“ แสดงความเป็นมา งานไปรษณีย์ไทย  จัดแสดงแสตมป์ไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และแสตมป์ของประเทศสมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์ ”

ในราวปี พ.ศ.2410 ปลายรัชสมัยแผ่นดินรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยได้มีการติดต่อค้าขายและสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศมากขึ้น มีสถานกงสุลต่างประเทศเข้ามาตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ หลายแห่ง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับชาวต่างประเทศในเรื่องธุรกิจการค้า การศาสนา มีความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นกว่ากาลก่อน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องติดต่อส่งข่าวไปมากับต่างประเทศมากขึ้น กงสุลอังกฤษเห็นความ จำเป็นดังกล่าวนี้ จึงได้จัดการเปิดรับบรรดาจดหมาย เพื่อส่งไปมาติดต่อกับต่างประเทศขึ้น โดยใช้สถานที่ตึกยามท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาหลังกงสุลอังกฤษ เปิดทำการโดยใช้ตราไปรษณียากรของสหพันธรัฐมลายาและอินเดีย ซึ่งพิมพ์อักษร “B” ประทับลงบนดวงตราไปรษณียากรนั้น ๆ แทนคำว่า “Bangkok” จำหน่ายแก่ผู้ต้องการส่งจดหมายไปต่างประเทศ แล้วส่งจดหมายเหล่านั้นไปประทับตราวันที่ที่สิงคโปร์ โดยฝากไปกับเรือค้าขายภายใต้ร่มธงอังกฤษ เพื่อให้ที่ทำการไปรษณีย์สิงคโปร์จัดส่งจดหมายนั้นไป ปลายทาง (การรับส่งจดหมายของกงสุลนี้ได้มีมาช้านานจนกระทั่ง พ.ศ.2425 จึงได้เลิกไป)

การเริ่มงานไปรษณีย์ติดต่อต่างประเทศโดยกงสุลอังกฤษเป็นผู้จัดการนี้คงจะยังความ สนใจให้บังเกิดขึ้นแก่ประชาชนชาวไทยหาน้อยไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ และ ขุนนางผู้ใหญ่ดังจะเห็นได้จากการสื่อสารในรูปการไปรษณีย์ที่เกิดขึ้นในระหว่างปี พ.ศ.2418 – 2419 ภายในพระบรมมหาราชวัง และเขตพระนครชั้นใน

ในปี พ.ศ.2418 มีพระบรมวงศานุวงศ์ประกอบด้วยเจ้านายรวม 11 พระองค์ ภายใต้การนำของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงร่วมกันออกหนังสือพิมพ์รายวันขึ้นฉบับหนึ่ง มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ “Court” และภาษาไทยว่า “ข่าวราชการ” เป็นหนังสือแจ้งข่าวความเคลื่อนไหว เกี่ยวด้วยข้อราชการและความเป็นไปภายในพระราชสำนัก ซึ่งได้พิมพ์ออกเป็นฉบับแรกเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2518 ความมุ่งหมายในการจัดพิมพ์หนังสือนี้ขึ้นแต่เดิม พระบรมวงศานุวงศ์กลุ่มนี้ได้ตั้ง พระหฤทัยที่จะผลัดเวรกันทรงนิพนธ์เรื่องที่สำหรับจะทูลเกล้าฯ ถวาย และบอกกันในหมู่เจ้านาย ครั้นเมื่อหนังสือพิมพ์ข่าวราชการปรากฏขึ้นไม่ช้าก็มีผู้สนใจต้องการพากันมาทูลขอมากขึ้น ต้องพิมพ์เป็นจำนวนมากฉบับกว่าที่ทรงคาดหมายไว้แต่เดิมหลายเท่า จึงจำต้องคิดราคาพอคุ้มทุนที่ลงไป

ส่วนการจำหน่ายนั้นชั้นเดิมผู้ต้องการต้องไปรับหนังสือที่สำนักงาน ณ หอนิเพทพิทยาคมในพระบรมมหาราชวังทุกวัน ต่อมาการไปรับหนังสือไม่พร้อมกันต้องเก็บหนังสือรอค้างไว้จ่ายเป็นจำนวนมาก จึงเป็นความจำเป็นอันหนึ่งที่ทำให้การไปรษณีย์เกิดขึ้น ผู้ทรงเป็นต้นคิดในการนี้ คือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระองค์ทรงโปรดให้มีบุรุษเดินหนังสือข่าวราชการส่งให้แก่สมาชิกขึ้นเรียกว่า “โปสตแมน” และเนื่องในการส่งหนังสือนี้จึงทรงโปรดให้มีตั๋ว “แสตมป์” ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยสำหรับใช้เป็นค่าเดินส่งหนังสือแล้วเลยทรงอนุญาตให้สมาชิกผู้รับหนังสือข่าวราชการ ซื้อตั๋วแสตมป์นั้นไปปิดจดหมายของตนในเมื่อต้องการให้บุรุษผู้เดินส่งหนังสือข่าวราชการนี้ช่วยเดินจดหมายให้

หนังสือข่าวราชการนี้ได้ออกมาชั่วระยะเวลาหนึ่ง และได้หยุดเลิกไปเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2419 จึงเป็นเหตุให้การส่งหนังสือและจดหมายถึงกันโดยทางไปรษณีย์พิเศษที่ได้จัดทำขึ้นในครั้งนั้นต้องยกเลิกไปด้วย

มีหลักฐานปรากฏในจดหมายเหตุของหลวงว่าประมาณกลางปี พ.ศ.2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราช (ข้าราชสำนักในต้นรัชกาลที่ 5) ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาต่อ พระบาทสมเด็จพระปรมิน ทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอให้ทรงพระราชดำริจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศไทย

ไปรษณียาคารที่ทำการไปรษณีย์แห่งแรกของไทย เรื่องการจัดตั้งการไปรษณีย์ตามที่เจ้าหมื่นเสมอใจราช ได้นำความกราบบังคมทูล คงจะต้องด้วยพระราชดำริของพระองค์ท่าน แต่ทรงเห็นว่าเป็นงานใหญ่ต้องใช้ทุนรอนมาก หากพลาดพลั้งไปจะเสียหายได้ ควรที่จะได้ศึกษาดูประเทศใกล้เคียงเพื่อเป็นประสบการณ์และแนวทางก่อน จึงโปรดฯ ให้เจ้าหมื่นเสมอใจราช เดินทางไปศึกษาดูงานการไปรษณีย์ที่ประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก็ได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดีและทรงมีพระราชดำริว่าสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงสนพระทัยและทรงเข้าใจเรื่องการไปรษณีย์ตั้งแต่เมื่อครั้งทรงออกหนังสือข่าวราชการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ เป็นผู้นำในการจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้น เมื่อ วันอาทิตย์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง ตรีศก จุลศักราช 1243 (ตรงกับวันที่ 2 กรกฎาคม 2424) โดยร่วมมือกับเจ้าหมื่นเสมอใจราช

การดำเนินการเพื่อจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศไทยได้ดำเนินต่อมาโดยได้มีชาว ต่างประเทศช่วยเหลือดำเนินการด้วยที่สำคัญคือ นายเฮนรี่ อาลาบาสเตอร์ จนกระทั่งในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2426 สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงมีหนังสือลงวันพฤหัสบดีแรม 14 ค่ำ เดือน 8 ปีมะแม เบญจศก 1245 กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงทราบว่าการเตรียมการต่าง ๆ เกือบจะเรียบร้อยแล้ว เห็นควรที่จะประกาศเปิดการไปรษณีย์ขึ้นในกรุงเทพฯ ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ปีมะแม เบญจศก 1245 (ตรงกับวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2426) และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มีกฎหมายแผ่นดินสำหรับการไปรษณีย์ขึ้นไว้เป็นหลักฐานตามความเห็นชอบของนายอาลาบาสเตอร์ ซึ่งได้เสนอหลักการไว้ และหลังจากทรงพระราชวินิจฉัยแล้วให้ใช้บังคับได้ จึงนับว่าเป็นกฎหมายไปรษณีย์ฉบับแรกของไทย

อย่างไรก็ตามในระยะเวลาใกล้เคียงกันนี้ สถานกงสุลอังกฤษซึ่งได้เปิดดำเนินการรับส่ง จดหมายระหว่างกรุงเทพฯ กับสิงคโปร์มาตั้งแต่ตอนปลายรัชกาลที่ 4 ได้มีหนังสือถึงรัฐบาลไทยลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2426 อ้างว่าข้าหลวงใหญ่ที่สิงคโปร์ ให้สอบถามรัฐบาลไทยเรื่องรัฐบาลสิงคโปร์ มลายู (Straits Settlement) ขอจัดตั้งไปรษณีย์สาขาของอังกฤษขึ้นที่กรุงเทพฯ รวมทั้งขอมีอำนาจสิทธิขาดในการจำหน่ายตราไปรษณียากร และรับฝากจดหมายติดต่อกับต่างประเทศทั้งหมด

โดยนายนิวแมน (Newman) รักษาการแทนกงสุลอังกฤษในขณะนั้นอ้างว่า นายปัลเดรฟ กงสุลอังกฤษได้พูดกับรัฐบาลไทยหลายครั้งแล้ว แต่ทางรัฐบาลไทยได้มีหนังสือ ลงวันจันทร์แรม 11 ค่ำ เดือน 8 ปีมะแม เบญจศก 1245 (ตรงกับวันที่ 30 กรกฎาคม 2426) ตอบกงสุลอังกฤษไปว่าไม่เคยเจรจากับ นายปัลเดรฟ เกี่ยวกับเรื่องนี้แต่อย่างใด และไม่อนุญาตให้รัฐบาลสิงคโปร์ มลายู จัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์สาขา เพราะรัฐบาลไทยกำลังจะเปิดการไปรษณีย์ขึ้นเร็ว ๆ นี้ เมื่อเปิดดำเนินการแล้ว จะได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพสากลไปรษณีย์ ด้วย

เมื่อการตระเตรียมวางระเบียบแบบแผนจนสำเร็จเรียบร้อย พร้อมที่จะเปิดใช้การได้แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมไปรษณีย์ขึ้นตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2426 เป็นปฐม มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ตึกใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เหนือปากคลองโอ่งอ่าง

และในวันเดียวกันนี้เอง (ซึ่งตรงกับวันเสาร์เดือนเก้า ขึ้นค่ำหนึ่ง ปีมะแม เบญจศก 1245) ก็ได้มีประกาศเปิดการไปรษณีย์ทดลองในกรุงเทพฯ โดยกำหนดให้มีบริการไปรษณีย์ภายในอาณาเขต ดังนี้คือ ด้านเหนือ ถึง สามเสนใน ด้านตะวันออก ถึง สระประทุม ด้านใต้ ถึง บางคอแหลม ด้านตะวันตก ถึง ตลาดพลู การเปิดบริการไปรษณีย์ในเขตกรุงเทพฯ ครั้งนี้ ปรากฏว่าเมื่อดำเนินการมาได้เดือนเศษ ปรากฏว่ามีผู้ใช้บริการมาก ได้ยังความชื่นชมสมพระราชหฤทัยมาก ดังจะเห็นได้จากกระแสพระราชดำรัส ซึ่งทรงพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้น้อย ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ราชทูตอเมริกัน และท่านเอเย่นต์ กอมิสแซ และกงสุลต่างประเทศ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2426 มีความตอนหนึ่งว่า “การไปรสนีย์ซึ่งได้เปิดใช้โดยส่งหนังสือในแขวงจังหวัดกรุงเทพฯ เสมอนั้น ก็เป็นที่แปลกใจของเรา ที่ไม่คิดว่าคนไทยจะใช้หนังสือกันถึงเพียงนี้ ทำให้เรามีความประสงค์ที่จะจัดการให้ได้ส่งหนังสือไปมาให้ได้ตลอดพระราชอาณาจักรสยามได้โดย เร็วจะเป็นประโยชน์ในการค้าขายแลทางราชการมาก แล้วภายหลังเราหวังใจว่าคงจะทำตามคำเชิญของท่านผู้จัดการไปรสนีย์ใหญ่ ในกรุงเยอรมนี ให้กรุงสยามเข้าจัดการส่งหนังสือไปมาได้ทั่วโลก คือ เข้าในหมู่พวกไปรสนีย์อันรวมกัน”


ข้อมูลจาก www2.thailandpost.co.th

พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร

แชร์

1549 ถนน พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 แผนที่

รีวิว 5 รายการ | ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,ศูนย์การเรียนรู้,พิพิธภัณฑ์

No hours available

02-271-2439

n/a

3000

แนะนำทริป

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 5 รายการ)

tao

รีวิวเมื่อ 31 พ.ค. 54


ถูกใจ แชร์

tao

รีวิวเมื่อ 31 พ.ค. 54


ถูกใจ แชร์

tao

รีวิวเมื่อ 31 พ.ค. 54


ถูกใจ แชร์

tao

รีวิวเมื่อ 31 พ.ค. 54


ถูกใจ แชร์

tao

รีวิวเมื่อ 31 พ.ค. 54


ถูกใจ แชร์

สถานที่ใกล้เคียง

วัดไผ่ตัน วัดไผ่ตัน (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.21 กิโลเมตร

ตลาดนัดสวนจตุจักร ตลาดนัดสวนจตุจักร (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.83 กิโลเมตร

สวนรถไฟ สวนรถไฟ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 2.61 กิโลเมตร

พิพิธภัณฑ์ หอเกียรติภูมิรถไฟ พิพิธภัณฑ์ หอเกียรติภูมิรถไฟ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 2.70 กิโลเมตร

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 3.39 กิโลเมตร

พิพิธภัณฑ์บ้านตุ๊กตาบางกอกดอลล์ พิพิธภัณฑ์บ้านตุ๊กตาบางกอกดอลล์ (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 3.81 กิโลเมตร

พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 4.01 กิโลเมตร

พิพิธภัณฑ์แร่ และหิน พิพิธภัณฑ์แร่ และหิน (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 4.17 กิโลเมตร

สยามนิรมิตกรุงเทพ สยามนิรมิตกรุงเทพ (รีวิว 5 รายการ)

ห่าง 4.24 กิโลเมตร

โรงแรมใกล้เคียง

ดิ ไอโคนิค โฮเทล อารีย์ จตุจักร ดิ ไอโคนิค โฮเทล อารีย์ จตุจักร (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.49 กิโลเมตร

เบสท์เวสเทิร์น จตุจักร เบสท์เวสเทิร์น จตุจักร (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.51 กิโลเมตร

โรมแรมสุดา พาเลซ โรมแรมสุดา พาเลซ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.58 กิโลเมตร

โรงแรม อลิซาเบธ โรงแรม อลิซาเบธ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.62 กิโลเมตร

บูทีค ผู้ใหญ่ลี แอท บีพี เพลส บูทีค ผู้ใหญ่ลี แอท บีพี เพลส (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.62 กิโลเมตร

บางกอก คอนโดเทล บางกอก คอนโดเทล (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.68 กิโลเมตร

คราฟต์แมน แบงค็อก คราฟต์แมน แบงค็อก (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.78 กิโลเมตร

สยามพาเลซ สยามพาเลซ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.85 กิโลเมตร

เอม่า เพลส เอม่า เพลส (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.25 กิโลเมตร

โรงแรม โกลด์ออร์คิด กรุงเทพ โรงแรม โกลด์ออร์คิด กรุงเทพ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.33 กิโลเมตร

ร้านอาหารใกล้เคียง

BURR everyday BURR everyday (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.29 กิโลเมตร

ร้านเกาะเสม็ด ร้านเกาะเสม็ด (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.29 กิโลเมตร

9 กุ้งอบ ปูอบ สุกี้ 9 กุ้งอบ ปูอบ สุกี้ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.29 กิโลเมตร

Annabell Cafe Annabell Cafe (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.29 กิโลเมตร

Ministry of Roasters Ministry of Roasters (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.29 กิโลเมตร

ร้านTrees and co ร้านTrees and co (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.29 กิโลเมตร

ชาม ก๋วยเตี๋ยวเส้นคลุก เจริญนคร ชาม ก๋วยเตี๋ยวเส้นคลุก เจริญนคร (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.29 กิโลเมตร

ป้าติ๊ดผัดไทกุ้งสด ป้าติ๊ดผัดไทกุ้งสด (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.29 กิโลเมตร

ห้องอาหารแพรว ห้องอาหารแพรว (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.29 กิโลเมตร

Wilden Coffee House Wilden Coffee House (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.29 กิโลเมตร