“อุทยานแห่งชาติออบหลวง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ความสวยงาม และความน่ากลัวไว้ในจุดเดียวกัน”

ลักษณะทั่วไปของออบหลวง คือ เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ ความสวยงาม และความน่ากลัวไว้ในจุดเดียวกัน กล่าวคือ เบื้องล่างเป็นแม่น้ำสลักหิน ที่ไหลคดเคี้ยวผ่านช่องเขาขาด ตรงออบหลวงช่องเขานี้มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน และแคบมากบีบทางน้ำไหล ดังนั้นแม่น้ำตรงนี้จึงเชี่ยวจัด เสียงน้ำกระทบหน้าผาดังสนั่นแต่รอบ ๆ บริเวณชายน้ำด้านเหนืองดงามไปด้วยหมู่ไม้น้อยใหญ่ ร่มรื่นอยู่ตลอดเวลาชั่วนาตาปี ยังมีสะพานเชื่อมช่องเขาขาด สำหรับนักท่องเที่ยวยืนชมความงดงามแห่งทัศนียภาพของออบหลวง นอกจากนั้นภายในบริเวณอุทยานฯ ยังมีการขุดค้นพบแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ด้วย หน่วยพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ 6 (แม่โถ) ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 160 กม. อยู่ ต.บ่อสลี อ.ฮอด ตามเส้นทางสายฮอด แม่สะเรียง ถึง กม.ที่ 55 แล้วแยกเข้าเส้นทางไปแม่โถอีก 16 กม. สถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่ บ่อน้ำแร่ (ตรงทางแยกเข้า อำเภอแม่แจ่ม) สวนสนบ่อแก้ว (กม.ที่ 36) หมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง (แม้ว) และกะเหรี่ยง ทัศนียภาพโดยรอบ และแปลงทดลองปลูกไม้ดอกเมืองหนาว ฯลฯ ทะเลสาบดอยเต่า

 ดอยเต่าเป็นอำเภอของเชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนเชียงใหม่ ฮอด ดอยเต่า ระยะทางประมาณ 133 กม. ที่ดอยเต่ามีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ซึ่งอยู่เหนือเขื่อนภูมิพล เคยใช้ในการเกษตรกรรมด้านการประมง ในบริเวณอ่างเก็บน้ำ มีบริการแพพักและเรือนำเที่ยว ซึ่งนำชมแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เช่น น้ำตกอุ่มแป๋ ผาวิ่งชู พระธาตุดอยเกิ้ง ฯลฯ (สถานที่เหล่านี้ ชมได้ทางเรือเท่านั้น) ค่าเช่าเรือหางยาวประมาณ 800-1,000 บาท ใช้เวลาประมาณ 1 วัน นอกจากนี้ยังมีเรือนำเที่ยวจากเขื่อนภูมิพล มายังอ่างเก็บน้ำดอยเต่า แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำว่าจะมากพอหรือไม่


การเดินทาง :  อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ตามทางหลวงหมายเลข 108 สายฮอด แม่สะเรียง ตรงหลักกม.ที่ 17 รวมระยะทางประมาณ 105 กม. ถนนเป็นถนนลาดยางอย่างดี และช่วงระหว่างฮอดถึงออบหลวงนั้น ถนนจะเลียบขนานไปกับแม่น้ำแม่แจ่มหรือแม่น้ำสลักหิน และวกไปเวียนมาตามไหล่เขา

ติดต่อที่ทำการอุทยานฯออบหลวง โทรศัพท์ 081-6021290 (VoIP), 0 53-315302 โทรสาร 053-317497

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 5 รายการ)

nongview

รีวิวเมื่อ 28 ก.ค. 53

ขอบคุณข้อมูลบางส่วน จาก เว็บ อุทยานแห่งชาติ

แผนที่อุทยานออบหลวง

http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/zoompic.asp?npid=145&picid=2&tid=1&pid=4&stid=1

แผนที่การเดินทาง

http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/zoompic.asp?npid=145&picid=2&tid=1&pid=2&stid=1

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 28 ก.ค. 53

การเดินทาง

รถยนต์
จากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางโดยรถยนต์ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ถึงอำเภอฮอด แล้วเลี้ยวขวาตรงหอนาฬิกาไปตามทางสายฮอด-แม่สะเรียง จากอำเภอฮอดไปอีก 17 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 105 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง
รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ กรุงเทพฯ - จอมทอง เดินทางสายอำเภอเถิน ลี้ ดอยเต่า ลงรถที่หน้าที่ว่าการอำเภอฮอด (หอนาฬิกา) แล้วเดินทางต่อด้วยรถยนต์โดยสารประจำทางหรือรถรับจ้างประจำทาง ฮอด-แม่สะเรียง หรือ ฮอด - อมก๋อย ระยะทางจากฮอดถึงออบหลวง 17 กม. เพียง 15-20 นาที

รถโดยสารประจำทาง
โดยรถยนต์โดยสาร (ธรรมดาหรือปรับอากาศ) สายกรุงเทพ-แม่ฮ่องสอน จากกรุงเทพฯ ถึงอำเภอเถิน จังหวัดตาก แล้วแยกเข้าอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จากอำเภอลี้ เข้าอำเภอดอยเต่า อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เลยฮอดไปอีก 17 กิโลเมตร ตามเส้นทางฮอด-แม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เช่นเดียวกัน

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 28 ก.ค. 53

เส้นทางเดินศึกษาความเป็นมาก่อนประวัติศาสตร์
เส้นทางเดินศึกษาความเป็นมาก่อนประวัติศาสตร์

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 28 ก.ค. 53

ดินแดนมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์

อยู่ใกล้เคียงกับช่องแคบออบหลวง กองโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ได้ขุดค้นเพื่อศึกษาวิจัยร่วมกับประเทศฝรั่งเศส เรื่อง Research on Chronology and Evolution of the Prehistoric Cultures of Northern Central Thailand and their Antropological Characteristics โดยเริ่มโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา

บริเวณออบหลวง ทั้งสองฝั่งอำเภอจอมทอง และฝั่งอำเภอฮอด ได้ขุดค้นพบโบราณวัตถุและหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์จำนวนมาก เช่น เครื่องมือหินกระเทาะแกนหินและสะเก็ดหิน ขวานหินขัด ชิ้นส่วน เครื่องประดับและภาชนะสำริด ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ ที่สำคัญคือ พบโครงกระดูกของมนุษย์ในสมัยยุคสำริด มีอายุระหว่าง 2,500 - 3,500 ปี ก่อนคริสตกาล
ดินแดนมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์

	อยู่ใกล้เคียงกับช่องแคบออบหลวง กองโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ได้ขุดค้นเพื่อศึกษาวิจัยร่วมกับประเทศฝรั่งเศส เรื่อง Research on Chronology and Evolution of the Prehistoric Cultures of Northern Central Thailand and their Antropological Characteristics โดยเริ่มโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา

	บริเวณออบหลวง ทั้งสองฝั่งอำเภอจอมทอง และฝั่งอำเภอฮอด ได้ขุดค้นพบโบราณวัตถุและหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์จำนวนมาก เช่น เครื่องมือหินกระเทาะแกนหินและสะเก็ดหิน ขวานหินขัด ชิ้นส่วน เครื่องประดับและภาชนะสำริด ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ ที่สำคัญคือ พบโครงกระดูกของมนุษย์ในสมัยยุคสำริด มีอายุระหว่าง 2,500 - 3,500 ปี ก่อนคริสตกาล

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 28 ก.ค. 53

เป็นช่องแคบเขาขาดที่มีหน้าผาหินขนาบลำน้ำ ทำให้เกิดหุบผาลึก ความลึกของหน้าผาวัดจากสะพาน ออบหลวงถึงระดับน้ำปกติประมาณ 32 เมตร ส่วนแคบสุด 2 เมตร ความยาวของช่องแคบประมาณ 300 เมตร ธรรมชาติได้สร้างสรรความน่าพิศวงให้กับแผ่นดินส่วนนี้อย่างมหัศจรรย์

คำว่า “อ๊อบ” หรือ “ออบ” เป็นภาษาท้องถิ่นหมายถึงช่องแคบ “หลวง” หมายถึง ใหญ่ “ออบหลวง” คือชื่อเฉพาะที่ใช้เรียกช่องแคบหินขนาดยักษ์ที่มีลำน้ำแม่แจ่มบีบตัวแทรกผ่านไป อีกนัยหนึ่งคือ หุบเขา ที่มีสายธารไหลผ่าน (Canyon) ภายในออบ น้ำที่ตกไปกระทบแก่งหินละอองน้ำจะกระจายฟุ้งเสียงดังสนั่นหวั่นไหวตลอดเวลา ลานหินและโตรกผาที่ถูกน้ำอันเชี่ยวกรากกัดกร่อนปีแล้วปีเล่า ทำให้หินมีลักษณะเป็นลวดลายรูปร่างแปลกตาสวยงามมาก ทำให้ผู้ไปเยือนต้องพิศวงว่ากำแพงหินสูงใหญ่ที่ขวางลำน้ำอยู่นั้น แตกทะลุหรือแยกตัวให้น้ำผ่านไปได้อย่างไร
เป็นช่องแคบเขาขาดที่มีหน้าผาหินขนาบลำน้ำ ทำให้เกิดหุบผาลึก ความลึกของหน้าผาวัดจากสะพาน ออบหลวงถึงระดับน้ำปกติประมาณ 32 เมตร ส่วนแคบสุด 2 เมตร ความยาวของช่องแคบประมาณ 300 เมตร ธรรมชาติได้สร้างสรรความน่าพิศวงให้กับแผ่นดินส่วนนี้อย่างมหัศจรรย์

	คำว่า “อ๊อบ” หรือ “ออบ” เป็นภาษาท้องถิ่นหมายถึงช่องแคบ “หลวง” หมายถึง ใหญ่ “ออบหลวง” คือชื่อเฉพาะที่ใช้เรียกช่องแคบหินขนาดยักษ์ที่มีลำน้ำแม่แจ่มบีบตัวแทรกผ่านไป อีกนัยหนึ่งคือ หุบเขา ที่มีสายธารไหลผ่าน (Canyon) ภายในออบ น้ำที่ตกไปกระทบแก่งหินละอองน้ำจะกระจายฟุ้งเสียงดังสนั่นหวั่นไหวตลอดเวลา ลานหินและโตรกผาที่ถูกน้ำอันเชี่ยวกรากกัดกร่อนปีแล้วปีเล่า ทำให้หินมีลักษณะเป็นลวดลายรูปร่างแปลกตาสวยงามมาก ทำให้ผู้ไปเยือนต้องพิศวงว่ากำแพงหินสูงใหญ่ที่ขวางลำน้ำอยู่นั้น แตกทะลุหรือแยกตัวให้น้ำผ่านไปได้อย่างไร

ถูกใจ แชร์