“ปราสาทนครหลวง อยู่ริมแม่น้ำป่าสักฝั่งทิศตะวันออก  สร้างในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม  ”

ปราสาทนครหลวง เป็นตำหนักที่ประทับในระหว่างเสด็จไปพระพุทธบาทที่สระบุรีและเป็นที่ประทับแรมในระหว่างเสด็จลพบุรี สันนิษฐานว่า สร้างในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม แต่มาสร้างเป็นที่ประทับก่ออิฐถือปูน ในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ในแผ่นดินนี้พระองค์โปรดให้ช่างไปถ่ายแบบปราสาทศิลาที่เรียกว่า "พระนครหลวง"

ในกรุงกัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2147 มาสร้างใกล้วัดเทพจันทร์ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติที่ได้กรุงกัมพูชากลับมาเป็นประเทศราชอีก แต่สร้าง ไม่เสร็จสมบูรณ์ด้วยประการใดไม่ปรากฏ ต่อมาจึงมีผู้สร้างมณฑปและ พระบาทสี่รอยขึ้นบนปราสาทนี้ ส่วนตำหนักที่สร้างข้างปราสาทนี้ได้ปรักหักพังหมดแล้ว

 

การเดินทางไปอยุธยา

ทางรถยนต์

จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้หลายเส้นทางดังนี้

  • ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แล้วแยกเข้าทาง หลวงหมายเลข 32 แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) ข้ามสะพานนนทบุรี หรือสะพานนวลฉวี ไปยังจังหวัดปทุมธานี ต่อด้วยเส้นทาง ปทุมธานี-สามโคก-เสนา (ทางหลวง หมายเลข 3111) แล้วแยกขวาที่อำเภอเสนา เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3263 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปทุมธานีทางหลวงหมายเลข 306 ถึงทางแยก สะพานปทุมธานี เลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 347 แล้วไปแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 3309 ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางปะอิน เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

จากถนนสายเอเชียเลยทางเข้าตัวเมืองอยุธยา มุ่งสู่อ.นครหลวง(ทางไปจ.อ่างทอง) จะพบป้ายทางแยกขวามือ ไปอ.นครหลวง ขับรถต่อไปสู่อ.นครหลวง ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำ วัดและปราสาทนครหลวงอยู่ซ้ายมือติดริมแม่น้ำ (สังเกตุ ยอดวัดและปล่องโรงสีข้าวซ้ายมือ) จากแยกสะพานขับรถไปอีกไม่ถึง 400 เมตร จะพบวัดนครหลวงอยู่ซ้ายมือ ตรงข้ามคือปราสาทนครหลวง (จอดรถได้ที่วัดนครหลวง)

ทางรถโดยสารประจำทาง

กรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยา มีรถโดยสารทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ รถออกจากสถานีขนส่ง สายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 (หมอชิต 2) ทุกวันๆละหลายเที่ยว รถธรรมดาและรถปรับอากาศ สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 936-1972

ทางรถไฟ

สามารถใช้ขบวนรถโดยสารที่มีปลายทางสู่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในเขตอำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอภาชี ทางรถไฟจะแยกไปสายเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีชุมทางบ้านภาชี ในแต่ละวันจะมีรถไฟบริการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารขึ้นล่องวันละหลายเที่ยว นอกจากนี้ การรถไฟฯ ยังจัดขบวนรถจักรไอน้ำเดินระหว่างกรุงเทพฯ-สถานีอยุธยา-กรุงเทพฯ ในโอกาสพิเศษ ปีละ 4 ขบวน คือวันที่ 26 มีนาคม (วันสถาปนาการรถไฟและวันที่ระลึกถึงการเปิดทางรถไฟสายแรกที่เดินรถระหว่างกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2433) วันที่ 12 สิงหาคม (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ) วันที่ 23 ตุลาคม (วันปิยมหาราช เพื่อรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงให้กำเนิดกิจการรถไฟไทย) และวันที่ 5 ธันวาคม (วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) รายละเอียดสอบถาม หน่วยบริการเดินทางสถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทร. 02-223-7010, 02-223-7020

ทางเรือ

ปัจจุบันเป็นที่นิยมของชาวต่างประเทศมาก เพราะนอกจากจะได้ชมทัศนียภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ยังเป็นการย้อนให้เห็นประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาที่ประเทศไทยมีการค้าขายกับชาวต่างชาติ โดยเรือสำเภาต่างประเทศที่สัญจรในลำน้ำเจ้าพระยาในอดีต

 

ปราสาทนครหลวง

แชร์

ต.นครหลวง อ.นครหลวง จ.อยุธยา 13260 แผนที่

รีวิว 21 รายการ | ครอบครัว,ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,โบราณสถาน

ไม่ทราบเวลาเปิดปิดที่แน่นอน

035-246076

http://www.ayutthaya.net

10165

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 21 รายการ)

nongview

รีวิวเมื่อ 24 ส.ค. 53

ศาลาพระจันทร์ลอย ตั้งอยู่ห่างจากปราสาทนครหลวงประมาณ 90 เมตร
จากการดำเนินการขุดแต่งเมื่อปีพ.ศ.2534 พบแนวพื้นปูอิฐ
ทำให้ทราบว่าศาลาพระจันทร์ลอยสร้างคร่อมทับสิ่งก่อสร้างเก่าหลังหนึ่งและจากหลักฐานเอกสารสันนิษฐานว่า
ซากสิ่งก่อสร้างนั้น คือ ตำหนักนครหลวง
ซึ่งสมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดฯให้สร้างขึ้นเพื่อใช้ประทับร้อนระหว่างทางเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคไปน
มัสการพระพุทธบาทสี่รอย จังหวัดสระบุรี
แต่ก่อนมาจากสภาพซากตำหนักที่พระบาทสมเด็จพระจุมจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในระยะทางเสด็จประ
พาสมณฑลอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2421
ทำให้สันนิษฐานว่าตำหนักนครหลวงคงจะมีลักษณะเป็นตำหนักยาวอย่างพระที่นั่งจันทรพิศาลในพระนารายณ์ราชนิเวศ
น์ จังหวัดลพบุรี

ศาลาพระจันทร์ลอยที่เห็นกันในปัจจุบันเป็นอาคารจตุรมุข
เป็นของที่ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระปลัด (ปลื้ม)
ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระครูวิหารกิจจานุการอาคารทรงจตุรมุขดังกล่าวเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน
มีบันไดทางขึ้นเตี้ยภายในประดิษฐานพระจันทร์ลอยแผ่นศิลาที่ชาวบ้านเรียกกันว่า พระจันทร์ลอย
ซึ่งประดิษฐานอยู่ในมณฑปจตุรมุขนี้เดิมอยู่ที่วัดเทพพระจันทร์(ปัจจุบันชื่อวัดเทพพระจันทร์ลอย)
ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่พระวิหารกิจจานุการ
(ปลื้ม)ได้นำมาประดิษฐานไว้ที่อาคารหลังนี้พระจันทร์ลอยนี้เป็นแผ่นหินแกรนิตรูปวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2
เมตรหนา 6นิ้ว ด้านหน้าสลักเป็นรูปเจดีย์ 2 องค์ พระพุทธรูป 3 องค์


เจดีย์องค์หนึ่งเป็นรอยสลักอยู่เดิม
แต่เจดีย์อีกองค์หนึ่งและพระพุทธรูปสามองค์มีปูนปั้นพอกให้นูนเด่นออกมามากกว่าหน้าศิลาคงจะมีผู้ทำขึ้นภา
ยหลังด้านใต้มีรอยสลักลายตรงกลางมีรูปต่าง ๆ ที่ปรากฎชัดเป็นรูปปลา 2
ตัวเหมือนสัญลักษณ์ราศรีมีนต่อจากลายมาสลักเป็นลวดโค้งเหมือนรอยต้นพระบาทลายเหล่านี้ลบเลือนมากสันนิษฐาน
ได้ว่าแผ่นศิลาพระจันทร์ลอยนี้คือ ธรรมจักร ซึ่งยังทำไม่เสร็จ

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 24 ส.ค. 53

ศาลพระจันทร์ลอย ที่ตั้งอยู่ด้านหน้า ซึ่งมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอาคารจัตุรมุข ปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระปลัดปลื้ม หรือพระครูวิหาร-กิจจานุการได้นำแผ่นศิลาที่เรียกว่าพระจันทร์ลอยจากวัดเทพจันทร์ลอยมาประดิษฐานไว้ที่นี้
ศาลพระจันทร์ลอย ที่ตั้งอยู่ด้านหน้า ซึ่งมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอาคารจัตุรมุข ปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระปลัดปลื้ม หรือพระครูวิหาร-กิจจานุการได้นำแผ่นศิลาที่เรียกว่าพระจันทร์ลอยจากวัดเทพจันทร์ลอยมาประดิษฐานไว้ที่นี้

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 24 ส.ค. 53

คาถาบูชาศิลาพระจันทร์ลอย
คาถาบูชาศิลาพระจันทร์ลอย

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 24 ส.ค. 53

แผ่นหินพระจันทร์ลอย เป็นแผ่นหินแกรนิตทรงกลมดูคล้ายดวงจันทร์ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ม. หนา 6 นิ้ว บนแผ่นหินมีรูปแกะสลักที่ค่อนข้างดูยาก ด้านหนึ่งสลักเป็นรูปพระเจดีย์สององค์และพระพุทธรูปสามองค์ ส่วนอีกด้านหนึ่งสลักเป็นรูปปลาคล้ายสัญลักษณ์ราศีมีน ซึ่งชาวบ้านแถบนั้นต่างเชื่อกันว่าเป็นแผ่นหินศักดิ์สิทธิ์
แผ่นหินพระจันทร์ลอย เป็นแผ่นหินแกรนิตทรงกลมดูคล้ายดวงจันทร์ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ม. หนา 6 นิ้ว บนแผ่นหินมีรูปแกะสลักที่ค่อนข้างดูยาก ด้านหนึ่งสลักเป็นรูปพระเจดีย์สององค์และพระพุทธรูปสามองค์ ส่วนอีกด้านหนึ่งสลักเป็นรูปปลาคล้ายสัญลักษณ์ราศีมีน ซึ่งชาวบ้านแถบนั้นต่างเชื่อกันว่าเป็นแผ่นหินศักดิ์สิทธิ์

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 24 ส.ค. 53

พระตำหนักนครหลวง
ตั้งอยู่ด้านหน้าปราสาทนครหลวง มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอาคารจัตุรมุข ปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระปลัด (ปลื้ม) หรือพระครูวิหาร-กิจจานุการได้นำพระจันทร์ลอยจากวัดเทพจันทร์ลอย ต. พระจันทร์-ลอย อ. นครหลวง ซึ่งอยู่ใกล้กับปราสาทนครหลวงมาประดิษฐานไว้ แผ่นหินพระจันทร์ลอยมีลักษณะเป็นแผ่นหินแกรนิตทรงกลมคล้ายดวงจันทร์ขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ม. หนา 6 นิ้ว บนแผ่นหินมีรูปแกะสลักที่ค่อนข้างดูยาก ด้านหนึ่งสลักเป็นรูปพระเจดีย์สององค์และพระพุทธรูปสามองค์ ส่วนอีกด้านหนึ่งสลักเป็นรูปปลาคล้ายสัญลักษณ์ราศีมีน มีผู้สันนิษฐานว่าแผ่นหินดังกล่าวอาจเป็นธรรมจักรที่ยังสร้างไม่เสร็จก็เป็นได้
พระตำหนักนครหลวง
ตั้งอยู่ด้านหน้าปราสาทนครหลวง มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอาคารจัตุรมุข ปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระปลัด (ปลื้ม) หรือพระครูวิหาร-กิจจานุการได้นำพระจันทร์ลอยจากวัดเทพจันทร์ลอย ต. พระจันทร์-ลอย อ. นครหลวง ซึ่งอยู่ใกล้กับปราสาทนครหลวงมาประดิษฐานไว้ แผ่นหินพระจันทร์ลอยมีลักษณะเป็นแผ่นหินแกรนิตทรงกลมคล้ายดวงจันทร์ขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ม. หนา 6 นิ้ว บนแผ่นหินมีรูปแกะสลักที่ค่อนข้างดูยาก ด้านหนึ่งสลักเป็นรูปพระเจดีย์สององค์และพระพุทธรูปสามองค์ ส่วนอีกด้านหนึ่งสลักเป็นรูปปลาคล้ายสัญลักษณ์ราศีมีน มีผู้สันนิษฐานว่าแผ่นหินดังกล่าวอาจเป็นธรรมจักรที่ยังสร้างไม่เสร็จก็เป็นได้

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 19 ส.ค. 53

พระพุทธรูปในวิหาร
พระพุทธรูปในวิหาร

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 19 ส.ค. 53

วิหาร ข้างปราสาทด้านขวา
วิหาร ข้างปราสาทด้านขวา

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 19 ส.ค. 53

ปราสาทนครหลวง

สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยหลังจากที่เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ได้โปรดฯให้ยกทัพไปตีเมืองเขมรจนได้รับชัยชนะ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2147 ได้โปรดฯ ให้ช่างไปถ่ายแบบอย่างของการก่องสร้างโบราณสถานในเมืองพระนครหลวงมาสร้างเป็นปราสาทในบริเวณ ริมวัดเทพจันทร์ ให้ชื่อว่า "ปราสาทนครหลวง"
ปราสาทนครหลวง

	สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยหลังจากที่เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ได้โปรดฯให้ยกทัพไปตีเมืองเขมรจนได้รับชัยชนะ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2147 ได้โปรดฯ ให้ช่างไปถ่ายแบบอย่างของการก่องสร้างโบราณสถานในเมืองพระนครหลวงมาสร้างเป็นปราสาทในบริเวณ ริมวัดเทพจันทร์ ให้ชื่อว่า

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 19 ส.ค. 53

ประตูหลังมณฑป
ประตูหลังมณฑป

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 19 ส.ค. 53

ระเบียงทางเดินรอบองค์พระมณฑปริมกำแพง
ระเบียงทางเดินรอบองค์พระมณฑปริมกำแพง

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 18 ส.ค. 53

รอยพระพุทธบาทสี่รอย
ดูดีๆ จะเห็นว่ามีสี่รอย
รอยพระพุทธบาทสี่รอย
ดูดีๆ จะเห็นว่ามีสี่รอย

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 18 ส.ค. 53

พระพิฆเนศหน้ามณฑป
พระพิฆเนศหน้ามณฑป

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 18 ส.ค. 53

มณฑปที่สร้างครอบพระพุทธบาทสี่รอย
มณฑปที่สร้างครอบพระพุทธบาทสี่รอย

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 18 ส.ค. 53

รอบๆ ปราสาทชันในสุด
รอบๆ ปราสาทชันในสุด

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 18 ส.ค. 53

บรรไดเข้าสู่ตัวปราสาท อีกชั้น
บรรไดเข้าสู่ตัวปราสาท อีกชั้น

ถูกใจ แชร์

takeisou

รีวิวเมื่อ 17 ก.ค. 53

ขอแวะไปชมนะครับ
 

ถูกใจ แชร์

Mo

รีวิวเมื่อ 16 ก.ค. 53

ครับถ้าสนใจแวะชมข้อมูลก่อนได้นะครับ เรามีข้อมูลอยุธยามากมายครับ

http://www.ayutthaya.org

ถูกใจ แชร์

tookio

รีวิวเมื่อ 16 ก.ค. 53

ขอบคุณข้อมูลค่ะ กำลังวางแผนไปเที่ยวอยุธยา พอดี

ถูกใจ แชร์

Mo

รีวิวเมื่อ 16 ก.ค. 53

ระเบียงเดินรอบปราสาท
ระเบียงเดินรอบปราสาท

ถูกใจ แชร์

Mo

รีวิวเมื่อ 16 ก.ค. 53

ภายในปราสาทชั้นนอก
ภายในปราสาทชั้นนอก

ถูกใจ แชร์

Mo

รีวิวเมื่อ 16 ก.ค. 53

ทางเข้าสู่ตัวปราสาทนครหลวง
ทางเข้าสู่ตัวปราสาทนครหลวง

ถูกใจ แชร์

โรงแรมใกล้เคียง

โต่บักเส็ง อยุธยา โฮเทล โต่บักเส็ง อยุธยา โฮเทล (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.17 กิโลเมตร

ดีไลท์ อยุธยา รีสอร์ท ดีไลท์ อยุธยา รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 7.24 กิโลเมตร

เวล่า ริเวอร์วิว เวล่า ริเวอร์วิว (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 7.56 กิโลเมตร

สวีท อินน์ รีสอร์ท โฮเทล สวีท อินน์ รีสอร์ท โฮเทล (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 10.08 กิโลเมตร

ร้านอาหารใกล้เคียง

ร้านลาบเป็ดอุดร เจ๊องุ่น อ นครหลวง ร้านลาบเป็ดอุดร เจ๊องุ่น อ นครหลวง (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.51 กิโลเมตร

ครัวอิ่มอร่อย อ นครหลวง ครัวอิ่มอร่อย อ นครหลวง (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.60 กิโลเมตร

คูเหลาไก่รวน คูเหลาไก่รวน (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.78 กิโลเมตร

ร้านอาหารน้องนุช นครหลวง ร้านอาหารน้องนุช นครหลวง (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 3.47 กิโลเมตร

ละมุนลิ้นส์ Coffee Kitchen ละมุนลิ้นส์ Coffee Kitchen (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 7.09 กิโลเมตร

ร้านป้าแตนอาหารป่ารสจัด ร้านป้าแตนอาหารป่ารสจัด (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 7.37 กิโลเมตร

ซุ้มป่าสัก ซุ้มป่าสัก (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 7.38 กิโลเมตร

เรือสำราญ ซุ้มป่าสัก เรือสำราญ ซุ้มป่าสัก (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 7.40 กิโลเมตร

ร้านริมคลอง สาขา2 ร้านริมคลอง สาขา2 (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 7.42 กิโลเมตร

ก๋วยเตี๋ยวเรือสูตรกะทิสดแม่ประไพศรี ก๋วยเตี๋ยวเรือสูตรกะทิสดแม่ประไพศรี (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 7.54 กิโลเมตร