“พระธาตุเจดีย์หลวงที่ถือว่าเป็นพระธาตุที่มีความสูงที่สุดในภาคเหนือ สร้างในสมัยพญาแสนเมืองมา พ.ศ.1928-1945”

วัดเจดีย์หลวง  สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์ลำดับที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างในปี พ.ศ. 1934 วัดเจดีย์หลวงเป็นพระอารามหลวงแบบโบราณ มีการบูรณะมาหลายสมัย โดยเฉพาะพระเจดีย์ ที่ปัจจุบันมีขนาดความกว้างด้านละ 60 เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในเชียงใหม่

ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านท่าใน ตำบลควนทอง เป็นชุมชนโบราณ ซึ่งมีร่องรอยของเนินดิน สระน้ำ หินชิ้นส่วนของเทวสถาน แท่นเทวรูป แท่นศิวลึงค์ ที่กระจัดกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นวัดที่มีเจดีย์ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของ จ. เชียงใหม่

ปัจจุบันยอดเจดีย์ได้หักพังลงมาเมื่อคราวเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2088 วัดเจดีย์หลวงจึงเป็นโบราณสถานอันเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด


นักท่องเที่ยวสามารถแวะเยี่ยมชมและนมัสการพระพุทธรูปในวิหาร ได้ทุกวัน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : วัดเจดีย์หลวง  053-814119

สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ 053-112877 , 053-112877-18
ททท. สำนักงานเชียงใหม่ (สำนักงานชั่วคราว)(เชียงใหม่,ลำพูน,ลำปาง) 053-276140-2

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 7 รายการ)

nongview

รีวิวเมื่อ 27 ก.ค. 53

การสร้างรูปปั้นช้างนั้น เป็นการส่งเสริมกำลังเมืองในทางด้านไสยศาสตร์เพื่อให้เมืองมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีพิธีการสักการบูชาพญาช้างทั้ง 8 เชือก เพราะเชื่อว่า จะทำให้เกิดสวัสดิมงคล นำความสงบสุขมาสู่บ้านเมือง ศัตรูไม่กล้ามารุกรานย่ำยีเมืองได้ เพราะชื่อพญาช้างที่ตั้งขึ้นนั้น เป็นพลังอำนาจก่อเกิดเดชานุภาพ อิทธิฤทธิ์ ข่มขู่บดบัง ขวางกั้น กำจัด ปราบปรามอริราชศัตรูที่จะมารุกราน ให้แพ้ภัยแตกพ่ายหนีไปเอง ซึ่งแต่ละชื่อมีความหมายดังนี้

เมื่อศัตรูยกพลเสนามารุกราน ล่วงล้ำเข้ามาในเขตพระราชอาณาจักร จะเกิดอาเพศ ท้องฟ้ามืดมิดด้วยเมฆหมอกปกคลุม ธรรมชาติวิปริตแปรปรวน น่ากลังยิ่งนัก ทำให้ผู้รุกราหวาดผวาภัยพิบัติ ตกใจกลัวแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “เมฆบังวัน”

เมื่อผู้รุกรานยกทัพเข้ามาใกล้ แม้จะมีพลโยธาทหารกล้าเรือนแสน ก็จะเกิดอาการมึนเมาลืมหลง ไม่อาจครองสติยับยั้งอยู่ได้ ต้องระส่ำระส่าย แตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ข่มพลแสน”
เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามา แม้จะมีกำลังพลมากมาย มีศาตรา มีด พร้า ด้ามคมเป็นแสนๆเล่ม ก็ไม่อาจเข้าใกล้ทำร้ายได้ มีแต่จะเกิดหวาดหวั่นขาดกลัวแตกหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ดาบแสนด้าม”
เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามารานรบ แม้จะมีกำลังพลกล้าหาญมากมาย มีศาสตราอันคมยาว หอกแหลนหลาวเป็นแสน ก็ไม่อาจเข้ามาราวีได้ จึงต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “หอกแสนลำ”
เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามา แม้จะมีกำลังพลจำนวนมาก มีอาวุธปืนเป็นแสนกระบอก ก็ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ปืนแสนแหล้ง”
เมื่อผู้รุกรานบุกรุกเข้ามา แม้จะมีกำลังพลมากมาย มีหน้าไม้คันธนูเป็นแสนๆ ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “หน้าไม้แสนเกี๋ยง”
เมื่อข้าศึกอาจหาญล้ำแดนเข้ามา แม้ด้วยกำลังพลหัตถีนึก กองทัพช้างมีเป็นแสนเชือก ก็ไม่อาจหักหาญเข้ามาได้ มีแต่จะอลม่านแตกตื่นแกหนีไปสิ้น จึงได้ชื่อว่า “แสนเขื่อนกั้น” (บางแห่งเป็น แสนเขื่อนก๊าน)
เมื่อข้าศึกเข้ามาหมายย่ำยี ก็จะเกิดอาการร้อนเร่าเหมือนเพลิงเผาผลาญรอบด้าน เลยแตกพ่ายหนีไปด้วยความทุกข์ทรมาน จึงได้ชื่อว่า “ไฟแสนเต๋า”
การสร้างรูปปั้นช้างนั้น เป็นการส่งเสริมกำลังเมืองในทางด้านไสยศาสตร์เพื่อให้เมืองมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีพิธีการสักการบูชาพญาช้างทั้ง 8 เชือก เพราะเชื่อว่า จะทำให้เกิดสวัสดิมงคล นำความสงบสุขมาสู่บ้านเมือง ศัตรูไม่กล้ามารุกรานย่ำยีเมืองได้ เพราะชื่อพญาช้างที่ตั้งขึ้นนั้น เป็นพลังอำนาจก่อเกิดเดชานุภาพ อิทธิฤทธิ์ ข่มขู่บดบัง ขวางกั้น กำจัด ปราบปรามอริราชศัตรูที่จะมารุกราน ให้แพ้ภัยแตกพ่ายหนีไปเอง ซึ่งแต่ละชื่อมีความหมายดังนี้

เมื่อศัตรูยกพลเสนามารุกราน ล่วงล้ำเข้ามาในเขตพระราชอาณาจักร จะเกิดอาเพศ ท้องฟ้ามืดมิดด้วยเมฆหมอกปกคลุม ธรรมชาติวิปริตแปรปรวน น่ากลังยิ่งนัก ทำให้ผู้รุกราหวาดผวาภัยพิบัติ ตกใจกลัวแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “เมฆบังวัน”

เมื่อผู้รุกรานยกทัพเข้ามาใกล้ แม้จะมีพลโยธาทหารกล้าเรือนแสน ก็จะเกิดอาการมึนเมาลืมหลง ไม่อาจครองสติยับยั้งอยู่ได้ ต้องระส่ำระส่าย แตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ข่มพลแสน”
	เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามา แม้จะมีกำลังพลมากมาย มีศาตรา มีด พร้า ด้ามคมเป็นแสนๆเล่ม ก็ไม่อาจเข้าใกล้ทำร้ายได้ มีแต่จะเกิดหวาดหวั่นขาดกลัวแตกหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ดาบแสนด้าม”
	เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามารานรบ แม้จะมีกำลังพลกล้าหาญมากมาย มีศาสตราอันคมยาว หอกแหลนหลาวเป็นแสน ก็ไม่อาจเข้ามาราวีได้ จึงต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “หอกแสนลำ”
	เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามา แม้จะมีกำลังพลจำนวนมาก มีอาวุธปืนเป็นแสนกระบอก ก็ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ปืนแสนแหล้ง”
	เมื่อผู้รุกรานบุกรุกเข้ามา แม้จะมีกำลังพลมากมาย มีหน้าไม้คันธนูเป็นแสนๆ ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “หน้าไม้แสนเกี๋ยง”
	เมื่อข้าศึกอาจหาญล้ำแดนเข้ามา แม้ด้วยกำลังพลหัตถีนึก กองทัพช้างมีเป็นแสนเชือก ก็ไม่อาจหักหาญเข้ามาได้ มีแต่จะอลม่านแตกตื่นแกหนีไปสิ้น จึงได้ชื่อว่า “แสนเขื่อนกั้น” (บางแห่งเป็น แสนเขื่อนก๊าน)
	เมื่อข้าศึกเข้ามาหมายย่ำยี ก็จะเกิดอาการร้อนเร่าเหมือนเพลิงเผาผลาญรอบด้าน เลยแตกพ่ายหนีไปด้วยความทุกข์ทรมาน จึงได้ชื่อว่า “ไฟแสนเต๋า”

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 27 ก.ค. 53

ช้างรอบพระธาตุเจดีย์หลวง
มหาเจดีย์หลวงที่พระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวีทรงก่อสร้างนั้น พระนางทรงให้ยกฉัตรยอดมหาเจดีย์ แล้วปิดด้วยทองคำ พร้อมทั้งเอาแก้ว 3 ลูก ใส่ยอดมหาเจดีย์นั้นไว้ ประดับด้วยโขงประตูทั้ง 4 ด้าน มี พระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่งในโขงทั้ง 4 ด้าน มีรูป พญานาคปั้นเต็มตัว 8 ตัว ตัวละ 5 หัว อยู่ใน 2 ข้างบันได รูปปั้นราชสีห์ 4 ตัว ตั้งอยู่ตรงสี่มุมของมหาเจดีย์ มีรูปปั้นช้างค้ำรายล้อมรอบองค์เจดีย์หลวงนั้นมี 28 เชือก แต่ในประวัติศาสตร์มีเพียง 8 เชือกเท่านั้น ที่มีการตั้งชื่อให้เฉพาะ ซึ่งชื่อช้าง 8 เชือกที่ล้อมเจดีย์หลวง นับจากนับตามลำดับตั้งแต่ตัวที่อยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ทิศอีสาน) เวียนมาตามทอศตะวันออก มีดังนี้

ตัวที่ 1 เมฆบังวัน ตัวที่ 2 ข่มพลแสน
ตัวที่ 3 ดาบแสนด้าม ตัวที่ 4 หอกแสนลำ
ตัวที่ 5 ก๋องแสนแหล้ง ตัวที่ 6 หน้าไม้แสนเปียง
ตัวที่ 7 แสนเขื่อนก๊าน ตัวที่ 8 ไฟแสนเต๋า

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 27 ก.ค. 53

พระธาตุเจดีย์หลวงนั้นถือว่าเป็นพระธาตุที่มีความสูงที่สุดในภาคเหนือ หรือล้านนา คือ สูงประมาณ 80 เมตร เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณด้านละ 60 เมตร ถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ถือว่าเป็นเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดของเมืองเชียงใหม่

พระธาตุเจดีย์หลวงนั้นถูกสร้างขึ้นในในรัชสมัยพญาแสนเมืองมา (พ.ศ. 1928 - 1945) กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ซึงเป็นกษัตริย์ที่ปกครองเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น สร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้พญากือนา พระราชบิดา ซึ่งมีตำนานเล่ามาว่า พญากือนาซึ่งได้สวรรคตไปแล้ว ได้ปรากฏตัวแก่พ่อค้าชาวเชียงใหม่ที่เดินทางไปค้าขายที่พม่า ให้มาบอกว่าแก่พญาแสนเมืองมาผู้เป็นโอรสว่า ให้สร้างเจดีย์ไว้ท่ามกลางเวียง ให้สูงใหญ่พอให้คนที่อยู่ไกล 2000 วา สามารถมองเห็นได้ แล้วอุทิศบุญกุศลเหล่านนี้ให้แก่พญากือนา เพื่อให้พญากือนานั้นสามารถไปเกิดในเทวโลกได้ แต่พญาแสนเมืองมาเสด็จสวรรคตเสียก่อน พระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวีผู้เป็นมเหสีได้สืบทอด เจตนารมณ์สร้างต่อ จนเสร็จในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน ใช้เวลาสร้าง 5 ปี

ต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์ในสมัยพญาติโลกราช (พ.ศ. 1984 - 2030) พระองค์โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต นายช่างใหญ่ทำการปฏิสังขรณ์ โดยมีพระมหาสวามีสัทธัมกิติ เจ้าอาวาสองค์ที่ 7 ของวัดโชติการาม (วัดเจย์หลวง) เป็นกำลังสำคัญในการควบคุมดูแล และประสานงาน การปฏิรูปและก่อสร้างครั้งนี้ได้สร้างขยายเจดีย์ให้ใหญ่กว่าเดิม ใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี จึงแล้วเสร็จ

ในสมัยมหาเทวีจิรประภา รัชกาลที่ 15 แห่งราชวงศ์มังราย เกิดพายุฝนตกหนัก แผ่นดินไหว พระมหาเจดีย์หลวงได้พังทลายลงมาเหลือเพียงครึ่งองค์ จากนั้นก็ถูกปล่อยทิ้งร้างไปนานกว่า 4 ศตวรรษ พระมหาเจดีย์หลวงที่เห็นปัจจุบันกรมศิลปกรเพิ่งจะ บูรณปฏิสังขรณ์เสร็จไปเมื่อ พ.ศ. 2535
พระธาตุเจดีย์หลวงนั้นถือว่าเป็นพระธาตุที่มีความสูงที่สุดในภาคเหนือ หรือล้านนา คือ สูงประมาณ 80 เมตร เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณด้านละ 60 เมตร ถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ถือว่าเป็นเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดของเมืองเชียงใหม่

พระธาตุเจดีย์หลวงนั้นถูกสร้างขึ้นในในรัชสมัยพญาแสนเมืองมา (พ.ศ. 1928 - 1945) กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ซึงเป็นกษัตริย์ที่ปกครองเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น สร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้พญากือนา พระราชบิดา ซึ่งมีตำนานเล่ามาว่า พญากือนาซึ่งได้สวรรคตไปแล้ว ได้ปรากฏตัวแก่พ่อค้าชาวเชียงใหม่ที่เดินทางไปค้าขายที่พม่า ให้มาบอกว่าแก่พญาแสนเมืองมาผู้เป็นโอรสว่า ให้สร้างเจดีย์ไว้ท่ามกลางเวียง ให้สูงใหญ่พอให้คนที่อยู่ไกล 2000 วา สามารถมองเห็นได้ แล้วอุทิศบุญกุศลเหล่านนี้ให้แก่พญากือนา เพื่อให้พญากือนานั้นสามารถไปเกิดในเทวโลกได้ แต่พญาแสนเมืองมาเสด็จสวรรคตเสียก่อน พระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวีผู้เป็นมเหสีได้สืบทอด เจตนารมณ์สร้างต่อ จนเสร็จในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน ใช้เวลาสร้าง 5 ปี

ต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์ในสมัยพญาติโลกราช (พ.ศ. 1984 - 2030) พระองค์โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต นายช่างใหญ่ทำการปฏิสังขรณ์ โดยมีพระมหาสวามีสัทธัมกิติ เจ้าอาวาสองค์ที่ 7 ของวัดโชติการาม (วัดเจย์หลวง) เป็นกำลังสำคัญในการควบคุมดูแล และประสานงาน การปฏิรูปและก่อสร้างครั้งนี้ได้สร้างขยายเจดีย์ให้ใหญ่กว่าเดิม ใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี จึงแล้วเสร็จ

ในสมัยมหาเทวีจิรประภา รัชกาลที่ 15 แห่งราชวงศ์มังราย เกิดพายุฝนตกหนัก แผ่นดินไหว พระมหาเจดีย์หลวงได้พังทลายลงมาเหลือเพียงครึ่งองค์ จากนั้นก็ถูกปล่อยทิ้งร้างไปนานกว่า 4 ศตวรรษ พระมหาเจดีย์หลวงที่เห็นปัจจุบันกรมศิลปกรเพิ่งจะ บูรณปฏิสังขรณ์เสร็จไปเมื่อ พ.ศ. 2535

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 27 ก.ค. 53

พระนอน หรือ พระพุทธไสยาสน์ เป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่คู่กับพระเจดีย์ แต่ไม่ปรากฏว่า สร้างขึ้นเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง สร้างด้วยปูนปิดทอง เมื่อ ต.ค. 2536 ได้บูรณะใหม่ทาสีทองสำเร็จแทน มีขนาดใกล้เคียงกับพระอัฏฐารส หันพระเศียรสู่ทิศใต้ พระพักตร์หันเข้าหาองค์พระธาตุเจดีย์หลวง สูง 1.93 เมตร ยาว 8.70 เมตร 
พระนอน หรือ พระพุทธไสยาสน์ เป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่คู่กับพระเจดีย์ แต่ไม่ปรากฏว่า สร้างขึ้นเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง สร้างด้วยปูนปิดทอง เมื่อ ต.ค. 2536 ได้บูรณะใหม่ทาสีทองสำเร็จแทน มีขนาดใกล้เคียงกับพระอัฏฐารส หันพระเศียรสู่ทิศใต้ พระพักตร์หันเข้าหาองค์พระธาตุเจดีย์หลวง สูง 1.93 เมตร ยาว 8.70 เมตร 

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 27 ก.ค. 53

พระอัฏฐารส เป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหารหลวง เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะปาละ (อินเดีย)
องค์พระ หล่อด้วยทองสำริดสูงใหญ่ ปางห้ามญาติ สูง 8.23 เมตร พุทธลักษณะสง่างามที่สุดในอาณาจักรล้านนา โดยเฉพาะพระพักตร์อ่อนโยนงดงามยิ่งนัก เป็นศิลปกรรมร่วมสมัยกับพระพุทธรูปแบบเชียงแสน หรือพระสิงห์
พระอัฏฐารส เป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหารหลวง เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะปาละ (อินเดีย)
องค์พระ หล่อด้วยทองสำริดสูงใหญ่ ปางห้ามญาติ สูง 8.23 เมตร พุทธลักษณะสง่างามที่สุดในอาณาจักรล้านนา โดยเฉพาะพระพักตร์อ่อนโยนงดงามยิ่งนัก เป็นศิลปกรรมร่วมสมัยกับพระพุทธรูปแบบเชียงแสน หรือพระสิงห์

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 27 ก.ค. 53

นาคสองตัว หน้าพระอุโบสถ
นาคสองตัว หน้าพระอุโบสถ

ถูกใจ แชร์

heartkub

รีวิวเมื่อ 27 ก.ค. 53

ประวัติพระเจดีย์หลวง
- พระเจดีย์หลวงสร้างขึ้นในรัชสมัยของพญาแสนเมืองมา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้พญากือนา พระราชบิดา แต่สร้างไม่เสร็จ ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน
- ต่อมาพระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวี พระมเหสีของพญาเมืองมา ก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน เรียกกันว่า “กู่หลวง”
- พญาติโลกราช โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคตเป็นนายช่างใหญ่ดำเนินการปฏิสังขรณ์รพระเจดีย์หลวง ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2021
- ในรัชสมัยพระเจ้ายอดเชียงรายได้ปิดทองภายในซุ้มจรนัมของพระเจดีย์ หลวงทั้ง 4 ด้าน
- ในรัชสมัยพระเจ้าเมืองแก้ว เมื่อ พ.ศ. 2046 ได้โปรดให้สร้างหอพระแก้ว และอัญเชิญพระแก้วมรกตลงมาประดิษฐาน สร้างมหาวิหาร ส่วนการบูรณะพระเจดีย์หลวงได้ดำเนินการเพียงเล็กน้อย
- ในที่สุดเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ในปีพ.ศ. 2088 ในรัชสมัยพระนางเจ้ามหาเทวีจิรประภา ยอดพระเจดีย์หลวงก็พังทลายลงมา เหลือให้เห็นดังสภาพปัจจุบัน (ก่อนการบูรณะของกรมศิลปกร)
ประวัติพระเจดีย์หลวง
- พระเจดีย์หลวงสร้างขึ้นในรัชสมัยของพญาแสนเมืองมา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้พญากือนา พระราชบิดา แต่สร้างไม่เสร็จ ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน
- ต่อมาพระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวี พระมเหสีของพญาเมืองมา ก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน เรียกกันว่า “กู่หลวง”
- พญาติโลกราช โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคตเป็นนายช่างใหญ่ดำเนินการปฏิสังขรณ์รพระเจดีย์หลวง ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2021
- ในรัชสมัยพระเจ้ายอดเชียงรายได้ปิดทองภายในซุ้มจรนัมของพระเจดีย์ หลวงทั้ง 4 ด้าน
- ในรัชสมัยพระเจ้าเมืองแก้ว เมื่อ พ.ศ. 2046 ได้โปรดให้สร้างหอพระแก้ว และอัญเชิญพระแก้วมรกตลงมาประดิษฐาน สร้างมหาวิหาร ส่วนการบูรณะพระเจดีย์หลวงได้ดำเนินการเพียงเล็กน้อย
- ในที่สุดเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ในปีพ.ศ. 2088 ในรัชสมัยพระนางเจ้ามหาเทวีจิรประภา ยอดพระเจดีย์หลวงก็พังทลายลงมา เหลือให้เห็นดังสภาพปัจจุบัน (ก่อนการบูรณะของกรมศิลปกร)

ถูกใจ แชร์

สถานที่ใกล้เคียง

วัดพันเตา วัดพันเตา (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 0.14 กิโลเมตร

หออินทขิล เสาหลักเมืองเชียงใหม่ หออินทขิล เสาหลักเมืองเชียงใหม่ (รีวิว 1047 รายการ)

ห่าง 0.31 กิโลเมตร

วัดอินทขีลสะดือเมือง วัดอินทขีลสะดือเมือง (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.31 กิโลเมตร

พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.36 กิโลเมตร

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.39 กิโลเมตร

หอศิลปวัฒนธรรม เชียงใหม่ หอศิลปวัฒนธรรม เชียงใหม่ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.41 กิโลเมตร

วัดพระสิงห์วรวิหาร วัดพระสิงห์วรวิหาร (รีวิว 529 รายการ)

ห่าง 0.52 กิโลเมตร

ประตูท่าแพ ประตูท่าแพ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.65 กิโลเมตร

ถนนคนเดินเชียงใหม่ ประตูท่าแพ ถนนคนเดินเชียงใหม่ ประตูท่าแพ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.66 กิโลเมตร

วัดเชียงมั่น วัดเชียงมั่น (รีวิว 14 รายการ)

ห่าง 0.80 กิโลเมตร

โรงแรมใกล้เคียง

เดอะ 3 ซิส เวเคชั่นลอดจ์ เดอะ 3 ซิส เวเคชั่นลอดจ์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.08 กิโลเมตร

โรงแรมยู เชียงใหม่ โรงแรมยู เชียงใหม่ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.15 กิโลเมตร

โรงแรมเวียง มันตรา โรงแรมเวียง มันตรา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.17 กิโลเมตร

เวียงหลวงรีสอร์ท เวียงหลวงรีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.21 กิโลเมตร

ดิ เอ็กซ์พีเรียนซ์ วอล์คกิ้งสตรีท เชียงใหม่ ดิ เอ็กซ์พีเรียนซ์ วอล์คกิ้งสตรีท เชียงใหม่ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.27 กิโลเมตร

โรงแรมเอสเทีย เชียงใหม่ โรงแรมเอสเทีย เชียงใหม่ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.28 กิโลเมตร

มรรคา เชียงใหม่ มรรคา เชียงใหม่ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.28 กิโลเมตร

บ้านหมีน้อย บ้านหมีน้อย (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.29 กิโลเมตร

เอลบาริโอ ล้านนา เอลบาริโอ ล้านนา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.31 กิโลเมตร

อโนดาต อโนดาต (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.33 กิโลเมตร

ร้านอาหารใกล้เคียง

ร้าน เดอะไรท์เตอร์คลับแอนด์ไวน์บาร์ ร้าน เดอะไรท์เตอร์คลับแอนด์ไวน์บาร์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.12 กิโลเมตร

ข้าวต้ม กลางคืน ข้าวต้ม กลางคืน (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.15 กิโลเมตร

คาเฟ่ตาลอ่อน คาเฟ่ตาลอ่อน (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.20 กิโลเมตร

ข้าวมันไก่ ศิริชัย ข้าวมันไก่ ศิริชัย (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.34 กิโลเมตร

บานเย็น บานเย็น (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.37 กิโลเมตร

ข้าวหมูกรอบ ก๋วยจั๊บ ข้าวหมูกรอบ ก๋วยจั๊บ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.43 กิโลเมตร

ร้านอาหารมังสวิรัติ ร้านอาหารมังสวิรัติ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.44 กิโลเมตร

เทียนเซียง เทียนเซียง (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.55 กิโลเมตร

โอม โอม (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.62 กิโลเมตร

SP Chicken SP Chicken (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.63 กิโลเมตร