“ตักบาตรพระทางน้ำ แห่องค์หลวงพ่อโต การประดับตกแต่งขบวนเรือ แข่งเรือ ประกวดร้องเพลง มวยทะเล จำหน่ายอาหาร และสินค้าต่างๆ 19 ต.ค. 2553 22 ต.ค. 2553 ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ”

ชาวจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกับชุมชนบางพลีจัดงานประเพณีรับบัวประจำปี 2553 เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นและกิจกรรมด้านพุทธศาสนาช่วง วันออกพรรษา ในระหว่างวันที่ 19 ต.ค. 2553 22 ต.ค. 2553 ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ประวัติงานประเพณีรับบัว ประเพณีรับบัวนี้ เป็นประเพณีที่เก่าแก่กันมาแต่โบราณ ของชาวบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ความเป็นมาของประเพณีดังกล่าวนี้ ประเพณีรับบัว เปรียบเสมือนสายใยแห่งความกลมเกลียว อันเป็นหนึ่งใจเดียวกันเสมอเพื่อนญาติ ระหว่างชาวไทย ชาวลาว ชาวรามัญ ที่พำนักอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มบารมีศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโต ณ อำเภอบางพลี สมุทรปราการ หล่อหลวมจิตวิญญาณ ของมิตรไมตรีเข้าไว้ด้วยกัน อย่างแน่นแฟ้น เพื่อกลายเป็นมิ่งมงคลแห่งชีวิตสืบต่อมาช้านาน ก่อกำเนิดสายน้ำสายแห่งชีวีสู่ประเพณีรับบัว ในครั้งอดีต ณ อำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ มีชาวบ้านจำนวนหนึ่ง ตั้งถิ่นฐานพำนักอยู่โดยแบ่งเป็น ชาวไทย ชาวลาว ชาวรามัญ ซึ่งประกอบสัมมาอาชีพแตกต่างกันออกไป ครึ่งหนึ่งได้ร่วมปรึกษาหารือ และมีความเห็นพ้องต้องกันว่าจะร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาพื้นที่รกร้าง เต็มไปด้วยป่ารกนี้ เพื่อใช้ประโยชน์ทำการเกษตร กล่าวคือในขณะนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นลำคลอง ล้วนรายรอบไปด้วย พงล้อ กอแขม และวัชพืชนานาพันธ์ อีดทั้งยังมีบรรดาสัตว์ อันตราย ในละแวกใกล้เคียงอีกด้วย ส่วนทางทิศใต้นั้นมีปาแสมล้อมรอบน้ำมีสภาพเป็นน้ำเค็มและส่วนทางทิศเหนือประกอบด้วยบึงใหญ่ที่มีบัวหลวงงอกงาม หนาแน่น อยู่ทั่วบริเวณ ชาวไทย ชาวลาว และชาวรามัญ จึงลงแรงร่วมใจ พัฒนาผืนดินบริเวณนั้นอย่างแข็งแรงเรื่อยมาจนกระทั่ง มาบรรจบ ทางสามแยก คือ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ที่ประกอบด้วยปากน้ำลำคลอง 3 สาย คือ คลองสลุด คลองชวดลาดข้าว และคลองลาดกระบัง ทั้ง 3 ฝ่าย จึงกระทำการตกลง และมีความเห็นว่า จะแยกย้ายกันไปประกอบอาชีพ ตามลำคลองทั้ง 3 สายนี้ ด้วยประสงค์จะทดลองเพื่อไม่รู้ถึงภูมิประเทศทั้งหมดว่า ที่ใด ทิศทางใด จะเหมาะสมสำหรับประกอบอาชีพ ทั้งด้านการขาย และเกษตรกรรมมากกว่ากัน จึงแยกย้ายกันไปดังนี้ ชาวไทยไปตามคลองชวดลาดข้าว ชาวลาวไปตามคลองสลุด และสุดท้ายชาวรามัญตามคลองลาดกระบัง จนกระทั่งระยะเวลา 2 3 ปี ถัดมา ชาวรามัญที่แยกไปประกอบอาชีพ ณ คลองลาดกระบัง เริ่มมีรายได้และผลผลิตที่ตกต่ำ เนื่องจากประสบปัญหาศัตรูพืช จำพวกนก และหนูชุมชน เข้ามาทำลายพืช สวนไร่ นา บังเกิด ความเสียหาย เป็นอันมาก จึงตัดสินใจที่จะอพยพโยกย้ายกลับถิ่นฐานเดิม คือฝั่งบ้านปากลัด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีกำหนดการเดินทางในช่วง ของวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑ พร้อมกันได้ชักชวนกันเก็บดอกบัวหลวงในบึงบริเวณใกล้เคียงเป็นจำนวนมากมาย เพื่อนเตรียมนำไปบูชาพระคาถาพัน ณ จุดหมายปลายทาง พร้อมกับได้บอกความปรารถนาต่อชาวไทยที่ใกล้ชิดสนิทสนมกันเป็นอย่างดีว่า เมื่อถึง ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑ ในปีต่อ ไปนั้น ขอให้ชาวไทยทั้งหลายช่วยกัน รวบรวมเก็บเอาดอกบัวหลวงไปไว้ ณ วัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) พร้อมมอบให้กับพวกตน (ชาวรามัญ) เพื่อนำไปเป็นดอกไม้สำหรับเป็นพุทธรูปในวันออกพรรษา ต่อไปด้วยน้ำใจไมตรี ของชาวไทย ที่มีต่อชาวรามัญเสมอมา จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะกระทำตามที่ชาวรามัญได้ร้องขอไว้ หลังจากนั้นชาวรามัญ จึงได้พากันกราบนมัสการหลวงพ่อโต อีกทั้งยังอัญเชิญน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ติดตัวด้วยเพื่อ ความเป็นสิริมงคล แล้วจึงได้ลากลับบ้านปากลัดเพื่อนำดอกบัวไปบูชาพระคาถาต่อไป ในปีต่อมาเมื่อครบกำหนดวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑ อีกครั้งชาวไทยจึงได้ช่วยกันเก็บรวบรวมดอกบัวหลวงมาไว้ ณ วัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) ตามสัญญาที่ได้ให้ไว้กับชาวรามัญ ซึ่งชาวรามัญได้เดินทางมารับดอกบัวเหล่านั้นในเวลา 3.00 4.00 นาฬิกา ทุกครั้ง ด้วยการโดยสารเรือขนาดใหญ่จำนวนหลายสิบลำ ซึ่งแต่ละลำสาสามารถบรรจุคนได้ถึง 50 60 คน และทุกครั้งที่เดินทางมานั้นชาวรามัญพร้อมใจกัน ส่งเสียงร้องรำทำเพลงล่องมาตามลำน้ำ เพื่อความคลื้นเครงสนุกสนานตลอดเส้นทาง แสดงถึงไมตรีจิตและมิตรภาพที่มอบให้กันเสมอมาพร้อมกันนี้ชาวไทยจึงได้จัดเตรียมสำรับคาวหวาน นานา ไว้รับรองอย่างเพียบพร้อม เมื่ออิ่มนำสำราญกันครบถ้วนแล้วชาวรามัญจึงนำดอกบัวหลวงไปบูชาหลวงพ่อโต ในวิหารของวัด และอัญเชิญน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์กลับไปยังบ้านเรือของตนเพื่อความเป็นสิริมงคล และนำดอกบัวอีกส่วนหนึ่งกลับไปบูชาพระคาถาพัน ณวัดของพวกตนเองต่อไป และด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นประวัติความเป็นมาของประเพณีรับบัว ประเพณีอันดีงามที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาอย่างช้านาน พิธีแห่หลวงพ่อโต เสริมมงคลให้ชีวิต พิธีการแห่ หลวงพ่อโต เมื่อครั้งอดีตในราวปี พศ. ๒๔๖๗ นางจันกับญาติธรรมบางส่วน ด้วยกุศลจิตอันดีงามได่ร่วมใจ กันสร้างพระปฐมเจดีย์ ขึ้น ณ วัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จึงจัดให้มีการฉลององค์พระปฐมเจดีย์ขึ้น ณ วัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงจัดให้มีการฉลององค์พระปฐมเจดีย์โดยผ้าครององค์พระปฐมเจดีย์นี้ไปตามลำน้ำ พร้อมีมหรสพสมโภช ในยามค่ำคืน อย่างครื้นเครง พิธีนี้กระทำสืบเนื้องได้สัก 2 3 ปี จึงได้หยุดไปด้วย เหตุใดไม่ปรากฎแน่บัดตั้งแต่ในกาล ต่อมาจึงได้เปลี่ยนเป็นการแห่รูปภาพจำลอง หลวงพ่อโต ขึ้นแทนโดยความอนุโมทนาธรรมของท่านสมภาพกุ่ย และนายฉาย งามขำ เป็นประธาน ฝ่ายชาวบ้านทั้งหลายในท้องถิ่นนั้นพิธีดังกล่าวจัดมาจนกระทั่ง ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ จึงได้จัดทำรูปหล่อองค์หลวงพ่อโต ซึ่งสร้างด้วยโครงไม้ปิดกระดาษทาทาบด้วยสีทอง แล้วนำมาแห่แทนแบบเดิม พร้อมจัดมหรสพเฉลิมฉลอง กันอย่างสนุกสนาน ต่อมาในปี ๒๔๘๗ สมัยพระครูพิศาล สมณวัตตต์ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) พร้อมด้วย พระครูวุฒิธรรมสุนทร ตำแหน่งรองเจ้าอาวาส ได้จัดให้ทำการหล่อรูปจำลอง หลวงพ่อโตขึ้นประเพณีรับบัว จะสืบเนื่องความสนุกสนานครึกครื้นเรื่อยมา โดยมีการละเล่นต่าง ๆ เพิ่มมาขึ้น เป็นการแข่งเรือพาย ชิงด้วยรางวัล การประกวดเรือประเภทสวยงาม ประเภทความคิดสร้างสรรค์และประเภทคลก ขบขัน การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านต่าง ๆ พร้อมมหรสพสมโภช อันน่าตื่นตาใจมากมาย และจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ล่วงไปถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ นับเป็นเวลา 4 วัน ทั้งนี้ ประเพณีรับบัว ที่มีช้านานนั้น อันเป็นเนื่องมาจาก ความร่วมมือร่วมใจ อย่างเต็มที่ของชาวบ้านในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ รวมทั้งจากการกุศลจิตอันแรงกล้า ทั่วทุกสารทิศที่พร้อมจะช่วยกันดำรงอยู่ไว้ด้วยเสน่ห์แห่งวิถีชีวิตอันดีงามนี้สืบไป


สอบถามเพิ่มเติม โทร 1672 พิธีรับบัวเริ่ม เวลา 7.00 น.

งานประเพณีรับบัว ประจำปี

แชร์

วัดบางพลีใหญ่ใน อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ

รีวิว 51 รายการ | เทศกาล

ไม่ทราบเวลาเปิดปิดที่แน่นอน

n/a

https://www.thai-tour.com/attraction/บางพลี/

8321

แนะนำทริป

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 51 รายการ)

Not identifiable

รีวิวเมื่อ 20 ส.ค. 54

ไปทุกครั่งเลยที่นี้

ถูกใจ แชร์

Not identifiable

รีวิวเมื่อ 26 ต.ค. 53

ปีนี้สนุกมากๆๆ

มีกิจกรรมให้เล่น

มากมายเลย

ชอบค่ะ

ถูกใจ แชร์

aeemtt

รีวิวเมื่อ 23 ต.ค. 53


ถูกใจ แชร์

aeemtt

รีวิวเมื่อ 23 ต.ค. 53


ถูกใจ แชร์

aeemtt

รีวิวเมื่อ 23 ต.ค. 53

ผู้ที่เดินทางมานั้นมาด้วยความศัทธา และมาเพื่อขอพร ให้มีแต่สิ่งดีๆๆ ที่เข้ามาในชีวิต
ผู้ที่เดินทางมานั้นมาด้วยความศัทธา และมาเพื่อขอพร ให้มีแต่สิ่งดีๆๆ ที่เข้ามาในชีวิต

ถูกใจ แชร์

aeemtt

รีวิวเมื่อ 23 ต.ค. 53


ถูกใจ แชร์

aeemtt

รีวิวเมื่อ 23 ต.ค. 53

เหล่าเทวดา ได้ขึ้นไปอยู่บนเรือ แล้ว พร้อมที่จะเคลื่อนไปเรื่อยๆๆ เพื่อให้ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาได้ โยนบัวไปบนเรือ
เหล่าเทวดา ได้ขึ้นไปอยู่บนเรือ แล้ว พร้อมที่จะเคลื่อนไปเรื่อยๆๆ เพื่อให้ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาได้ โยนบัวไปบนเรือ

ถูกใจ แชร์

aeemtt

รีวิวเมื่อ 23 ต.ค. 53


ถูกใจ แชร์

aeemtt

รีวิวเมื่อ 23 ต.ค. 53

เหล่าเทวดาที่จะขึ้นเรือลำที่มีหลวงพ่อโต เพื่อเข้ามากราบสักการะ ขอพรก่อนที่จะขึ้นเรือ
เหล่าเทวดาที่จะขึ้นเรือลำที่มีหลวงพ่อโต เพื่อเข้ามากราบสักการะ ขอพรก่อนที่จะขึ้นเรือ

ถูกใจ แชร์

aeemtt

รีวิวเมื่อ 23 ต.ค. 53


ถูกใจ แชร์

aeemtt

รีวิวเมื่อ 23 ต.ค. 53

ผู้คนส่วนใหญ่ที่มานี่จะนิยมขึ้นไปปิดทองให้กับพระพุทธรูป
ผู้คนส่วนใหญ่ที่มานี่จะนิยมขึ้นไปปิดทองให้กับพระพุทธรูป

ถูกใจ แชร์

aeemtt

รีวิวเมื่อ 23 ต.ค. 53

บริเวณภายใน
บริเวณภายใน

ถูกใจ แชร์

aeemtt

รีวิวเมื่อ 23 ต.ค. 53

ผุ้ที่มากราบสักการะ หลวงพ่อโต แล้วจะมาทำบุญ
ผุ้ที่มากราบสักการะ หลวงพ่อโต แล้วจะมาทำบุญ

ถูกใจ แชร์

aeemtt

รีวิวเมื่อ 23 ต.ค. 53

บริเวณทางเดินเข้าไปกราบเพื่อขอพรจากหลวงพ่อโต
บริเวณทางเดินเข้าไปกราบเพื่อขอพรจากหลวงพ่อโต

ถูกใจ แชร์

aeemtt

รีวิวเมื่อ 23 ต.ค. 53




ถูกใจ แชร์

Not identifiable

รีวิวเมื่อ 20 ต.ค. 53

ประเสริฐสิน ครับ

ข้องใจ เจอได้ รับ บัว 53 เรารอ คุณยุ๊

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

หากมางานรับบัวแล้ว ไม่ควรพลาดกับ
ตลาดน้ำโบราณบางพลี ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกัน


http://ไปไหนดี.com/blog-history-ตลาดน้ำโบราณบางพลี

 
หากมางานรับบัวแล้ว ไม่ควรพลาดกับ
	ตลาดน้ำโบราณบางพลี ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกัน

	
	http://ไปไหนดี.com/blog-history-ตลาดน้ำโบราณบางพลี

	 

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

หนุ่มสาวชาวรามัญ ประกวดในคืน วันที่ 13 ค่ำเดือน 11
หนุ่มสาวชาวรามัญ ประกวดในคืน วันที่ 13 ค่ำเดือน 11

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

ประกวดหนูน้อย
ประกวดหนูน้อย

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

งานยังไม่จบน่ะครับ  

ไฮไล้ท์อยู่ที่การประกวดต่างๆ ยามเย็นริมคลองสำโรง ณ ที่ทำการอำเภอ
งานยังไม่จบน่ะครับ	 

	ไฮไล้ท์อยู่ที่การประกวดต่างๆ ยามเย็นริมคลองสำโรง ณ ที่ทำการอำเภอ

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

ตลาดนัดภายในงาน
จะซื้อหรือทานอาหารอะไรในงาน

ผมแนะนำให้สอบถามราคาให้ชัดเจนก่อนซื้อ เน้อ...
ตลาดนัดภายในงาน
	จะซื้อหรือทานอาหารอะไรในงาน

	ผมแนะนำให้สอบถามราคาให้ชัดเจนก่อนซื้อ เน้อ...

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

ถังแตก...ก็เพียบเลย
ถังแตก...ก็เพียบเลย

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

ขนมครกสูตรโบราณ (ใส่ไข่) ของโปรดเลย!
ขนมครกสูตรโบราณ (ใส่ไข่) ของโปรดเลย!

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

ร้านไก่ย่าง
ร้านไก่ย่าง

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

เสร็จจากการไหว้พระ....
ของขายในงานเพียบ
ข้าวหลาม มีไม่น้อย
ไม้ไผ่ขนกันมาเป็นต้นๆ ปลอกและเผากันเห็นๆ
เสร็จจากการไหว้พระ....
	ของขายในงานเพียบ
	ข้าวหลาม มีไม่น้อย
	ไม้ไผ่ขนกันมาเป็นต้นๆ ปลอกและเผากันเห็นๆ

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

เครื่องสักการะบูชาดอกไม้พวงมาลัย
เครื่องสักการะบูชาดอกไม้พวงมาลัย

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

งานพิธีรับบัว อยู่หน้าทางเข้าวัด
งานพิธีรับบัว อยู่หน้าทางเข้าวัด

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

หรือไหว้พระในโบสถ์หลังเก่า อยู่ข้างๆ
พร้อมให้ประชาชนทำสังฆทาน กรวดน้ำให้ผู้ล่วงลับ
หรือไหว้พระในโบสถ์หลังเก่า อยู่ข้างๆ
	พร้อมให้ประชาชนทำสังฆทาน กรวดน้ำให้ผู้ล่วงลับ

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

ไหว้พระจุดธูปเทียนด้านนอก ปิดทองด้านใน
ไหว้พระจุดธูปเทียนด้านนอก ปิดทองด้านใน

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

หรือจะเลือกห่มจีวร องค์เล็กหน้าอุโบสถ
หรือจะเลือกห่มจีวร องค์เล็กหน้าอุโบสถ

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

วันนี้มากมายด้วยผู้คน และงานประเพณีรับบัว
วันนี้มากมายด้วยผู้คน และงานประเพณีรับบัว

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

หลวงพ่อโตในโบสถ์
หลวงพ่อโตในโบสถ์

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

ชมกิจกรรมต่างๆ แล้วอย่างลืมนมัสการหลวงพ่อโตในวัดด้วยเพื่อเป็นสิริมงคล ในวัดนี้องค์จริงครับ องค์ในเรือเป็นองค์ที่จำลองขึ้นมาสำหรับแห่
ชมกิจกรรมต่างๆ แล้วอย่างลืมนมัสการหลวงพ่อโตในวัดด้วยเพื่อเป็นสิริมงคล ในวัดนี้องค์จริงครับ องค์ในเรือเป็นองค์ที่จำลองขึ้นมาสำหรับแห่

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

มุมที่ผมยืนอยู่บนสะพานนี้เป็นมุมที่ดีที่สุดสำหรับถ่ายภาพ
เรือแข่ง วัด เจดีย์ บรรยายกาศริมน้ำ มุมกว้างของตลาดน้ำบางพลี ฯลฯ
สะพานนี้อยู่หน้าวัดหลวงพ่อโต
มุมที่ผมยืนอยู่บนสะพานนี้เป็นมุมที่ดีที่สุดสำหรับถ่ายภาพ
	เรือแข่ง วัด เจดีย์ บรรยายกาศริมน้ำ มุมกว้างของตลาดน้ำบางพลี ฯลฯ
	สะพานนี้อยู่หน้าวัดหลวงพ่อโต

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

ใช่ว่ามีแต่การแข่เรือ
ใช่ว่ามีแต่การแข่เรือ

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

บรรยากาศในงาน
บรรยากาศในงาน

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

ก่อนการแข่ง เรือพาย

--------------------------------

ชือเรือ และการบูชาแม่ย่านาง(หัวเรือ)ที่แตกต่างกัน
ก่อนการแข่ง เรือพาย

	--------------------------------

	ชือเรือ และการบูชาแม่ย่านาง(หัวเรือ)ที่แตกต่างกัน

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

เมื่อมีผู้ชนะย่อมมีผู้แพ้
เพียงเสี้ยววินาทีขณะเข้าเส้นชัย
ความรู้สักต่างกันเยอะ
เมื่อมีผู้ชนะย่อมมีผู้แพ้
	เพียงเสี้ยววินาทีขณะเข้าเส้นชัย
	ความรู้สักต่างกันเยอะ

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

ประมวลภาพการแข่งเรือ เมื่อเข้าเส้นชัย



แข่งเรือ

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

การแข่งเรือ แข่งทีละ 2 ทีม ขนาดไปตามลำคลอง
กำหนดเส้นชัยหน้าวัด
ผู้ชนะได้รางวัลพร้อมถ้วยพระราชทาน
การแข่งเรือ แข่งทีละ 2 ทีม ขนาดไปตามลำคลอง
	กำหนดเส้นชัยหน้าวัด
	ผู้ชนะได้รางวัลพร้อมถ้วยพระราชทาน

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

มีกิจกรรมมากมายในงานโดยเฉพาะวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11
ที่ไม่ควรพลาดคือ
การแข่งเรือ
การชมการประกวด สาวงาม-หนุ่มหล่อชาวรามัญ
--------------------
มีกิจกรรมมากมายในงานโดยเฉพาะวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11
	ที่ไม่ควรพลาดคือ
	การแข่งเรือ
	การชมการประกวด สาวงาม-หนุ่มหล่อชาวรามัญ
	--------------------

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

ความเป็นไปได้กรณีที่ 3 คือ
ตำบลบางพลีใหญ่ในเดิมเป็นตำบลที่มีดอกบัวมาก อำเภอต่างๆที่อยู่ใกล้เคียงเช่น อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง และอำเภอต่างๆที่อยู่ใกล้เคียง เมื่อถึงวาระต้องบำเพ็ญกุศลในเทศกาลออกพรรษาก็มาเก็บดอกบัวที่นี่ เพราะถือว่าดอกบัวเป็นดอกไม้ทางพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธเจ้าเวลาประทับนั่งยืน เดิน จะมีดอกบัวรองรับเสมอ อีกประการหนึ่งในเรื่องพระมาลัยได้กล่าวว่ามีชายเข็ญใจคนหนึ่งได้ถวายดอกบัวแก่พระมาลัย ยังไปเกิดเป็นเทพบุตรได้ ดังนั้นในสมัยโบราณคนจึงนิยมถวายดอกบัวแก่พระในวันออกพรรษาถือว่าได้บุญกุศลแรงมาก ถึงกับลงทุนนอนค้างอ้างแรมยังตำบลนี้เพื่อเก็บดอกบัว ในสมัยแรกๆ คงเที่ยวหาเก็บกันเองแต่ในสมัยต่อมาชาวบางพลีก็จะเตรียมเก็บไว้เพื่อเป็นการทำกุศลร่วมกันเท่านั้น
----------------------------------
ความเป็นไปได้กรณีที่ 3 คือ
	ตำบลบางพลีใหญ่ในเดิมเป็นตำบลที่มีดอกบัวมาก อำเภอต่างๆที่อยู่ใกล้เคียงเช่น อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง และอำเภอต่างๆที่อยู่ใกล้เคียง เมื่อถึงวาระต้องบำเพ็ญกุศลในเทศกาลออกพรรษาก็มาเก็บดอกบัวที่นี่ เพราะถือว่าดอกบัวเป็นดอกไม้ทางพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธเจ้าเวลาประทับนั่งยืน เดิน จะมีดอกบัวรองรับเสมอ อีกประการหนึ่งในเรื่องพระมาลัยได้กล่าวว่ามีชายเข็ญใจคนหนึ่งได้ถวายดอกบัวแก่พระมาลัย ยังไปเกิดเป็นเทพบุตรได้ ดังนั้นในสมัยโบราณคนจึงนิยมถวายดอกบัวแก่พระในวันออกพรรษาถือว่าได้บุญกุศลแรงมาก ถึงกับลงทุนนอนค้างอ้างแรมยังตำบลนี้เพื่อเก็บดอกบัว ในสมัยแรกๆ คงเที่ยวหาเก็บกันเองแต่ในสมัยต่อมาชาวบางพลีก็จะเตรียมเก็บไว้เพื่อเป็นการทำกุศลร่วมกันเท่านั้น
	----------------------------------

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

ความเป็นไปได้อีก กรณีที่ 2 คือ
ชาวรามัญที่ปากลัด (พระประแดง) มาทำนาอยู่ที่อำเภอบางพลี (ตำบลบางแก้ว) ซึ่งมีเรื่องเล่ากันว่าเป็นชาวรามัญที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย พร้อมกับเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนีย์) ในสมัยกรุงธนบุรี การอพยพของชาวรามัญครั้งนี้เนื่องจากพระเจ้ามังระ คิดจะมาตีกรุงธนบุรี จึงเกณฑ์พวกรามัญซึ่งเป็นเมืองขึ้นของพม่ามาช่วยรบ ชาวรามัญนั้นได้รับการกดขี่ข่มเหงจิตใจถูกฆ่าลูกเมีย ชาวรามัญจึงกบฏต่อพม่าโดยรวมตัวกันไปตีพม่าแต่สู้พม่าไม่ได้ ก็หนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารบารมีต่อพระเจ้าตากสินมหาราชและได้นำเอาปี่พาทย์มอญเข้ามาด้วยเมื่อปี พ.ศ. 2317 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พวกรามัญไปตั้งภูมิลำเนาที่ปากเกล็ด แขวงนนทบุรี และปากโคก แขวงปทุมธานี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชทรงโปรดเกล้าฯให้ย้ายครอบครัวชาวรามัญและพระยาเจ่ง มาอยู่ที่นครเขื่อนขันธ์(พระประแดง) ในปี พ.ศ. 2367 และต่อมาชาวรามัญได้ทำความดีความชอบได้รับพระราชทานที่นาที่บางพลี จึงเป็นเหตุให้ชาวรามัญมาทำนาที่บางพลี ชาวรามัญนั้นจะมาเฉพาะฤดูทำนา เมื่อเสร็จสิ้นการทำนาก็จะกลับที่ปากลัด เมื่อออกพรรษาชาวปากลัดที่มีเชื้อสายรามัญส่วนใหญ่เป็นผู้เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาก็จะกลับไปทำบุญที่วัดบ้านของตน เมื่อกลับก็จะไปเก็บดอกบัวที่ตำบลบางพลีใหญ่ซึ่งมีมากมายในสมัยนั้นไปประกอบเป็น "ดอกไม้ธูปเทียน" ในการทำบุญที่มีการเทศน์คาถาพันส่งท้ายพรรษา ครั้งแรกก็เก็บกันเองต่อมาชาวอำเภอบางพลีเห็นว่าชาวรามัญมาเก็บดอกบัวทุกปี ในปีต่อๆมาจึงเก็บดอกบัวเตรียมไว้ให้ตามนิสัยคนไทยที่ชอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ระยะแรกก็ส่งให้กับมือมีการไหว้ขอบคุณ ต่อมาเกิดความคุ้นเคยถ้าใกล้ก็ส่งมือต่อมือ ถ้าไกลก็โยนให้จึง เรียกว่า "รับบัว โยนบัว"
---------------------
ภาพ การเตรียมงานสองฝั่งคลอง
ความเป็นไปได้อีก กรณีที่ 2 คือ
	ชาวรามัญที่ปากลัด (พระประแดง) มาทำนาอยู่ที่อำเภอบางพลี (ตำบลบางแก้ว) ซึ่งมีเรื่องเล่ากันว่าเป็นชาวรามัญที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย พร้อมกับเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนีย์) ในสมัยกรุงธนบุรี การอพยพของชาวรามัญครั้งนี้เนื่องจากพระเจ้ามังระ คิดจะมาตีกรุงธนบุรี จึงเกณฑ์พวกรามัญซึ่งเป็นเมืองขึ้นของพม่ามาช่วยรบ ชาวรามัญนั้นได้รับการกดขี่ข่มเหงจิตใจถูกฆ่าลูกเมีย ชาวรามัญจึงกบฏต่อพม่าโดยรวมตัวกันไปตีพม่าแต่สู้พม่าไม่ได้ ก็หนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารบารมีต่อพระเจ้าตากสินมหาราชและได้นำเอาปี่พาทย์มอญเข้ามาด้วยเมื่อปี พ.ศ. 2317 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พวกรามัญไปตั้งภูมิลำเนาที่ปากเกล็ด แขวงนนทบุรี และปากโคก แขวงปทุมธานี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชทรงโปรดเกล้าฯให้ย้ายครอบครัวชาวรามัญและพระยาเจ่ง มาอยู่ที่นครเขื่อนขันธ์(พระประแดง) ในปี พ.ศ. 2367 และต่อมาชาวรามัญได้ทำความดีความชอบได้รับพระราชทานที่นาที่บางพลี จึงเป็นเหตุให้ชาวรามัญมาทำนาที่บางพลี ชาวรามัญนั้นจะมาเฉพาะฤดูทำนา เมื่อเสร็จสิ้นการทำนาก็จะกลับที่ปากลัด เมื่อออกพรรษาชาวปากลัดที่มีเชื้อสายรามัญส่วนใหญ่เป็นผู้เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาก็จะกลับไปทำบุญที่วัดบ้านของตน เมื่อกลับก็จะไปเก็บดอกบัวที่ตำบลบางพลีใหญ่ซึ่งมีมากมายในสมัยนั้นไปประกอบเป็น

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

ความเป็นมาของประเพณีรับบัว(โยนบัว)
ในสมัยก่อนในแถบอำเภอบางพลี มีประชากรอาศัยอยู่ 3 พวกคือ คนไทย รามัญ และลาว แต่ละพวกจะมีหัวหน้าคอยควบคุมดูแลและทำมาหากินในอาชีพต่างๆกัน ซึ่งชาวรามัญในสมัยนั้นจะขุดบ่อเลี้ยงปลาเป็นอาชีพต่อมาทั้งคนไทย รามัญและลาว ทั้ง 3 พวกก็ปรึกษาหารือกันว่าสมควรจะช่วยกันหักล้างถางพงให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อทำไร่ทำสวนต่อไป บริเวณนี้แต่ก่อนเต็มไปด้วยป่าพงอ้อ พงแขมและไม้นานาชนิดขึ้นเต็มไปหมด ฝั่งทางตอนใต้ของลำคลองสำโรงก็เต็มไปด้วยป่าแสม น้ำก็เป็นน้ำเค็ม ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายจากสัตว์ร้ายนานาชนิดทางฝั่งตอนเหนือก็เต็มไปด้วยบึงขนาดใหญ่ ภายในบึงแต่ละบึงก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยบัวหลวงมากมาย พวกคนไทย รามัญและลาว ก็พยายามหักล้างถางพงเรื่อยมาจนถึงทางแยก 3 ทางคือ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นคลองสลุด ทางเหนือเป็นคลองชวดลากข้าว และทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นคลองลาดกระบัง คนทั้ง 3

พวกก็ตกลงกันว่าควรจะแยกย้ายกันทำมาหากินคนละทางจะดีกว่าเพื่อที่จะได้รู้ภูมิประเทศว่าด้านไหนจะทำมาหากินได้คล่องดีกว่ากัน เมื่อตกลงดังนั้นแล้วจึงแยกทางกันไปทำมาหากิน โดยพวกลาวไปทางคลองสลุด ไทยไปทางคลองชวดลากข้าว พวกรามัญไปทางคลองลาดกระบัง พวกรามัญทำมาหากินอยู่ประมาณ 2-3 ปี ก็ไม่ได้ผลเพราะนก หนู ชุกชุมรบกวนพืชผลต่างๆจนเสียหายมากมาย เมื่อทำมาหากินไม่ได้ผลพวกรามัญก็ปรึกษาเตรียมตัวอพยพกลับถิ่นเดิมที่ปากลัด (พระประแดง) เริ่มอพยพกันในตอนเช้ามืดของเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ก่อนไปก็ได้ไปเก็บดอกบัวในบึงบริเวณนี้มากมาย คนไทยที่คุ้นเคยกับพวกรามัญก็ไต่ถามว่าเก็บดอกบัวไปทำไมมากมายเพียงนี้พวกรามัญก็บอกว่าจะเอาไปบูชาพระคาถาพัน (เทศน์มหาชาติ) ที่ปากลัด และได้สั่งเสียกับคนไทยที่รักและสนิทสนมชิดชอบว่าในปีต่อมาเมื่อถึงเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ให้ช่วยเก็บดอกบัวรวบรวมไว้ที่วัดหลวงพ่อโตนี้ด้วยพวกตนจะมารับ ด้วยนิสัยคนไทยนั้นชอบโอบอ้อมอารีรักพวกพ้องจึงตอบตกลง จากนั้นพวกชาวรามัญก็นมัสการหลวงพ่อโตพร้อมทั้งขอน้ำมนต์หลวงพ่อโตไปเพื่อเป็นศิริมงคลและลากลับถิ่นฐานเดิมที่ปากลัดและนำดอกบัวไปบูชาพระคาถาพันปีต่อมาพอถึงกำหนดเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ คนไทยบางพลีก็รวบรวมดอกบัวไว้ที่วัดบางพลีใหญ่ตามคำขอร้องของชาวรามัญ พวกชาวรามัญก็จะมารับดอกบัวทุกปี การมาจะมาในเวลากลางคืน มาโดยเรือขนาดจุ 50-60 คน จะมาถึงวัดประมาณตี 1-4 ของทุกครั้งที่มาและมีการตีฆ้องร้องเพลงตลอดทางอย่างสนุกสนาน พร้อมทั้งมีการละเล่นต่างๆในเรือ ผู้ที่คอยต้อนรับก็พลอยสนุกสนานไปด้วยไมตรีจิตอันดียิ่ง คนไทยได้ทำอาหารคาวหวานต่างๆเลี้ยงรับรองโดยใช้ศาลาวัดเป็นที่เลี้ยงอาหารกันเมื่ออิ่มหนำสำราญแล้วก็นำดอกบัวไปมนัสการหลวงพ่อโต จากนั้นก็นำดอกบัวกลับไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด
-------------------------------

ภาพ การเตรียมเรือขบวนแห่หลวงพ่อโต  
ความเป็นมาของประเพณีรับบัว(โยนบัว)
	ในสมัยก่อนในแถบอำเภอบางพลี มีประชากรอาศัยอยู่ 3 พวกคือ คนไทย รามัญ และลาว แต่ละพวกจะมีหัวหน้าคอยควบคุมดูแลและทำมาหากินในอาชีพต่างๆกัน ซึ่งชาวรามัญในสมัยนั้นจะขุดบ่อเลี้ยงปลาเป็นอาชีพต่อมาทั้งคนไทย รามัญและลาว ทั้ง 3 พวกก็ปรึกษาหารือกันว่าสมควรจะช่วยกันหักล้างถางพงให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อทำไร่ทำสวนต่อไป บริเวณนี้แต่ก่อนเต็มไปด้วยป่าพงอ้อ พงแขมและไม้นานาชนิดขึ้นเต็มไปหมด ฝั่งทางตอนใต้ของลำคลองสำโรงก็เต็มไปด้วยป่าแสม น้ำก็เป็นน้ำเค็ม ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายจากสัตว์ร้ายนานาชนิดทางฝั่งตอนเหนือก็เต็มไปด้วยบึงขนาดใหญ่ ภายในบึงแต่ละบึงก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยบัวหลวงมากมาย พวกคนไทย รามัญและลาว ก็พยายามหักล้างถางพงเรื่อยมาจนถึงทางแยก 3 ทางคือ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นคลองสลุด ทางเหนือเป็นคลองชวดลากข้าว และทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นคลองลาดกระบัง คนทั้ง 3

	พวกก็ตกลงกันว่าควรจะแยกย้ายกันทำมาหากินคนละทางจะดีกว่าเพื่อที่จะได้รู้ภูมิประเทศว่าด้านไหนจะทำมาหากินได้คล่องดีกว่ากัน เมื่อตกลงดังนั้นแล้วจึงแยกทางกันไปทำมาหากิน โดยพวกลาวไปทางคลองสลุด ไทยไปทางคลองชวดลากข้าว พวกรามัญไปทางคลองลาดกระบัง พวกรามัญทำมาหากินอยู่ประมาณ 2-3 ปี ก็ไม่ได้ผลเพราะนก หนู ชุกชุมรบกวนพืชผลต่างๆจนเสียหายมากมาย เมื่อทำมาหากินไม่ได้ผลพวกรามัญก็ปรึกษาเตรียมตัวอพยพกลับถิ่นเดิมที่ปากลัด (พระประแดง) เริ่มอพยพกันในตอนเช้ามืดของเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ก่อนไปก็ได้ไปเก็บดอกบัวในบึงบริเวณนี้มากมาย คนไทยที่คุ้นเคยกับพวกรามัญก็ไต่ถามว่าเก็บดอกบัวไปทำไมมากมายเพียงนี้พวกรามัญก็บอกว่าจะเอาไปบูชาพระคาถาพัน (เทศน์มหาชาติ) ที่ปากลัด และได้สั่งเสียกับคนไทยที่รักและสนิทสนมชิดชอบว่าในปีต่อมาเมื่อถึงเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ให้ช่วยเก็บดอกบัวรวบรวมไว้ที่วัดหลวงพ่อโตนี้ด้วยพวกตนจะมารับ ด้วยนิสัยคนไทยนั้นชอบโอบอ้อมอารีรักพวกพ้องจึงตอบตกลง จากนั้นพวกชาวรามัญก็นมัสการหลวงพ่อโตพร้อมทั้งขอน้ำมนต์หลวงพ่อโตไปเพื่อเป็นศิริมงคลและลากลับถิ่นฐานเดิมที่ปากลัดและนำดอกบัวไปบูชาพระคาถาพันปีต่อมาพอถึงกำหนดเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ คนไทยบางพลีก็รวบรวมดอกบัวไว้ที่วัดบางพลีใหญ่ตามคำขอร้องของชาวรามัญ พวกชาวรามัญก็จะมารับดอกบัวทุกปี การมาจะมาในเวลากลางคืน มาโดยเรือขนาดจุ 50-60 คน จะมาถึงวัดประมาณตี 1-4 ของทุกครั้งที่มาและมีการตีฆ้องร้องเพลงตลอดทางอย่างสนุกสนาน พร้อมทั้งมีการละเล่นต่างๆในเรือ ผู้ที่คอยต้อนรับก็พลอยสนุกสนานไปด้วยไมตรีจิตอันดียิ่ง คนไทยได้ทำอาหารคาวหวานต่างๆเลี้ยงรับรองโดยใช้ศาลาวัดเป็นที่เลี้ยงอาหารกันเมื่ออิ่มหนำสำราญแล้วก็นำดอกบัวไปมนัสการหลวงพ่อโต จากนั้นก็นำดอกบัวกลับไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด
	-------------------------------

	ภาพ การเตรียมเรือขบวนแห่หลวงพ่อโต  

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

ชาวบ้านในตลาดน้ำบางพลีเล่าให้ผมฟังว่า
หลวงพ่อโตนี่ ศักดิ์สิทธิ์มาก
หากได้มาในพิธีโยนบัว ขออะไร ก็ได้ทั้งนั้น ควรบนด้วยไข่ต้มถึงจะดี

อันนี้เป็นความเชื่อที่ช่วยจรรโลงวัฒนธรรมอันดีของชาวพุทธ(มอญ)ไว้ตลอดขนบธรรมเนียมต่างๆ ไทยทัวร์ขอร่วมอนุรัษณ์ประเพณีงามอันนี้ไว้ด้วย
--------------

ภาพ หลวงพ่อโตในขบวนเรือ วันที่ 13 ค่ำเดือน 11 ก่อนพีธีแห่ 1 วัน
ชาวบ้านในตลาดน้ำบางพลีเล่าให้ผมฟังว่า
	หลวงพ่อโตนี่ ศักดิ์สิทธิ์มาก
	หากได้มาในพิธีโยนบัว ขออะไร ก็ได้ทั้งนั้น ควรบนด้วยไข่ต้มถึงจะดี
	
	อันนี้เป็นความเชื่อที่ช่วยจรรโลงวัฒนธรรมอันดีของชาวพุทธ(มอญ)ไว้ตลอดขนบธรรมเนียมต่างๆ ไทยทัวร์ขอร่วมอนุรัษณ์ประเพณีงามอันนี้ไว้ด้วย
	--------------

	ภาพ หลวงพ่อโตในขบวนเรือ วันที่ 13 ค่ำเดือน 11 ก่อนพีธีแห่ 1 วัน

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

นักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่ก็มาไหว้หลวงพ่อโต เป็นประจำทุกปี
นักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่ก็มาไหว้หลวงพ่อโต เป็นประจำทุกปี

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

กฏระเบียบต่างๆ จากทาง เจ้าอาวาสวัด
กฏระเบียบต่างๆ จากทาง เจ้าอาวาสวัด

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

ในการจัดงานประเพณีรับบัวมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ มีการแห่หลวงพ่อโต ซึ่งแต่เดิมยังมิได้มีการแห่ดังเช่นสมัยนี้ ในราวปี พ.ศ. ๒๔๖๗ นางจั่นกับพวกได้พร้อมใจกันสร้างพระปฐมเจดีย์ขึ้น ในวัดบางพลีใหญ่ใน เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็จัดให้มีการฉลองโดยแห่องค์พระปฐมเจดีย์นี้ตามลำคลอง แล้วกลับมาห่มองค์พระปฐมเจดีย์กลางคืนก็จัดให้มีมหรสพสมโภช แห่ไปได้ 2-3 ปี ก็หยุดไปด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ซึ่งเชื่อว่าการแห่ผ้าห่อองค์พระปฐมเจดีย์นี้ได้รับแบบอย่างมาจากการแห่ผ้าห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ของอำเภอเมืองสมุทรปราการ ต่อมาก็มีการแห่รูปหลวงพ่อโตแทน โดยความเห็นชอบของท่านสมภารกุ่ย และนายฉลวย งามขำ แห่รูปภาพของหลวงพ่อโตมาหลายปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2485 ก็มีการทำหุ่นจำลองหลวงพ่อโต สานด้วยโครงไม้ปิดกระดาษทาสีทอง แล้วนำแห่แทนรูปภาพของหลวงพ่อโต ซึ่งสร้างโดยนายไสว โตเจริญ ตกกลางคืนก็มีงานมหรสพฉลองกันอย่างครึกครื้นจนถึงสมัยพระครูพิศาลสมณวัตต์เป็นเจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่ในก็ได้จัดให้ทำการหล่อรูปหลวงพ่อจำลองขึ้น สำหรับแห่ตามลำคลองด้วยอลูมิเนียมใน พ.ศ. 2497 และปัจจุบันแห่โดยรูปหล่อจำลองหลวงพ่อโต (รูปปั้น) โดยจัดเป็นขบวนแห่ไปตามลำคลองสำโรงในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 เป็นการประกาศข่าวงานรับบัวให้ประชาชนทราบและวิธีนี้กลายเป็นประเพณีแห่หลวงพ่อโตก่อนวันงานรับบัว คือ วัน 13 ค่ำ เดือน 11 ตลอดจนถึงปัจจุบัน การแห่หลวงพ่อโตจึงเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีรับบัว ประชาชนที่อยู่สองฝั่งคลองสำโรงที่ขบวนแห่หลวงพ่อโตผ่านจัดประดับธงทิว ตกแต่งบ้านเรือนและตั้งโต๊ะหมู่บูชา พอเช้าวันรุ่งขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 มีการประกวดเรือประเภทต่างๆของตำบลใกล้เคียงและโรงเรียนส่งเข้าประกวด ซึ่งเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2500 มีการจัดประกวด ปัจจุบันการประกวดเรือมี 3 ประเภทด้วยกัน คือ ประเภทสวยงาม ประเภทความคิด และประเภทขบขันหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น.และงานจะสิ้นสุดลงเวลา 11.00 น. ของวันเดียวกัน ในบางปีจัดให้มีการประกวดเทพีการแข่งเรือ หรืออย่างอื่นแล้วแต่คณะกรรมการ จัดงานรับบัวแต่ละปีจะพิจารณาเห็นสมควร ส่วนการร้องรำทำเพลงไปตามลำน้ำดูหายๆไปจนปัจจุบันไม่มีแล้ว คงเที่ยวสนุกสนานกันตามบริเวณที่จัดให้มีมหรสพเท่านั้น
-------------------
ภาพ องค์หลวงพ่อโตในขบวนเรือแห่รับบัว
ในการจัดงานประเพณีรับบัวมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ มีการแห่หลวงพ่อโต ซึ่งแต่เดิมยังมิได้มีการแห่ดังเช่นสมัยนี้ ในราวปี พ.ศ. ๒๔๖๗ นางจั่นกับพวกได้พร้อมใจกันสร้างพระปฐมเจดีย์ขึ้น ในวัดบางพลีใหญ่ใน เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็จัดให้มีการฉลองโดยแห่องค์พระปฐมเจดีย์นี้ตามลำคลอง แล้วกลับมาห่มองค์พระปฐมเจดีย์กลางคืนก็จัดให้มีมหรสพสมโภช แห่ไปได้ 2-3 ปี ก็หยุดไปด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ซึ่งเชื่อว่าการแห่ผ้าห่อองค์พระปฐมเจดีย์นี้ได้รับแบบอย่างมาจากการแห่ผ้าห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ของอำเภอเมืองสมุทรปราการ ต่อมาก็มีการแห่รูปหลวงพ่อโตแทน โดยความเห็นชอบของท่านสมภารกุ่ย และนายฉลวย งามขำ แห่รูปภาพของหลวงพ่อโตมาหลายปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2485 ก็มีการทำหุ่นจำลองหลวงพ่อโต สานด้วยโครงไม้ปิดกระดาษทาสีทอง แล้วนำแห่แทนรูปภาพของหลวงพ่อโต ซึ่งสร้างโดยนายไสว โตเจริญ ตกกลางคืนก็มีงานมหรสพฉลองกันอย่างครึกครื้นจนถึงสมัยพระครูพิศาลสมณวัตต์เป็นเจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่ในก็ได้จัดให้ทำการหล่อรูปหลวงพ่อจำลองขึ้น สำหรับแห่ตามลำคลองด้วยอลูมิเนียมใน พ.ศ. 2497 และปัจจุบันแห่โดยรูปหล่อจำลองหลวงพ่อโต (รูปปั้น) โดยจัดเป็นขบวนแห่ไปตามลำคลองสำโรงในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 เป็นการประกาศข่าวงานรับบัวให้ประชาชนทราบและวิธีนี้กลายเป็นประเพณีแห่หลวงพ่อโตก่อนวันงานรับบัว คือ วัน 13 ค่ำ เดือน 11 ตลอดจนถึงปัจจุบัน การแห่หลวงพ่อโตจึงเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีรับบัว ประชาชนที่อยู่สองฝั่งคลองสำโรงที่ขบวนแห่หลวงพ่อโตผ่านจัดประดับธงทิว ตกแต่งบ้านเรือนและตั้งโต๊ะหมู่บูชา พอเช้าวันรุ่งขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 มีการประกวดเรือประเภทต่างๆของตำบลใกล้เคียงและโรงเรียนส่งเข้าประกวด ซึ่งเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2500 มีการจัดประกวด ปัจจุบันการประกวดเรือมี 3 ประเภทด้วยกัน คือ ประเภทสวยงาม ประเภทความคิด และประเภทขบขันหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น.และงานจะสิ้นสุดลงเวลา 11.00 น. ของวันเดียวกัน ในบางปีจัดให้มีการประกวดเทพีการแข่งเรือ หรืออย่างอื่นแล้วแต่คณะกรรมการ จัดงานรับบัวแต่ละปีจะพิจารณาเห็นสมควร ส่วนการร้องรำทำเพลงไปตามลำน้ำดูหายๆไปจนปัจจุบันไม่มีแล้ว คงเที่ยวสนุกสนานกันตามบริเวณที่จัดให้มีมหรสพเท่านั้น
	-------------------
	ภาพ องค์หลวงพ่อโตในขบวนเรือแห่รับบัว

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

ต่อมาสมัยนายชื้น วรศิริ (เพชรบูรณะ วรศิริ) เป็นนายอำเภอบางพลี ระหว่าง พ.ศ. 2473-2481 ประเพณีรับบัวมีทีท่าว่าจะเสื่อมสูญไปนั้น ได้กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง เมื่อได้หารือกับพ่อค้าคหบดีตลอดจนข้าราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางอำเภอบางพลีจึงได้ตกลงกันดำเนินการจัดงานประเพณีรับบัวขึ้นคือ เริ่มงานวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 และรุ่งขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันรับบัวอันเป็นครั้งแรกที่ทางราชการเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเพณีรับบัวของชาวบางพลี
ในการจัดงานประเพณีรับบัวของทางราชการอำเภอบางพลี มีการแต่งเรือประกวด เริ่มมีมาเมื่อ พ.ศ. 2480 (แต่ก่อนชาวต่างถิ่นจะตกแต่งเรือมาเพียงเพื่อความสวยงามแต่ไม่มีการประกวด) ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ช่วยกันหาดอกบัวแจกข้าวต้มมัดแก่แขกต่างบ้านและผู้จัดเรือประกวดในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ประชาชนต่างถิ่นและชาวอำเภอบางพลีจะลงเรือล่องไปตามลำคลองสำโรง ร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนานร่วมกัน ชาวบางพลีจะจัดสุราอาหารไว้ต้อนรับแขกต่างบ้าน ชาวต่างถิ่นคนใดรู้จักมักคุ้นกับชาวอำเภอบางพลีคนใดบ้านใดก็จะพากันไปเยี่ยมเยือน สนุกสนานกับชาวบางพลีบ้านนั้นจนรุ่งเช้า วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ต่างก็จะพากันไปดูการประกวดที่คลองสำโรงหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี
ต่อมาสมัยนายชื้น วรศิริ (เพชรบูรณะ วรศิริ) เป็นนายอำเภอบางพลี ระหว่าง พ.ศ. 2473-2481 ประเพณีรับบัวมีทีท่าว่าจะเสื่อมสูญไปนั้น ได้กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง เมื่อได้หารือกับพ่อค้าคหบดีตลอดจนข้าราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางอำเภอบางพลีจึงได้ตกลงกันดำเนินการจัดงานประเพณีรับบัวขึ้นคือ เริ่มงานวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 และรุ่งขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันรับบัวอันเป็นครั้งแรกที่ทางราชการเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเพณีรับบัวของชาวบางพลี
	ในการจัดงานประเพณีรับบัวของทางราชการอำเภอบางพลี มีการแต่งเรือประกวด เริ่มมีมาเมื่อ พ.ศ. 2480 (แต่ก่อนชาวต่างถิ่นจะตกแต่งเรือมาเพียงเพื่อความสวยงามแต่ไม่มีการประกวด) ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ช่วยกันหาดอกบัวแจกข้าวต้มมัดแก่แขกต่างบ้านและผู้จัดเรือประกวดในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ประชาชนต่างถิ่นและชาวอำเภอบางพลีจะลงเรือล่องไปตามลำคลองสำโรง ร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนานร่วมกัน ชาวบางพลีจะจัดสุราอาหารไว้ต้อนรับแขกต่างบ้าน ชาวต่างถิ่นคนใดรู้จักมักคุ้นกับชาวอำเภอบางพลีคนใดบ้านใดก็จะพากันไปเยี่ยมเยือน สนุกสนานกับชาวบางพลีบ้านนั้นจนรุ่งเช้า วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ต่างก็จะพากันไปดูการประกวดที่คลองสำโรงหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

วันที่เป็นวันสำคัญที่ไม่ควรพลาด จริงๆ คือ 2 วันสุดท้ายของงาน คือ
วันขึ้น 13 ค่ำ และ 14 ค่ำ เดือน 11
วันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันที่มีงานมโหสพ การประกวดต่างๆ ดนตรี เฮฮาตลอดคืน ก่อนจะมีพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการโดยผู้ใหญ่ อาจเป็นรัฐมนตรี และผู้ว่าจังหวัด

ตั้งแต่ตอนเย็นวันขึ้น 13 ค่ำ ชาวอำเภอบางพลี อำเภอเมืองสมุทรปราการ ชาวพระประแดง และชาวต่างถิ่นจะชักชวนพวกเพื่อนฝูงลงเรือพร้อมด้วยเครื่องดนตรีนานาชนิดเช่น ซอ ปี่ กระจับ โทน รำมะนาโหม่ง กรับ ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น พายกันไปร้องรำทำเพลงกันไปซึ่งบางพวกจะผ่านมาทางลำน้ำเจ้าพระยา บางพวกจะผ่านมาทางลำคลองอื่นๆเข้าคลองสำโรงและมุ่งหน้ามายังหมู่บ้านบางพลีใหญ่สำหรับชาวบางพลีนั้นจะถือปฏิบัติกันเป็นประเพณีว่าเมื่อถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ก็จะต้องเตรียมหาดอกบัวหลวง สำหรับมอบให้แก่ชาวบ้านที่ต้องการและมิตรต่างถิ่นมาเยือนในโอกาสเช่นนี้ ก็คงแสดงมิตรจิตออกต้อนรับ จัดหาสุราอาหารมาเลี้ยงดูกันตั้งแต่ตอนค่ำของวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ส่วนพวกที่มารับบัวคนใดรู้จักมักคุ้นกับชาวบางพลีผู้เป็นเจ้าของบ้าน ก็จะพาขึ้นไปเยี่ยมเยือนบ้านนั้นบ้านนี้ และต่างก็สนุกสนานร้องรำทำเพลงและร่วมรับประทานอาหารสุรากันตลอดคืน พอเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านต่างก็นำเรือของตนออกไปตามลำคลองสำโรงเพื่อไปขอรับบัวจากชาวบ้านบางพลีทั้งสองฝั่งคลอง การให้และการรับดอกบัวก็จะทำกันอย่างสุภาพ คือส่งและรับกันมือต่อมือ หรือก่อนให้จะยกมือพนมอธิษฐาน เสียก่อนระหว่างชาวบ้านบางพลีกับชาวต่างถิ่นที่สนิทสนมคุ้นเคยกันป็นพิเศษ บางทีชาวบางพลีก็จะโยนดอกบัวลงไปให้กันโดยไม่มีพิธีรีตอง เหตุที่มีการโยนบัวให้กัน แบบมือต่อมือจึงเลือนไปจนมีการนำไปพูดกันตอนหลังว่า รับบัว โยนบัว การรับดอกบัวของชาวต่างบ้านจากชาวบางพลีจะสิ้นสุดเมื่อเวลาประมาณ 08.00 น. หรือ 09.00 น. และชาวบ้านก็จะพากันกลับ ตอนขากลับจะมีการแข่งเรือกันไปด้วยแต่เป็นการแข่งขันโดยมีเส้นชัย ไม่มีกรรมการตัดสินและไม่มีการแบ่งประเภทหรือชนิดของเรือ ใครพอใจจะแข่งกับใครเมื่อไหร่ที่ใดก็แข่งกันไปหรือจะเปลี่ยนคู่เปลี่ยนคู่แข่งกันไปเรื่อยๆตามแต่จะตกลงกันดอกบัวที่ชาวต่างถิ่นรับจากชาวบางพลีไปนั้นจะนำไปบูชาในเทศกาลออกพรรษาตามวัดในหมู่บ้านของตน
ประเพณีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ครั้นนานมาชาวต่างถิ่นที่นำเรือมารับดอกบัวจากชาวบางพลีมีปริมาณลดลงเรื่อยๆ เสียงกระจับ ปี่ สีซอ กลองรำมะนา เสียงเพลงเสียงเฮฮาที่เคยเซ็งแซ่ตามลำคลองสำโรงในคืนวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ก็ค่อยๆเงียบหายไป  
วันที่เป็นวันสำคัญที่ไม่ควรพลาด จริงๆ คือ 2 วันสุดท้ายของงาน คือ
	วันขึ้น 13 ค่ำ และ 14 ค่ำ เดือน 11
	วันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันที่มีงานมโหสพ การประกวดต่างๆ ดนตรี เฮฮาตลอดคืน ก่อนจะมีพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการโดยผู้ใหญ่ อาจเป็นรัฐมนตรี และผู้ว่าจังหวัด
	
	ตั้งแต่ตอนเย็นวันขึ้น 13 ค่ำ ชาวอำเภอบางพลี อำเภอเมืองสมุทรปราการ ชาวพระประแดง และชาวต่างถิ่นจะชักชวนพวกเพื่อนฝูงลงเรือพร้อมด้วยเครื่องดนตรีนานาชนิดเช่น ซอ ปี่ กระจับ โทน รำมะนาโหม่ง กรับ ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น พายกันไปร้องรำทำเพลงกันไปซึ่งบางพวกจะผ่านมาทางลำน้ำเจ้าพระยา บางพวกจะผ่านมาทางลำคลองอื่นๆเข้าคลองสำโรงและมุ่งหน้ามายังหมู่บ้านบางพลีใหญ่สำหรับชาวบางพลีนั้นจะถือปฏิบัติกันเป็นประเพณีว่าเมื่อถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ก็จะต้องเตรียมหาดอกบัวหลวง สำหรับมอบให้แก่ชาวบ้านที่ต้องการและมิตรต่างถิ่นมาเยือนในโอกาสเช่นนี้ ก็คงแสดงมิตรจิตออกต้อนรับ จัดหาสุราอาหารมาเลี้ยงดูกันตั้งแต่ตอนค่ำของวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ส่วนพวกที่มารับบัวคนใดรู้จักมักคุ้นกับชาวบางพลีผู้เป็นเจ้าของบ้าน ก็จะพาขึ้นไปเยี่ยมเยือนบ้านนั้นบ้านนี้ และต่างก็สนุกสนานร้องรำทำเพลงและร่วมรับประทานอาหารสุรากันตลอดคืน พอเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านต่างก็นำเรือของตนออกไปตามลำคลองสำโรงเพื่อไปขอรับบัวจากชาวบ้านบางพลีทั้งสองฝั่งคลอง การให้และการรับดอกบัวก็จะทำกันอย่างสุภาพ คือส่งและรับกันมือต่อมือ หรือก่อนให้จะยกมือพนมอธิษฐาน เสียก่อนระหว่างชาวบ้านบางพลีกับชาวต่างถิ่นที่สนิทสนมคุ้นเคยกันป็นพิเศษ บางทีชาวบางพลีก็จะโยนดอกบัวลงไปให้กันโดยไม่มีพิธีรีตอง เหตุที่มีการโยนบัวให้กัน แบบมือต่อมือจึงเลือนไปจนมีการนำไปพูดกันตอนหลังว่า รับบัว โยนบัว การรับดอกบัวของชาวต่างบ้านจากชาวบางพลีจะสิ้นสุดเมื่อเวลาประมาณ 08.00 น. หรือ 09.00 น. และชาวบ้านก็จะพากันกลับ ตอนขากลับจะมีการแข่งเรือกันไปด้วยแต่เป็นการแข่งขันโดยมีเส้นชัย ไม่มีกรรมการตัดสินและไม่มีการแบ่งประเภทหรือชนิดของเรือ ใครพอใจจะแข่งกับใครเมื่อไหร่ที่ใดก็แข่งกันไปหรือจะเปลี่ยนคู่เปลี่ยนคู่แข่งกันไปเรื่อยๆตามแต่จะตกลงกันดอกบัวที่ชาวต่างถิ่นรับจากชาวบางพลีไปนั้นจะนำไปบูชาในเทศกาลออกพรรษาตามวัดในหมู่บ้านของตน
	ประเพณีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ครั้นนานมาชาวต่างถิ่นที่นำเรือมารับดอกบัวจากชาวบางพลีมีปริมาณลดลงเรื่อยๆ เสียงกระจับ ปี่ สีซอ กลองรำมะนา เสียงเพลงเสียงเฮฮาที่เคยเซ็งแซ่ตามลำคลองสำโรงในคืนวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ก็ค่อยๆเงียบหายไป  

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 10 ต.ค. 53

ประเพณีรับบัว โยนบัว
เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานของชาวบางพลี จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 และช่วงเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11

การจัดงานประกอบด้วยการนมัสการและขบวนแห่หลวงพ่อโต ทั้งทางบกและทางน้ำ การแข่งขันกิจกรรมพื้นบ้าน อาทิ การจัดพานดอกบัว มีการประกวดเรือประเภทต่างๆ และการแสดงการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เพลงเรือ

ในช่วงเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 จะเป็นงานประเพณีการรับบัวหรือโยนบัว โดยประชาชนจะโยนดอกบัวลงในเรือขบวนแห่พระพุทธรูปจำลองของหลวงพ่อโต ในขณะเดียวกันชาวบางพลีก็จะโยนบัวให้กับคนต่างบ้านที่พายเรือมาเที่ยวด้วย เพื่อเป็นการทำบุญร่วมกัน 
ประเพณีรับบัว โยนบัว
	เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานของชาวบางพลี จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 และช่วงเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11

	การจัดงานประกอบด้วยการนมัสการและขบวนแห่หลวงพ่อโต ทั้งทางบกและทางน้ำ การแข่งขันกิจกรรมพื้นบ้าน อาทิ การจัดพานดอกบัว มีการประกวดเรือประเภทต่างๆ และการแสดงการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เพลงเรือ

	ในช่วงเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 จะเป็นงานประเพณีการรับบัวหรือโยนบัว โดยประชาชนจะโยนดอกบัวลงในเรือขบวนแห่พระพุทธรูปจำลองของหลวงพ่อโต ในขณะเดียวกันชาวบางพลีก็จะโยนบัวให้กับคนต่างบ้านที่พายเรือมาเที่ยวด้วย เพื่อเป็นการทำบุญร่วมกัน 

ถูกใจ แชร์