเป็นยิ่งนัก ฯ

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 11 ส.ค. 55

ตึกเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก

ตึกเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก

ถูกใจ แชร์

surapol

รีวิวเมื่อ 18 เม.ย. 55

ตามพระศาวดารกล่าวว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1867 ก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะสร้างกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี 26 ปี ตอนสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาได้บูรณะซ่อมแซมให้อยู่ใน สภาพดีมาโดยตลอด กล่าวกันว่าเมื่อคราวจะเสียกรุงศรีอยุธยาได้ปรากฎมีน้ำพระเนตรไหลออกมาจาก พระเนตรทั้งสองข้างเป็นที่อัศจรรย์
ตามพระศาวดารกล่าวว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1867 ก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะสร้างกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี 26 ปี ตอนสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาได้บูรณะซ่อมแซมให้อยู่ใน สภาพดีมาโดยตลอด กล่าวกันว่าเมื่อคราวจะเสียกรุงศรีอยุธยาได้ปรากฎมีน้ำพระเนตรไหลออกมาจาก พระเนตรทั้งสองข้างเป็นที่อัศจรรย์

ถูกใจ แชร์

สถานที่ใกล้เคียง

ป้อมเพชร อยุธยา ป้อมเพชร อยุธยา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.35 กิโลเมตร

บ้านฮอลันดา บ้านฮอลันดา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.41 กิโลเมตร

หมู่บ้านโปรตุเกส หมู่บ้านโปรตุเกส (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 1.22 กิโลเมตร

หมู่บ้านญี่ปุ่น หมู่บ้านญี่ปุ่น (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 1.26 กิโลเมตร

พิพิธภัณฑ์เรือไทย พิพิธภัณฑ์เรือไทย (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 1.58 กิโลเมตร

ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.59 กิโลเมตร

วัดใหญ่ชัยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคล (รีวิว 756 รายการ)

ห่าง 1.59 กิโลเมตร

วัดมหาธาตุ อยุธยา วัดมหาธาตุ อยุธยา (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 1.80 กิโลเมตร

สะพานป่าดินสอ สะพานป่าดินสอ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.87 กิโลเมตร

วัดบรมพุทธาราม อยุธยา วัดบรมพุทธาราม อยุธยา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.88 กิโลเมตร

โรงแรมใกล้เคียง

ริเวอร์วิว เพลส อยุธยา ริเวอร์วิว เพลส อยุธยา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.23 กิโลเมตร

วรบุรี อโยธยา รีสอร์ท วรบุรี อโยธยา รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.69 กิโลเมตร

บ้านฉัน โฮสเทล บ้านฉัน โฮสเทล (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.92 กิโลเมตร

สิปปฺ พระนครศรีอยุธยา สิปปฺ พระนครศรีอยุธยา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.02 กิโลเมตร

กรุงศรีริเวอร์ อยุธยา กรุงศรีริเวอร์ อยุธยา (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 1.08 กิโลเมตร

เพลินชีวา รีสอร์ท เพลินชีวา รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.10 กิโลเมตร

โมเมนโต้ เฮาส์ โมเมนโต้ เฮาส์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.14 กิโลเมตร

มิสเตอร์เน็กซ์ มิสเตอร์เน็กซ์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.17 กิโลเมตร

มิสเตอร์เน็กซ์ รีสอร์ทใหม่ มิสเตอร์เน็กซ์ รีสอร์ทใหม่ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.17 กิโลเมตร

มิสเตอร์เน็กซ์ อาคารสีเขียว มิสเตอร์เน็กซ์ อาคารสีเขียว (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.17 กิโลเมตร

ร้านอาหารใกล้เคียง

ครัวย่าบัว ครัวย่าบัว (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.46 กิโลเมตร

ร้านผักหวาน ร้านผักหวาน (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.50 กิโลเมตร

แพกรุงเก่า อยุธยา แพกรุงเก่า อยุธยา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.62 กิโลเมตร

เจ้าพระยามารวย เจ้าพระยามารวย (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.62 กิโลเมตร

ข้าวมันไก่นายชัย ข้าวมันไก่นายชัย (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.72 กิโลเมตร

บ้านส้มตำอยุธยา บ้านส้มตำอยุธยา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.82 กิโลเมตร

บ้านยำ บ้านยำ (รีวิว 3 รายการ)

ห่าง 0.91 กิโลเมตร

บ้านไม้ริมน้ำ บ้านไม้ริมน้ำ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 1.00 กิโลเมตร

ส้มตำครกนายพัน ส้มตำครกนายพัน (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 1.03 กิโลเมตร

ร้านอาหาร บ้านไม้ ริมน้ำ อยุธยา ร้านอาหาร บ้านไม้ ริมน้ำ อยุธยา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.05 กิโลเมตร