“วัดห้วยมงคล สักการะรูปปั้นหลวงปู่ทวดขนาดใหญ่ กลางแจ้ง”

วัดห้วยมงคล ตั้งอยู่ที่ ต.ทับใต้ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ แต่เดิมใช้ชื่อว่า“วัดห้วยคด” โดยอาศัยจาก ชื่อลำห้วยน้อยใหญ่ที่คดไปคตมา จึงนำมาใช้เป็นชื่อตั้งสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าเป็นโรงเรียน วัด หมู่บ้าน ในของห้วยคด ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จมาในปี พ.ศ.2495 ตั้งโครงการพระราชดำริแห่งแรกขึ้น และทรงได้พระราชทานนามใหม่จาก ห้วยคด เป็นห้วย “มงคล” ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นทั้งชื่อหมู่บ้าน วัด โรงเรียนและโครงการต่างๆอีกมากมาย

 วัดห้วยมงคลก่อตั้งในปี พ.ศ. 2507 จากที่พักสงฆ์เล็ก ๆ จนกระทั่งเป็นสำนักสงฆ์และเป็นวัดในเวลาต่อมา โดยมีหลวงพ่อปลั่ง ปภาโส เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดองค์แรกในปี พ.ศ. 2507 – 2534 ต่อมาเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 คือ พระครูปภัสสรวรพินิจ หรือพระอาจารย์ไพโรจน์ ได้ปกครองวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 จนถึงปัจจุบัน ได้ดำริที่จะสร้างหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ เพื่อสืบทอดและเผยแพร่ พระพุทธศานา โดยได้รับความอุปถัมภ์ จากท่าน พลเอกวิเศษ คงอุทัยกุล รองสมุหราชองครักษ์ ร่วมสร้างถวายเป็นพระราชกุศล แด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ ครบรอบ 72 พรรษา ในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ ทรงเสด็จมาเป็นประธาน หล่อเศียร ในวันที่ 10 มิถุนายน 2546 และทรงเสด็จมา กราบนมัสการหลวงพ่อทวด เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2547 ปัจจุบันวัดห้วยมงคล ยังเป็นสถานที่ เผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นที่อบรม ศีลธรรม แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา เช่น โครงการ เข้าค่ายพุทธบุตร และยังเป็นศูนย์รวมของพุทธศาสนิกชน ทั้งหลาย ที่มาสักการะบูชาได้เข้าถึงพระรัตนตรัย อีกด้วย


เที่ยวได้ตลอดทั้งปี

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 7 รายการ)

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 26 พ.ค. 55

ต่อมาไม่นาน..
หลวงปู่ทวดได้ทูลลาสมเด็จพระสังฆราชาธิบดี เพื่อรุกขมูลธุดงค์กลับยังภาคใต้ ซึ่งเป็นปิตุภูมิมาตุภูมิ สมเด็จพระสังฆราชาธิบดีก็อนุญาต ครั้นไปลาสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงอาลัยแต่ไม่กล้าทัดทานเพียงแต่ตรัสว่า 'สมเด็จเจ้า (หลวงปู่ทวด) อย่าละทิ้งโยม'

พระพุทธเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาส่งหลวงปู่ทวด จนสิ้นเขตพระนครกรุงศรีอยุธยา....

หลวงปู่ทวดได้จาริกรุกขมูลลงไปทางภาคใต้ บางแห่งต้องข้ามลำคลอง บางแห่งต้องเดินป่า มีเรื่องเล่าว่า ขณะเดินทางมาได้ ๓ เดือน จะข้ามแม่น้ำแห่งหนึ่ง ไม่มีเรือแพจะข้าม
สมเด็จจึงปาฏิหาริย์มาบนพื้นน้ำ บรรดาสัตว์น้ำต่างก็กราบไหว้วันทาทั่วกัน

ครั้นเดินป่า หลวงปู่ทวดก็ฉันผลไม้ในป่า ครั้นถึงบ้านคน หลวงปู่ทวดก็เข้าไปบิณฑบาต และเที่ยวเทศนาสั่งสอนผู้คนที่ไหนมีเจ็บไข้ได้ป่วย หลวงปู่ทวดก็ทำน้ำมนต์รักษาให้
และเสกด้ายมงคลผูกข้อมือให้เด็กๆ ด้วยในการเดินทางกลับนั้น เมื่อหลวงปู่ทวดได้ผ่านบ้านเมืองใด ที่ได้เคยเป็นผู้มีบุญคุณแก่หลวงปู่ทวด หลวงปู่ทวดก็จะแวะเยี่ยมเยียนทุกแห่ง ด้วยความกตัญญูู

เดินทางผ่านมาช้านาน จนเข้าเขตเมืองพัทลุง ซึ่งเวลานั้น ได้ย้ายตัวเมืองมาอยู่ที่สทิงพระแล้ว หลวงปู่ทวดได้แวะเข้าไปนมัสการสมเด็จพระชินเสน ผู้เป็นอาจารย์ซึ่งอยู่ที่วัดสีหยัง เมื่อพักอยู่หลายเพลา ควรแก่การแล้ว จึงอำลาเดินทางมาที่วัดกุฎีหลวง (วัดดีหลวง) ซึ่งเป็นปิตุภูมิมาตุภูมิ ได้นมัสการท่านอาจารย์จวง อันเป็นปฐมครู ในกาลครั้งนั้น บรรดาชาวบ้านที่เป็นญาติสนิทมิตรสหายต่างก็มีปีติยินดีเป็นล้นพ้น เพราะหลวงปู่ทวดเป็นเสมือนประทีปดวงเด่นมาตั้งแต่เยาว์ ยิ่งมีบุญบารมีถึงขั้นหลวงปู่ทวดด้วยแล้วทุกคนต่างก็มีความยินดี

เมื่อทราบข่าว ก็มักชวนกันมาเฝ้าชมบารมีกันเนืองแน่นเรื่อยมา จนกระทั่งได้มีการจัดงานสมโภชหลวงปู่ทวดขึ้น และปฏิบัติเรื่อยมา จนถึงทุกวันนี้

ข้อมูลจาก ร่มเงาพุทธฉัตร อาจารย์ศุภรัตน์ แสงจันทร์ ผู้เขียน

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 25 พ.ค. 55

เล่าต่อ....

หลวงปู่ทวด ได้พำนักอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานานหลายปี ทั้งนี้ เพราะเห็นว่า กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา

มีระยะหนึ่ง ได้เกิดไข้ห่าระบาดอย่างร้ายแรง ประชาชนล้มตายเป็นอันมาก พระเจ้าอยู่หัวทรงวิตกเป็นอันมากจึงดำรัสสั่งให้ขุนศรีธนญชัยไปนิมนต์หลวงปู่ทวดเข้ามาในพระบรมมหาราชวังเพื่อให้ช่วยเหลือแก้ไขความเจ็บป่วยของประชาชน

หลวงปู่ทวดจึงทำพิธีปลุกเสกน้ำพระพุทธมนต์ โดยระลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัยเพ่งเอาพระบารมีที่่สมเด็จสร้างสมมาช้านานเป็นที่ตั้ง พร้อมทั้งเอาดวงแก้ววิเศษเป็นแรงอธิษฐานด้วย

เมื่อทำน้ำมนต์เสร็จแล้วจึงให้กรมการนำไปประพรมแก่ประชาชนทั่วกรุงศรีอยุธยา ไม่ช้า....ไข้ห่าก็เบาบางและหายไปในที่สุด พระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงโสมนัสเป็นยิ่งนัก
วันหนึ่ง ทรงมีพระราชดำรัสว่าถ้าหลวงปู่ทวดประสงค์สิ่งใด หรือจะบูรณะวัดวาอารามใดๆ พระองค์จะทรงอุปถัมภ์ทุกประการ....

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 25 พ.ค. 55

บางตำราบอกว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงไทย คือ พระเอกาทศรถ
เพราะเหตุการณ์นี้น่าจะเกิด ประมาณพุทธศักราช 2149

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 25 พ.ค. 55

สุดยอดพระเกจิ 11 แผ่นดิน คือ
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พ.ศ. 2112-2133
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ. 2133-2148
สมเด็จพระเอกาทศรถ พ.ศ. 2148-2153
สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ พ.ศ. 2153-2154
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พ.ศ. 2154-2171
สมเด็จพระเชษฐาธิราช พ.ศ. 2171-2173
สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ พ.ศ. 2173-2173
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2173-2199
สมเด็จเจ้าฟ้าไชย พ.ศ. 2199-2199
สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา พ.ศ. 2199-2199
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2199-2231

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 25 พ.ค. 55

แก้ปริศนาธรรมกู้บ้านเมือง

ในสมัยนั้นประเทศลังกาอันมีพระเจ้าวัฏฏะคามินีครองราชเป็นเจ้าแผ่นดินมีพระประสงค์จะได้กรุงอโยธยาไว้ใต้พระบรมเดชานุภาพ แต่พระองค์ไม่มีประสงค์จะก่อสงครามให้เกิดการรบราฆ่าฟันกันให้ประชาชนข้าแผ่นดินเดือดร้อนจึงมีนโยบายอย่างหนึ่งที่สามารถจะเอาชนะประเทศอื่นโดยการท้าพนัน พระองค์จึงตรัสสั่งให้พนักงานพระคลังเบิกจ่ายทองคำในท้องพระคลังหลวงมอบให้แก่นายช่างทองไปจัดการหลอมหล่อเป็นตัวอักษรเท่าใบมะขามจำนวน ๘๔,๐๐๐ เมล็ด แล้วมอบให้แก่พราหมณ์ผู้เฒ่า ๗ คน พร้อมด้วยข้าวของอันมีค่าบรรทุกลงเรือสำเภา ๗ ลำ พร้อมด้วยพระราชสาสน์ให้แก่พราหมณ์ทั้ง ๗ นำลงเรือสำเภาใช้ใบแล่นไปยังกรุงอโยธยา เมื่อเรือสำเภาจอดท่ากรุงอโยธยาเรียบร้อยแล้ว พราหมณ์ทั้ง ๗ ได้พากันเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้ากรุงไทยและถวายสาสน์

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงไทยทรงอ่านพระราชสาสน์นความว่า พระเจ้ากรุงลังกาขอท้าพระเจ้ากรุงไทยให้ทรงแปลพระธรรมในเมล็ดทองคำและเรียบเรียงลำดับให้เสร็จภายใน ๗ วัน ถ้าแปลและเรียบเรียงได้ทันกำหนดพระเจ้ากรุงลังกาขอถวายข้าวของอันมีค่าทั้ง ๗ ลำเรือสำเภาเป็นบรรณาการแก่พระเจ้ากรุงไทย แต่ถ้าพระเจ้ากรุงไทยแปลเรียงเมล็ดทองคำไม่ได้ตามกำหนดให้พระเจ้ากรุงไทยจัดการถวายดอกไม้เงินและทองส่งเป็นราชบรรณาการแก่กรุงลังกาทุก ๆ ปีตลอดไป

เมื่อพระองค์ทรงทราบพระราชสาสน์อันมีข้อความดังนั้น จึงทรงจัดสั่งนายศรีธนญชัยสังฆการีเขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วประเทศให้เข้ามาแปลธรรมในพระมหานครทันกำหนด เมื่อประกาศไปแล้ว ๖ วัน ก็ไม่มีใครสามารถแปลเรียบเรียงเมล็ดทองคำนั้นได้ พระองค์ทรงปริวิตกยิ่งนักและในคืนวันนั้นพระองค์ทรงสุบินนิมิตว่ามีพระยาช้างเผือกผู้มาจากทิศตะวันตกขึ้นยืนอยู่บนพระแท่นในพระบรมมหาราชวังได้เปล่งเสียงร้องก้องดังได้ยินไปทั่วทั้งสี่ทิศ ทรงตกพระทัยตื่นบรรทมในยามนั้นและทรงพระปริวิตกในพระสุบินนิมิตเกรงว่าประเทศชาติจะเสียอธิปไตยและเสื่อมเสียพระบรมเดชานุภาพทรงพระวิตกกังวลไม่เป็นอันบรรทมจนรุ่งสาง เมื่อได้เสด็จออกยังท้องพระโรงสั่งให้โหรหลวงเข้าเฝ้าโดยด่วนและทรงเล่าสุบินนิมิตให้โหรหลวงทำนายเพื่อจะได้ทรงทราบว่าร้ายดีประการใด เมื่อโหรหลวงทั้งคณะได้พิจารณาดูยามในพระสุบินนิมิตนั้นละเอียดถี่ถ้วนดีแล้ว ก็พร้อมกันกราบถวายบังคมทูลว่าตามพระสุบินนิมิตนี้จะมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งมาจากทิศตะวันตกอาสาเรียงและแปลพระธรรมได้สำเร็จ พระบรมเดชานุภาพของพระองค์จะยั่งยืนแผ่ไพศาลไปทั่วทั้งสี่ทิศเมื่อพระองค์ทรงทราบแล้วก็คลายพระปริวิตกลงได้บ้าง

ด้วยเดชะบุญบันดาลในเช้าวันนั้นบังเอิญศรีธนญชัยไปพบหลวงปู่ทวดที่วัดราชานุวาส ได้สนทนาปราศรัยกันแล้วก็ทราบว่าท่านมาจากเมืองตะลุง ( พัทลุงเวลานี้ ) เพื่อศึกษาธรรม ศรีธนญชัยเล่าเรื่องกรุงลังกาท้าพนันให้แปลธรรม แล้วถามว่าท่านยังจะช่วยแปลได้หรือ หลวงปู่ทวดตอบว่าถ้าไม่ลองก็ไม่รู้ ศรีธนญชัยจึงนิมนต์ท่านเข้าเฝ้า ณ ที่ประชุมสงฆ์ ขณะที่หลวงปู่ทวดถึงประตูหน้าวิหาร ท่านย่างก้าวขึ้นไปยืนเหยียบบนก้อนหินศิลาแลง ทันทีนั้นศิลาแลงได้หักออกเป็นสองท่อนด้วยอำนาจอภินิหารเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก เมื่อเข้าไปในพระวิหารพระมหากษัตริย์ตรัสสั่งพนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่อันสมควร แต่ก่อนที่ท่านจะเข้านั่งที่แปลพระธรรมนั้นท่านได้แสดงกิริยาอาการเป็นปัญหาธรรมต่อหน้าพราหมณ์ทั้ง ๗ กล่าวคือ ท่าแรกท่านนอนลงในท่าสีหะไสยาสน์ แล้วลุกขึ้นนั่งทรงกายตรงแล้วกระเถิบไปข้างหน้า ๕ ที แล้วลุกขึ้นเดินเข้าไปนั่งในที่อันสมควร พราหมณ์ผู้เฒ่าทั้ง ๗ เห็นท่านแสดงกิริยาเช่นนั้นเป็นการขบขันก็พากันหัวเราะและพูดว่า นี่หรือพระภิกษุที่จะแปลธรรมของพระบรมศาสดา อะไรจึงแสดงกิริยาอย่างเด็กไร้เดียงสา พราหมณ์พูดดูหมิ่นท่านหลายครั้ง ท่านจึงหัวเราะ แล้วถามพราหมณ์ว่า

"ประเทศชาติบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน ท่านไม่เคยพบเห็นกิริยาเช่นนี้บ้างหรือ ?"
พราหมณ์เฒ่าฉงนใจก็นิ่งอยู่ ต่างนำบาตรใส่เมล็ดทองคำเข้าประเคนท่านทันที เมื่อหลวงปู่ทวดรับประเคนบาตรจากมือพราหมณ์มาแล้วท่านก็นั่งสงบจิตอธิษฐานแต่ในใจว่า "ขอบารมีแห่งพุทธะ คุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและอำนาจเทพยดาอันรักษาพระนครตลอดถึงเทวาอารักษ์ศักดิ์สิทธ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบัลดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่มาขัดขวางขอให้แปลพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์สำเร็จสมปรารถนาเถิด"

ครั้นแล้วท่านคว่ำบาตเททองเรี่ยราดลงบนพรม ด้วยพุทธานุภาพและอำนาจบารมีอภินิหารของท่านที่ได้จุติลงมาโปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนาประกอบกับโชคชะตาของประเทศชาติที่จะไม่เสื่อมเสียอธิปไตย ท่านก็ได้ลงมือเรียบเรียงและแปลอักษรในเมล็ดทองคำจำนวน ๘๔,๐๐๐ เมล็ด เป็นลำดับโดยสะดวกและไม่ติดขัดประการใดเลย ขณะที่หลวงปู่ทวดเรียงและแปลอักษรไปได้มากแล้วปรากฏว่าเมล็ดทองคำตัวอักษรขาดหายไป ๗ ตัว คือตัว สัง วิ ทา ปุ กะ ยะ ปะ ท่านจึงทวงถามเอาอักษรทองคำที่พราหมณ์ซ่อนไว้ในมวยผม พราหมณ์ทั้ง ๗ คนยอมจำนน จึงประเคนเมล็ดทองคำที่ตนซ่อนไว้นั้นให้แก่ท่านโดยดี ปรากฏว่าหลวงปู่ทวดแปลพระไตรปิฎกในเมล็ดทองคำสำเร็จบริบูรณ์ เป็นการชนะพราหมณ์ในเวลาเย็นของวันนั้น

สมเด็จพระเจ้ากรุงไทยทรงพระโสมนัสยินดีเป็นที่ยิ่งจึงตรัสสั่งถวายราชสมบัติให้หลวงปู่ทวดครอง ๗ วัน แต่ท่านไม่ยอมรับโดยให้เหตุผลว่าท่านเป็นสมณเพศไม่สมควรที่จะครองราชสมบัติอันผิดกิจของสมณควรประพฤติ พระองค์ก็จนพระทัยแต่พระประสงค์อันแรงกล้าที่จะสนองคุณความดีความชอบอันใหญ่ยิ่งให้แก่ท่านในครั้งนี้จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าทรงแต่งตั้งให้ดำรงสมณศักดิ์ ทรงพระราชทานนามว่า "พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์" ในเวลานั้น

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 25 พ.ค. 55

ปาฎิหาริย์เหยียบน้ำทะเลจืด

เมื่อครั้งที่หลวงปู่ได้เรียนจบชั้นธรรมบทที่วัดเสมาเมืองแล้วก็ได้ขอโดยสารเรือสำเภาของนายอินทร์ลงเรือที่ท่าเมืองจะทิ้งพระจะไปกรุงอโยธยาพระนครหลวงเพื่อศึกษาเล่าเรียนธรรมเพิ่มเติมอีก เรือสำเภาใช้ใบแล่นถึงเมืองนครศรีธรรมราช นายอินทร์เจ้าของเรือได้นิมนต์ขึ้นบกไปนมัสการพระบรมธาตุตามประเพณีชาวเรือเดินทางไกลซึ่งได้ปฏิบัติกันมาแต่กาลก่อน ๆ เพื่อขอความสวัสดีต่อการเดินทางทางทะเลแล้วพากันลงเรือสำเภาที่คลองท่าแพ เรือสำเภาใช้ใบสู่ทะเลหลวงเรียบร้อยตลอดมาเป็นระยะทาง ๓ วัน ๓ คืน วันหนึ่งท้องทะเลฟ้าวิปริตเกิดพายุ ฝนตกมืดฟ้ามัวดินคลื่นคะนองอย่างบ้าคลั่ง ทำให้เรือจะแล่นต่อไปก็ไม่ได้ จึงลดใบทอดสมอสู้คลื่นลมอยู่ถึง ๓ วัน ๓ คืน จนพายุสงบเงียบลงเป็นปกติ แต่เหตุการณ์บนเรือสำเภาเกิดความเดือดร้อนมากเพราะน้ำจืดที่ลำเลียงมาหมดลง คนเรือไม่มีน้ำจืดดื่มและหุงต้มอาหาร นายอินทร์เจ้าของเรือเป็นเดือดเป็นแค้นในเหตุการณ์ครั้งนั้นหาว่าเป็นเพราะหลวงปู่ทวดได้อาศัยมากับเรือจนเป็นเหตุทำให้เกิดเหตุการณ์วิปริต ซึ่งตนไม่เคยประสบเช่นนี้มาก่อน จึงบันดาลโทสะจึงไล่ให้หลวงปู่ลงจากเรือสำเภา หมายจะปล่อยให้ท่านไปตามยะถากรรม ขณะที่หลวงปู่ทวดกำลังลงนั่งอยู่ในเรือเล็กท่านได้เสี่ยงอธิษฐานบารมี หากว่าท่านจะได้เดินทางไปศึกษาพระธรรมต่อที่กรุงอโยธยาก็ขอให้น้ำทะเลที่ท่านเหยียบลงไปจืด เมื่อท่านอธิษฐานเสร็จแล้วท่านก็ยื่นเท้าลงเหยียบน้ำทะเลแล้วบอกให้ลูกเรือลองตักน้ำขึ้นดื่มกินดู ปรากฏว่าน้ำทะเลที่เค็มจัดตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำที่มีรสจืดสนิท ลูกเรือคนนั้นจึงร้องบอกขึ้นไปบนเรือใหญ่ให้เพื่อนทราบ พวกกะลาสีบนเรือใหญ่จึงพากันตักน้ำทะเลตรงนั้นขึ้นไปดื่มแก้กระหาย เป็นที่อัศจรรย์ในอภินิหารของพระภิกษุหนุ่มยิ่งนัก

ความทราบถึงนายอินทร์เจ้าของเรือจึงได้ดื่มน้ำพิสูจน์ดูปรากฏว่าน้ำทะเลที่จืดนั้นมีบริเวณอยู่จำกัดเป็นวงกลมประมาณเท่าล้อเกวียนนอกนั้นเป็นน้ำเค็มตามธรรมชาติของทะเลจึงสั่งให้ลูกเรือตักน้ำในบริเวณนั้นขึ้นบรรจุภาชนะไว้บนเรือจนเต็ม นายอินทร์และลูกเรือได้ประจักษ์ในอภินิหารของท่านก็เกิดความหวาดวิตกภัยพิบัติที่ตนได้กระทำไว้ต่อท่าน จึงได้นิมนต์ให้ท่านขึ้นบนเรือใหญ่แล้วพากันกราบไหว้ขอขมาโทษตามที่ตนได้กล่าวคำล่วงเกินต่อท่าน แล้วจึงถอนสมอเรือออกเดินทางมุ่งหน้าสู่กรุงอโยธยาด้วยความปลอดภัย

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 25 พ.ค. 55

ประวัติ
หลวงปู่ทวดเป็นบุตรของนายหูขาว มารดาชื่อว่า นางจันทร์ เกิดเมื่อ ปีมะโรง (งูใหญ่) เดือน ๔ วันศุกร์ พ.ศ. ๒๑๒๕ ที่บ้านสวนจันทร์ ปัจจุบันคือ ต.ชุมพล อ.จะทิ้งพระ(สทิงพระ)จ.สงขลา เวลาเกิดตอนเช้าเวลาตี ๕.๓๕ นาที หลวงปู่ทวดอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนาในเดือน ๖ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปี พ.ศ. ๒๑๔๕ เวลาก่อนพระอาทิตย์ขึ้นและได้ฉายาว่า "สามีราโม ภิกขุ" เมื่อบวชอยู่ในบวรพระพุทธศาสนาแล้ว หลวงปู่ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนที่วัดเสมาเมือง ๔ พรรษาจนเจนจบในพระธรรมบทต่างๆและออกเดินทางเพื่อไปศึกษาพระธรรมต่อที่กรุงอโยธยาเมื่อวันที่ ๕ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปี พ.ศ.๒๑๕๐

หลวงปู่ได้ไปศึกษาเล่าเรียนที่วัด “ราชานุวาส” ในเมืองอโยธยา เป็นระยะเวลา ๕ ปีนับได้ว่ามีความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัย ตลอดถึงคาถาอาคมต่างๆและได้สร้างคุนูปาการแก่เมืองอโยธยาจนได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็น “พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์”

เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยชราจึงได้ออกเดินธุดงค์เพื่อเผยแพร่หลักธรรมจนถึงวัดพะโคะและได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ขึ้นมาใหม่ เมื่อพระพุทธศาสนาได้ตั้งมั่นคงดีแล้วหลวงปู่ก็ออกเดินธุดงค์จนถึงเมืองไทรบุรีเพื่อเผยแพร่คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กับชาวบ้านในถิ่นนั้นๆเพื่อให้ชาวบ้านอยู่ในศีลในธรรม รู้จักบาปบุญคุณโทษ และได้ทำการสร้างและบูรณะวัด "โกนะไหน" ขึ้นมาเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนในละแวกนั้น

หลวงปู่ทวด ได้ละสังขารด้วยโรคชราในปลายรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2225 สิริอายุได้ 100 ปี นับพรรษาได้ 80 พรรษา

ถูกใจ แชร์

สถานที่ใกล้เคียง

ฟาร์มแกะดำหัวหิน ฟาร์มแกะดำหัวหิน (รีวิว 4 รายการ)

ห่าง 2.49 กิโลเมตร

สวนน้ำแบล็คเมาน์เทน สวนน้ำแบล็คเมาน์เทน (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 9.01 กิโลเมตร

โรงแรมใกล้เคียง

มายา พูลวิลล่า มายา พูลวิลล่า (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 5.31 กิโลเมตร

บ้านต้นรัก หัวหิน บ้านต้นรัก หัวหิน (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 5.36 กิโลเมตร

เดอะ ซี-เครท การ์เดนท์ หัวหิน เดอะ ซี-เครท การ์เดนท์ หัวหิน (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 5.61 กิโลเมตร

วิลล่า เดอ คอมฟอร์ท หัวหิน วิลล่า เดอ คอมฟอร์ท หัวหิน (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 5.97 กิโลเมตร

จิรา พูล วิลล่า จิรา พูล วิลล่า (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 5.99 กิโลเมตร

รินทร์ชนก รีสอร์ท รินทร์ชนก รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 6.76 กิโลเมตร

กอริลลา ฮิลส์ หัวหิน กอริลลา ฮิลส์ หัวหิน (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 7.53 กิโลเมตร

โรงแรม แมงโก้สปาแอนด์รีสอร์ท โรงแรม แมงโก้สปาแอนด์รีสอร์ท (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 8.64 กิโลเมตร

ทเวนตี้ทู พูลวิลล่า ทเวนตี้ทู พูลวิลล่า (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 8.90 กิโลเมตร

แบล๊คเมาเท่น หัวหิน รีสอร์ท แบล๊คเมาเท่น หัวหิน รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 9.03 กิโลเมตร

ร้านอาหารใกล้เคียง

ครัวเจ๊แหม่ม ครัวเจ๊แหม่ม (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.37 กิโลเมตร