“เวียงกุมกาม เป็นเมืองประวัติศาสตร์ แห่งอาณาจักรล้านนาโบราณ”

เวียงกุมกาม เป็นเวียงโบราณที่ปรากฎหลักฐานในพงศาวดาร เชื่อกันว่า พญามังราย บรรพกษัตริย์ผู้ครอบครอง และสืบทอดราชวงศ์ลวจังกราช เหนือราชบัลลังก์เมืองหิรัญนครเงินยาง แห่งแค้วนโยนโบราณอันกว้างใหญ่ แถบลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำสาย และแม่น้ำกก ได้เสด็จพร้อมด้วยไพร่พลมาที่ดอยจอมทอง ซึ่งตั้งอยู่ตรงทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ริมแม่น้ำกกที่ไหลมาแต่เทือกเขาสูงทางทิศเหนือ ณ ดอยแห่งนี้

พระองค์โปรดให้ สร้างเวียง* แห่งใหม่ขึ้น เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1806 มีนามว่า เชียงราย หรือ เวียงแห่งพญามังราย เพื่อเป็นการแสดงแสนยานุภาพและขยายอาณาเขตพระองค์จึงเสด็จขึ้นไปทางเหนือไปรวบรวมรี้พล และสร้างเวียงฝางไว้เป็นเมืองหน้าด่าน อีกทั้งยังได้สำรวจเส้นทางในลุ่มน้ำแม่ระมิงค์หรือสายน้ำแห่งชาวรามัญเพื่อขยายดินแดนลงมาทางใต้เพราะทรงทราบถึงเกียรติศัพท์อันร่ำลือว่า หริภุญไชยเป็นแค้วนใหญ่ร่มเย็นด้วยพุทธศาสนา บ้านเมืองสงบสุขมั่งคั่ง มีศิลปะวิทยาการเจริญรุ่งเรืองแต่อดีตกาลครั้งพระนางจามเทวี จึงทรงปรารถนาที่จะรวมแค้วนหริภุญไชยให้อยู่ในเขตขัณฑสีมาแห่งพระองค์ ในที่สุด พระองค์ก็ยกกำลังพละข้ายึดครองหริภุญไชยได้เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 1824 อีก 2 ปีต่อมา ทรงดำริว่า หริภุญไชยเป็นเวียงศูนย์กลางทางพุทธศาสนา มีความคับแคบเกินไป การจะขยายเวียงเพื่อรองรับชุมชนจำนวนมากทำได้ยาก จึงทรงมอบเวียงหริภุญไชยให้อ้ายฟ้าดูแล แล้วนำกำลังรี้พลพร้อมด้วยราษฎรไปตั้งมั่นอยู่ที่ บ้านแซว หรือ ชแว เพื่อพิจรณาทำเลที่เหมาะสมสำหรับสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นใหม่ ให้เป็นศูนย์กลางการปกครองและการค้าขาย ตลอดจนมีพื้นที่เหมาะสมกับการเกษตรกรรม ทางเลือกพี้นที่บ้านกลาง บ้านลุ่ม และบ้านแห้ม โปรดให้สร้างเวียงใหม่ขึ้นในปี พ.ศ. 1829 ณ บริเวณที่แม่น้ำปิงหรือน้ำแม่ระมิงค์ไหลผ่านทางด้านทิศเหนือ และทิศตะวันออก

ด้วยพิเคราะห์ว่าแม่น้ำปิงสายนี้จะเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญระหว่างดินแดนทางทิศเหนือและทิศใต้ ทรงให้ขุดคูเวียง 3 ด้าน ใช้น้ำแม่ระมิงค์เป็นคูเวียงธรรมชาติด้านทิศเหนือ ก่อกำแพง 4 ด้าน มีสัณฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พร้อมสร้างที่ประทับเรือนหลวงภายในเวียงด้วยฐานะที่เป็นเมืองหลวงควบคุมดูแลการเมืองการปกครองหัวเมืองน้อยใหญ่ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ เวียงนี้จึงได้ชื่อเรียกขานกันทั่วไปว่า “เวียงกุ๋มก๋วม” หรือ “เวียงกุมกาม” ในเวลาต่อมา

อาจด้วยเพราะเวียงกุมกามตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มบริเวณคุ้งน้ำเมื่อย่างเข้าหน้าฝน พื้นที่โดยรอบก็จะชุ่มแฉะ คราวใดที่แม่น้ำปิงมีปริมาณน้ำสูงมาก ก็จะถาโถมเข้าท่วมเวียงได้ง่าย หลักฐานจากชั้นดินในการขุดค้นทางโปราณคดีและการขุดแต่งโบราณสถานในเวียงกุมกาม ยืนยันความจริงว่าเวียงกุมกามประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วม ทั้งนี้เห็นได้จาก โบราณสถานวัดร้างหลายแห่งพบอยู่ทั้งในเวียงและนอกเวียงนั้น ถูกดินเหนียวร่วนปนกรวดทราย ซึ่งเป็นตะกอนน้ำพัดพา กลบฝังอยู่ลึกประมาณ 1.5-2.00 เมตร ส่งผลเสียหายแก่บ้านเมืองอยู่เป็นประจำ เป็นเหตุให้พญามังรายทรงย้ายมาสร้างเวียงใหม่ ณ บริเวณที่พระองค์พร้อมด้วยพระสหาย คือ พ่อขุนรามคำแหง แห่งเมืองสุโขทัย และพญางำเมือง แห่งเมืองพะเยา พิจารณาร่วมกันว่าบริเวณพื้นที่ราบลุ่ม มีความลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกอยู่ระหว่างอุสุจบรรพตหรือดอยสุเทพทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ กับแม่น้ำปิงซึ่งไหลผ่านมาทางด้านทิศตะวันออกนั้น เป็นชัยภูมิที่เหมาะสม จึงโปรดให้สร้างเวียงแห่งใหม่ มีขื่อว่า “นพบุรีศรีนครงพิงค์เชียงใหม่” ขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านนาแทนเวียงกุมกาม เมืองปี พ.ศ. 1839 แม้ศูนย์กลางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ การปกครอง เศรษฐกิจ ศิลปะ และวิทยาการต่าง ๆ จะย้ายมาอยู่ที่เชียงใหม่แล้วในช่วงเวลานั้น เวียงกุมกามก็ยังคงความสำคัญโดยเฉพาะกับราชวงศ์มังราย มีผู้คนอยู่อาศัยสืบต่อกันมา เห็นได้จากเมื่อครั้งที่ มีงานอภิเษกแต่งตังพระนางปายโคขึ้นเป็นราชเทวี และงานฉลองยศอุปราชเจ้าพญาไชยสงครามราชโอรสพญามังรายโปรดให้มีการเฉลิมฉลองทั้งเวียงเชียงใหม่และเวียงกุมกามถึงเจ็ดวันเจ็ดคืน เมื่อครั้งประชวรก็โปรดที่จะเสด็จมาประทับพักผ่อนที่เวียงกุมกาม

เมื่อครั้นสิ้นสมัยของพญามังรายแล้ว มีเรื่องเล่ากันว่า นางจีมคำ พระราชเทวีของพญาแสนภู ได้เสด็จเยี่ยมเวียงกุมกามโดยข้ามน้ำแม่โทอยู่บ่อยครั้ง จนได้เรียกบริเวณนี้ว่า ขัวจีมคำหรือสะพานจีมคำ ล่วงมาถึงสมัยพญากือนาซึ่งมีความกล่าวไว้ในศิลาจารึกพบที่วัดพระยืนว่า มีผู้คนจำนวนมากจากหริภุญไชยเชียงใหม่ และเวียงกุมกาม ร่วมกันเป็นศรัทธาทำบุญถวายทาน แด่พระสุมนเถระที่พญากือนาอาราธนามาแต่เมืองสุโขทัย เพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา จนถือได้ว่าเป็นการเริ่มยุคทองของพุทธศาสนาในอาณาจัตรล้านนา ต่อมาในสมัยพญาแสนเมืองมา พระองค์เสด็จมาเวียงกุมกามเพื่อหล่อพระพุทธรูปเจ้าสิกขี 1 พระองค์ แล้วให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ วัดการโถมช้างค้ำกลางเวียง เวียงกุมกาม เริ่มประสบปัญหาความยุ่งยาก

เมื่อท้าวมหาพรมเจ้าเมืองเชียงรายได้นำกำลังพลจำนวนหนึ่งเข้ามากวาดต้อนผู้คนที่เวียงกุมกาม เพื่อเข้าตีเวียงเชียงใหม่ แต่ไม่สามารถต้านทานกำลังรบของพญาแสนเมืองมาได้ จึงยกทัพกลับไป เวียงกุมกาม ใช่จะมีความสำคัญเพราะเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของเวียงเชียงใหม่เท่านั้น แต่ชื่อ กุมกามดูเหมือนจะเป็นชื่อที่คุ้นเคย ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อราชบุตรของพญาแสนเมืองมา คือ ท้ายยี่กุมกามด้วย อย่างไรก็ตามในสมัยพญาติโลกราช เวียงกุมกาม มีฐานะเป็นเพียงพันสาหนึ่งของเวียงเชียงใหม่ โดยมี หมื่นกุมกาม เป็นผู้ปกครองดูแลต่อมา ในสมัยพระเมืองแก้ว พระองค์เสด็จมาบำเพ็ญกุศลสร้างวิหาร และอัญเชิญพระประติมาทองสำริด มาประดิษฐานบนแท่นชุกชีที่วัดกุมกามที่ปารามหรือวัดเกาะกุมกามด้วย ในปี พ.ศ. 2101 เชียงใหม่เสียแก่พม่า ผลของสงครามและฐานะของความไร้อิสรภาพ ประกอบกับอุทกภัยทางธรรมชาติหลายครั้งหลายหน อาจมีส่วนทำให้บทบาทของเวียงกุมกามหมดความสำคัญสูญหายใปจากหน้าประวัติศาสตร์ตลอดสมัยการปกครองของพม่าที่ยึดครองล้านนาอยู่ ๒๑๖ ปี แม้ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 24 เวียงกุมกามคงเป็นแค่ตำนานของผู้คนในเวียงเชียงใหม่ ครั้งเมื่อ พระเจ้าตากสินมหาราชพร้อมด้วยพระยาจ่าบ้าน ได้ยกทัพมาต่อสู้กับพม่าที่ ท่าวังตาล ยังไม่ปรากฏว่ามีการกล่าวถึงชื่อ กุมกาม ตราบจนตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์

พระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองเวียงเชียงใหม่พระองค์แรก ได้ฟื้นฟูบ้านเมืองโดยใช้นโยบาย “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” ทำให้ผู้คนมาตั้งถิ่นฐานในเวียงเชียงใหม่มากขึ้น ซึ่งอาจรวมถึงบริเวณเวียงกุมกามด้วย ในสมัยรัชการที่ 5 มีบันทึกชึดเจนว่า ผู้คนเข้าไปอยู่อาศัยเป็นชุมชนขนาดเล็กที่ “บ้านช้างค้ำท่าวังตาล”

กระทั่งปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา กรมศิลปากร สำรวจและขุดค้น พบโบราณสถาน วัดร้างหลายแห่ง มิติของเมืองในตำนานเริ่มฉายภาพเด่นชัดขึ้น จนกระทั่งเป็นข้อยุติว่า ท่าวังตาล คือ ที่ตั้งแห่ง “เวียงกุมกาม รุ่งอรุณแห่งนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” เวียงที่สูญหายและหวนคืน เวียงกุมกามปัจจุบัน อยู่ในเขตการปกครองท้องถิ่งขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังตาล องค์การบริหารส่วนตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหอย อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 5 กิโลเมตร จากการศึกษาภาพถ่ายทางอากาศ และการสำรวจทางโบราณคดี มีร่องรอยแนวกำแพงเวียงทางทิศใต้คูเวียงทางทิศเหนือและทิศตะวันออก สันนิษฐานตามสภาพว่า เวียงมีลักษณะสี่เหลี่ยมผีนผ้า ขนาดกว้าง 600 เมตร ยาว 850 เมตร โดยประมาณ สำนักงานศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ กรมศิลปากร ดำเนินการขุดค้นขุดแต่ง และอนุรักษ์โบราณสถาน ที่อยู่ทั้งภายใน และภายนอกเวียงเล้ว จำนวน 42 แห่ง ยืนยันว่า ฐานโบราณสถานทุกแห่งถูกทับถมด้วยตะกอนน้ำท่วม ในระดับ 1-2 เมตร เวียงกุมกามในปัจจุบัน จึงมีสภาพดังเช่น “นครโบราณใต้พิภพ” ที่ถูกเปิดเผยออกมาให้สาธารณชนได้รับรู้

ศิลปกรรมในเวียงกุมกาม โบราณสถานที่โดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรม ล้วนเป็นศาสนาสถานเนื่องในพุทธศาสนา ได้แก่ เจดีย์เหลี่ยม ที่พญามังรายโปรดให้สร้างขี้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ โดยถ่ายแบบสถาปัตยกรรมมาจาก เจดีย์กู่กุดวัดจามเทวี จังหวัดลำพูน องค์เจดีย์มีฐานสี่เหลี่ยม ประดับซุ้มพระโดยรอบ ซ้อนชั้นลดหลั่นกันขึ้นไป อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2451 มีการบูรณะซ่อมแซมใหญ่โดยช่างชาวพม่า ทำให้ลวดลายปูนปั้น และประติมากรรมพระพุทธรูปในซุ้มเป็นศิลปะแบบพม่า เจดีย์ที่วัดหัวหนอง มีช้างหมอบคู้ขาหน้าล้อมรอบฐานเจดีย์ลักษณะเดียวกันกับช้างล้อมที่เจดีย์รุวันเวลิ ในประเทศศรีลังกา เป็นอิทธิพลศิลปะสุโขทัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 19-20 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-21 ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมในเวียงกุมกาม ได้พัฒนาเป็นศิลปะล้านนาอย่างแท้จริง โดยสร้างเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีเรือนธาตุสูง ประดับลูกแก้วอกไก่และชุดมาลัยเถามียอดเป็นองค์ระฆังขนาดเล็ก เช่น เจดีย์ที่วัดกู่ไก่ไม้ซ้ง วัดธาตุขาว วัดอีก้าง วัดกู่ขาว เป็นต้น เจดีย์บางองค์มีเรืองธาตุสูง และประดับซุ้มพระ 4 ด้าน โดยมีชุดมาลัยเถารองรับองค์ระฆังขนาดเล็ก เช่น เจดีย์ที่วัดปู่เบี้ย

วัดวาอารามบางแห่งที่เพิ่งถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา ไม่ปรากฏยอดเจดีย์ แต่มีฐานเจดีย์ วิหาร กำแพงแก้ว ฝังจมอยู่ใต้พื้นดิน 1-2 เมตร ยังคงรักษางานลวดลายปูนปั้นที่วิจิตร งดงามไว้เป็นอย่างดี เช่น หัวบันไดมกรคายนาค ลายประดับสิงห์ เหมราช กิเลน ที่วัดหนานช้าง หงส์ ที่วัดหัวหนอง เทวดาปูนปั้นแบบนูนสูงและลวดลายปูนปั้นมกรคายมังกร ที่วัดกู่ป้าด้อม เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์ดินเผาสกุลช่างหริภุญไชย เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ หมิง – ชิง และชิ้นส่วนพระพุทธรูป ซึ่งข้อมูลโดยละเอียด รับทราบได้จาก “ศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม” วิถีชีวิตของผู้คนในเวียงกุมกาม ย่อมหนีไม่พ้นกระแสโลกาภิวัฒน์ แต่ด้วยจารีตประเพณี อันสืบเนื่องมาจากข้อกฎหมายโบราณที่เรียกว่า “มังรายศาสตร์” ซึ่งเป็นหลักยึดเหนี่ยวเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชนมาแต่โบราณกาล ทำให้กลิ่นอายของล้านนายังคงอบอวลอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะจากกลุ่มผู้คนที่เรียกตนเองว่า “คนเมือง” ประจักษ์พยานเห็นได้จาก งานรื่นเริง และงานบุญในเทศกาล สำคัญทางพุทธศาสนา ที่ประกอบด้วยพิธีกรรม การแต่งกาย ศิลปะการแสดง และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่คงความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอย่างแท้จริง กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยความร่วมมือของฝ่ายการเมือง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น กำลังดำเนินการฟื้นฟู และอนุรักษ์เวียงกุมกาม ให้คืนสู่บรรยากาศในอดีตที่รุ่งเรืองของ รุ่งอรุณแห่งนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เป็น “เมืองประวัติศาสตร์” ที่มีวิถีชีวิตของผู้คนอยู่ร่วมกันกับโบราณสถานอย่างเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน


เที่ยวได้ทุกวัน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : เวียงกุมกาม   053-140322

สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ 053-112877 , 053-112877-18
ททท. สำนักงานเชียงใหม่ (สำนักงานชั่วคราว)(เชียงใหม่,ลำพูน,ลำปาง) 053-276140-2

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 1 รายการ)

heartkub

รีวิวเมื่อ 27 ก.ค. 53

สวยงาม มีสเน่ห์

ถูกใจ แชร์

สถานที่ใกล้เคียง

วัดเจดีย์เหลี่ยม วัดเจดีย์เหลี่ยม (รีวิว 1210 รายการ)

ห่าง 0.39 กิโลเมตร

วัดศรีสุพรรณ วัดศรีสุพรรณ (รีวิว 4 รายการ)

ห่าง 3.42 กิโลเมตร

ไนท์บาซาร์ เชียงใหม่ ไนท์บาซาร์ เชียงใหม่ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 3.75 กิโลเมตร

ถนนคนเดินเชียงใหม่ ประตูท่าแพ ถนนคนเดินเชียงใหม่ ประตูท่าแพ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 4.02 กิโลเมตร

วัดมหาวัน วัดมหาวัน (รีวิว 10 รายการ)

ห่าง 4.07 กิโลเมตร

ประตูท่าแพ ประตูท่าแพ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 4.07 กิโลเมตร

วัดเจดีย์หลวง วัดเจดีย์หลวง (รีวิว 812 รายการ)

ห่าง 4.12 กิโลเมตร

วัดแสนฝาง วัดแสนฝาง (รีวิว 536 รายการ)

ห่าง 4.19 กิโลเมตร

วัดพันเตา วัดพันเตา (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 4.20 กิโลเมตร

หออินทขิล เสาหลักเมืองเชียงใหม่ หออินทขิล เสาหลักเมืองเชียงใหม่ (รีวิว 1047 รายการ)

ห่าง 4.42 กิโลเมตร

โรงแรมใกล้เคียง

โรงแรม มารายา แอนด์ รีสอร์ท โรงแรม มารายา แอนด์ รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.58 กิโลเมตร

ชีคอิซทานา ชีคอิซทานา (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.62 กิโลเมตร

เดอะ รูม เชียงใหม่ เดอะ รูม เชียงใหม่ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.02 กิโลเมตร

ศรีปิง รีสอร์ท ศรีปิง รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.08 กิโลเมตร

ดิแอดเวนเจอร์ ดิแอดเวนเจอร์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.13 กิโลเมตร

โรงแรมลาวิลเล็ตต้า โรงแรมลาวิลเล็ตต้า (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.20 กิโลเมตร

รติลานนา ริเวอร์ไซด์ สปา รีสอร์ท เชียงใหม่ รติลานนา ริเวอร์ไซด์ สปา รีสอร์ท เชียงใหม่ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.27 กิโลเมตร

ดิ อธิษฐาน บูติครีสอร์ท เชียงใหม่ ดิ อธิษฐาน บูติครีสอร์ท เชียงใหม่ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.32 กิโลเมตร

โรงแรมวินเพลส เชียงใหม่ โรงแรมวินเพลส เชียงใหม่ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.35 กิโลเมตร

ชา เชียงใหม่ ลักชัวรี่ ชา เชียงใหม่ ลักชัวรี่ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.37 กิโลเมตร

ร้านอาหารใกล้เคียง

หลองข้าวลำ หลองข้าวลำ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.73 กิโลเมตร

ราชาบะหมี่เกี๋ยวกุ้ง ราชาบะหมี่เกี๋ยวกุ้ง (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.78 กิโลเมตร

ยามาโต้ เชียงใหม่ ยามาโต้ เชียงใหม่ (รีวิว 10 รายการ)

ห่าง 1.18 กิโลเมตร

เจ ออมบุญ เจ ออมบุญ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.73 กิโลเมตร

ก๋วยเตี๋ยวเนื้อวัวรสเยี่ยม แสงตะวัน ก๋วยเตี๋ยวเนื้อวัวรสเยี่ยม แสงตะวัน (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.95 กิโลเมตร

ร้านอาหาร เอื้องคำสาย ร้านอาหาร เอื้องคำสาย (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 3.02 กิโลเมตร

ธาราบาร์ ธาราบาร์ (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 3.08 กิโลเมตร

เจพัฒนา เจพัฒนา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 3.19 กิโลเมตร

เซฟธัญญา เซฟธัญญา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 3.35 กิโลเมตร

ภัตตาคารเจี่ยท้งเฮง ภัตตาคารเจี่ยท้งเฮง (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 3.37 กิโลเมตร