“วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นวัดแห่งราชวงศ์จักรี เป็นที่ประทับของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และเป็นที่ประดิษฐาน พระประธาน หลวงพ่อโต และ พระพุทธชินสีห์  ”

วัดบวรนิเวศวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ได้ทรงมีพระดำริโปรดให้สร้างขึ้น เป็นที่ประทับของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกและเป็นที่ตั้งของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประวัติความเป็นมาของวัด วัดบวรนิเวศวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ได้ทรงมีพระดำริโปรดให้สร้างขึ้น แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จ ก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน วัดบวรนิเวศวิหาร สร้างขึ้นด้วยศิลปะไทยผสมจีน

ภายในพระอุโบสถ มีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ 2 องค์ คือ พระสุวรรณเขต(หรือหลวงพ่อโต) เป็นพระประธาน อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน เพชรบุรี และ พระพุทธชินสีห์ อัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก

ถัดจากพระอุโบสถออกไปเป็นเจดีย์กลมขนาดใหญ่ สร้างสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 หุ้มกระเบื้องสีทอง ในรัชกาลปัจจุบัน รอบฐานพระเจดีย์มี ศาลาจีนและซุ้มจีน ถัดออกไปเป็นวิหารเก๋งจีน นอกจากนี้ก็มีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่ง ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเคยผนวช ณ

วัดนี้เมื่อยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่ประทับของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาเปรียญ ๙ ประโยค แต่ในเวลาเดียวกัน พระองค์ก็ทรงเน้นหนักในด้านจิตภาวนา โดยได้ทรงฝึกสมาธิจิต ทั้งสมถะและวิปัสสนาตามแนวทางพระป่ามาเป็นระยะเวลานาน พระองค์ยังได้ทรงรับเลือกให้เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระหว่างที่ทรงผนวชอยู่ด้วย วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่ตั้งของ มหามกุฏราชวิทยาลัย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2436 เป็นสถานศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์

ต่อมาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้ทรงประกาศตั้งสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ซึ่งนับเป็นสถาบันการศึกษาสงฆ์ระดับมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย หลังจากนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2490 คณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายก็ประกาศตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในวัดมหาธาตุ วัดบวรนิเวศวิหารในปัจจุบัน ยังเป็นที่พักของพระภิกษุนาคหลวงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลายรูป และยังเป็นสถานที่พำนักระหว่างพระภิกษุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครั้งทรงผนวช รวมทั้งเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ อาทิ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ครั้งทรง ผนวชอีกด้วย พระพุทธชินสีห์พระประธานในพระอุโบสถคือพระพุทธชินสีห์ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างสมัยพระยาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย พร้อมๆ กับพระพุทธชินราชที่พิษณุโลกและพระศรีศาสดา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างทรงครองวัด ได้โปรดให้อัญเชิญพระศรีศาสดาและพระพุทธชินสีห์มาประดิษฐสถานที่วัดบวรนิเวศวิหารจนบัดนี้ ระหว่างทรงผนวชและประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประติมากรของกรมศิลปากรปั้นหุ่นและสร้างพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร โดยทรงเสด็จพระราชดำเนินหล่อพระพุทธรูป

วันที่ 5 ธันวาคม 2499 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ได้ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่าพระพุทธนาราวันตบพิตร ความสำคัญของวัดบวรนิเวศวิหาร ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศไทย วัดบวรนิเวศวิหารถือเป็นวัดที่มีความเคลื่อนไหวทางศาสนาที่สำคัญๆ หลายอย่างถือกำเนิดขึ้น อาทิ ความพยายามในการปฏิรูปสงฆ์ไทย ซึ่งทำให้เกิดนิกายธรรมยุตขึ้นมา ความพยายามในการก่อตั้งวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรก ได้แก่ มหามกุฏราชวิทยาลัย สมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ความพยายามในการริเริ่มตรวจชำระคัมภีร์ภาษาบาลี โดย ความริเริ่มของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความพยายามในการก่อตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกที่คนไทยเป็นเจ้าของ จนวิวัฒนาการมาเป็น โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย ดังในปัจจุบัน ความพยายามในการรื้อฟื้น มหามกุฏราชวิทยาลัย โดยมีวัดบวรนิเวศวิหารสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง จนประเทศไทย มีมหาวิทยาลัยสงฆ์ไว้ผลิต ศาสนทายาทที่เหมาะสมแก่สมัย ความพยายามในการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐแห่งแรกของประเทศ วัดบวรนิเวศวิหาร มีตำหนักเพ็ชรซึ่งใช้เป็นสถานที่ประชุมกรรมการมหาเถรสมาคม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

 

เที่ยวได้ทุกวัน

 

วัดบวรนิเวศวิหาร

แชร์

248 ถ.พระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร จ.กรุงเทพฯ 10200 แผนที่

รีวิว 5 รายการ | ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,วัด,สถานที่,วัด

No hours available

02-6295284

http://www.watbowon.com

5208

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 5 รายการ)

Not identifiable

รีวิวเมื่อ 28 มี.ค. 54

เชิญชม www.ayothaya amulet.com

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 22 ก.ค. 53

ขอบคุณข้อมูลจากวัดบวรฯ

www.watbowon.com

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 22 ก.ค. 53

หน้าพระอุโบสถ


วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ต้นถนนตะนาวในบัดนี้ ในกำแพงพระนคร สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างใหม่ในรัชกาลนั้น ระหว่าง พ.ศ.๒๓๖๗ และพ.ศ. ๒๓๗๕ (ปีระหว่างอุปราชาภิเษกและสวรรคตของสมเด็จพระบวรราชเจ้าพระองค์นั้น) ใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาส ที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๖ ซึ่งต่อมาภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าร่วงโรยมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเข้ากับวัดบวรนิเวศวิหารเสีย เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๘ ซึ่งในปัจจุบันยังคงเรียกส่วนที่เป็นวัดรังษีสุทธาวาสมาเดิมว่า “คณะรังษี”
หน้าพระอุโบสถ


	วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ต้นถนนตะนาวในบัดนี้ ในกำแพงพระนคร สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างใหม่ในรัชกาลนั้น ระหว่าง พ.ศ.๒๓๖๗ และพ.ศ. ๒๓๗๕ (ปีระหว่างอุปราชาภิเษกและสวรรคตของสมเด็จพระบวรราชเจ้าพระองค์นั้น) ใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาส ที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๖ ซึ่งต่อมาภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าร่วงโรยมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเข้ากับวัดบวรนิเวศวิหารเสีย เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๘ ซึ่งในปัจจุบันยังคงเรียกส่วนที่เป็นวัดรังษีสุทธาวาสมาเดิมว่า “คณะรังษี”

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 22 ก.ค. 53

พระเจดีย์ใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหารก่อพระฤกษ์เมื่อเดือน ๑๐ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีเถาะ ตรีศก จ.ศ.๑๑๙๓ (วันเสาร์ที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๗๔) ในสมัยรัชกาลที่๓ และใช้เวลาก่อสร้างต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่๔ องค์พระเจดีย์มีสัณฐานกลม มีคูหาภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีทักษิณ ๒ ชั้นเป็นสี่เหลี่ยม ที่องค์พระเจดีย์มีซุ้มเป็นทางเข้าสู่คูหา ๔ ซุ้ม กลางคูหาพระเจดีย์ประดิษฐานพระเจดีย์กาไหล่ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

และมีพระเจดีย์องค์ประดิษฐานอยู่โดยรอบพระเจดีย์กาไหล่ทองอีก ๔ องค์ คือ ด้านตะวันตก พระไพรีพินาศเจดีย์ ด้านใต้ พระเจดีย์บรมราชานุสรณ์พระชนมพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ด้านตะวันออก เป็นพระเจดีย์ไม้ปิดทอง ไม่ปรากฏประวัติ ด้านตะวันตก พระเจดีย์โลหะปิดทอง ไม่ปรากฏประวัติ
พระเจดีย์ใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหารก่อพระฤกษ์เมื่อเดือน ๑๐ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีเถาะ ตรีศก จ.ศ.๑๑๙๓ (วันเสาร์ที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๗๔) ในสมัยรัชกาลที่๓ และใช้เวลาก่อสร้างต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่๔ องค์พระเจดีย์มีสัณฐานกลม มีคูหาภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีทักษิณ ๒ ชั้นเป็นสี่เหลี่ยม ที่องค์พระเจดีย์มีซุ้มเป็นทางเข้าสู่คูหา ๔ ซุ้ม กลางคูหาพระเจดีย์ประดิษฐานพระเจดีย์กาไหล่ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

	และมีพระเจดีย์องค์ประดิษฐานอยู่โดยรอบพระเจดีย์กาไหล่ทองอีก ๔ องค์ คือ ด้านตะวันตก พระไพรีพินาศเจดีย์ ด้านใต้ พระเจดีย์บรมราชานุสรณ์พระชนมพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ด้านตะวันออก เป็นพระเจดีย์ไม้ปิดทอง ไม่ปรากฏประวัติ ด้านตะวันตก พระเจดีย์โลหะปิดทอง ไม่ปรากฏประวัติ

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 22 ก.ค. 53

พระสุวรรณเขต
พระสุวรรณเขตหรือเรียกว่าหลวงพ่อโต หรือ “หลวงพ่อเพชร” คือพระประธานองค์ใหญ่ ตั้งอยู่ด้านในสุด เป็นพระประธานองค์แรกของพระอุโบสถนี้ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระพุทธรูปโลหะ ลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา  หน้าตักกว้าง ๙ ศอก ๒๑ นิ้ว พระยาชำนิหัตถการได้ปั้นพอกพระศกให้มีขนาดดังที่เห็นในปัจจุบันแล้วลงรักปิดทอง ด้านข้างพระพุทธรูปองค์นี้มีพระอัครสาวกปูนปั้นหน้าตัก ๒ ศอก ข้างละ ๑ องค์


พระพุทธรูปวัดสระตะพานองค์นี้ เป็นพระหล่อ หน้าพระเพลา (ตัก) ๙ ศอก ๒๑ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปโบราณ เรียกว่า พระโต แต่ นายอ่อน เจตนาแจ่ม ผู้รักษาพระอุโบสถเล่าว่า เคยได้ยินสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานิศรานุวัดติวงศ์ ตรัสกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่า "พระโตองค์นี้ ชาวพื้นเมืองเรียกกันว่า "หลวงพ่อเพชรๆ" ชื่อท่านมีอยู่แล้วว่า "พระสุวรรณเขต" ไม่เรียก เมื่อเชิญมา รื้อออกเป็นท่อนๆ ตามรอยประสานเดิม อัญเชิญลงแพ มาคุมเข้าเป็นองค์เดิมอีก ลักษณะที่คุมเข้าใหม่เป็นฝีมือของช่างกรุงเทพฯ โดยมาก แต่ยังพอสังเกตได้ว่าเดิมเป็นลักษณะพระขอม พระศกของพระพุทธรูปนี้ เดิมโตอย่างของพระพุทธชินสีห์ พระยาชำนิหัตถการ นายช่างกรมพระราชวังบวรฯ เลาะออกเสีย ทำพระศกของพระโตนี้ใหม่ด้วยดินเผาให้เล็ก ตามที่เห็นว่างามในเวลานั้น ประดับเข้าที่แล้วลงรักปิดทอง พระองค์ใหญ่ มีพระสาวกใหญ่นั่งคู่หนึ่ง หน้าตักสองศอกถ้วนเป็นพระปั้น

พระพุทธชินสีห์

พระพุทธชินสีห์ ประดิษฐานอยู่ข้างหน้าพระพุทธสุวรรณเขต  เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๔ นิ้ว สองข้างพระพุทธชินสีห์มีรูปพระอัครสาวกคู่หนึ่ง สันนิษฐานว่า สมเด็จพระธรรมราชาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย โปรดให้สร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันกับพระพุทธชินราช และพระศรีศาสดา เดิมประดิษฐานอยู่ที่พระวิหารด้านทิศเหนือของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาวิหารชำรุดทรุดโทรมลง สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพ จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่มุขหลังของพระอุโบสถจัตุรมุข วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๔ 
ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะยังทรงผนวช  ได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวอัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถหน้าพระพุทธสุวรรณเขต เมื่อพุทธศักราช ๒๓๘๐ แล้วได้ติดทองกะไหล่พระรัศมี  ฝังพระเนตร และฝังเพชรที่พระอุณาโลมใหม่ พร้อมทั้งปิดทององค์พระพุทธรูป  ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว  ในพุทธศักราช ๒๓๙๔   โปรดเกล้าฯ ให้แผ่แผ่นทองคำลงยาราชาวดีประดับพระรัศมีเดิม  ถวายฉัตรตาด ๙ ชั้น ถวายผ้าทรงสะพักตาด ต้นไม้เงินทอง และกลองมโหระทึกสำหรับประโคมในเวลาพระสงฆ์บูชาเช้าค่ำเป็นเกียรติยศ พุทธศักราช ๒๓๘๙  โปรดเกล้าฯให้หล่อฐานสำริดปิดทองใหม่มีการสมโภช  พุทธศักราช ๒๔๐๙  ทรงสมโภชอีครั้งและถวายพระธำมรงค์หยกสวมนิ้วพระอังคุฐซ้าย

พระพุทธชินสีห์นับเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์เสด็จมาถวายสักการบูชาในโอกาสต่างๆ เช่น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครทางสถลมารคมานมัสการและถวายต้นไม้เงินและต้นไม้ทองเมื่อคราวประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระพุทธชินสีห์ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแต่ครั้งสุโขทัย นับว่าเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามมากที่สุดพระองค์หนึ่ง สมเด็จพระบวรราชเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงอัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาจากพระวิหารทิศเหนือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก มาประดิษฐานไว้ในมุขหลังของพระอุโบสถ ซึ่งก่อขึ้นใหม่ อัญเชิญลงแพมาทั้งพระองค์ เมื่อฤดูน้ำ พ.ศ. ๒๓๗๒ แต่ได้ยินกันมาโดยมากว่ามุขหลังคามีมาแต่เดิม จึงรวมเป็น ๔ มุข ตามรูบเมรุของเจ้าจอมมารดา ของพระองค์เจ้าดาราวดี พระราชชายา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ผู้ทรงรจนาตำนานวัด ทรงสันนิษฐานว่า มุขหลังก่อทีหลัง ในเมื่อปรารภว่าจะเชิญพระพุทธชินสีห์ลงมา เดิมคงมีแต่หลังหน้าซึ่งเป็นพระอุโบสถ หลังขวางซึ่งเป็นพระวิหาร แต่สร้างติดกันจึงดูเป็น ๓ มุข

พระพุทธชินสีห์นี้ มีตำนานกล่าวไว้ในพงศาวดารเหนือว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เจ้าเมืองนครเชียงแสน สร้างขึ้นพร้อมกับพระชินราชและพระศาสดาเมื่อก่อน พ.ศ. ๑๕๐๐ มีเรื่องโดยย่อว่า พระศรีธรรมไตรปิฎก เจ้านครเชียงแสนยกกองทัพมาตีเมืองศรีสัชนาลัย (อยู่ในเมืองสวรรคโลกสมัยนั้น) แล้วสร้างเมืองพิษณุโลก พร้อมกับพระพุทธรูป ๓ พระองค์ โดยให้พวกช่างที่มีฝีมือในเมืองต่างๆมาประชุม ช่วยกันปั้นหุ่นเพื่อจะให้ได้งดงามผิดกับพระพุทธรูปสามัญแต่ท่านสันนิษฐานว่า พระเจ้าพระศรีมหาธรรมไตรปิฎกผู้สร้าง คือพระมหาะรรมราชาที่๑ รัชการที่๕แห่งราชวงศ์พระร่วง สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เรียกโดยพระนามว่า พระเจ้าลือไทหรือลิไท ข้อที่ทำให้สันนิษฐานเช่นนั้นมีหลายประการ คือสอบสวนไม่ได้ความจริงว่า มีเจ้านครเชียงแสนองค์ใด มีความรู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก จนควรแก่พระนามนั้น และได้แผ่อำนาจลงมาทางใต้ในสมัยที่อ้างนั้น พระมหาธรรมราชาที่ ๑ ปรากฏว่าทรงรอบรู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก ทรงแต่งหนังสือเรื่องตรภูมิ ซึ่งในทุกวันนี้เรียกันว่าไตรภูมิพระร่วง พระเกียรติยศที่ทรงรอบรู้พระไตรปิฎก คงเลื่องลือแพร่หลาย จึงเรียกพระนามเฉลิมพระเกีรยติว่า พระศรีธรรมไตรปิฎก และเมื่อก่อนแต่ทรงเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้เป็นพระมหาอุปราชอยู่ที่เมืองศรีสัชนาลัย เมื่อพระเจ้าเลอไทพระราชบิดาสวรรคต เกิดจราจลขึ้นในพระนครสุโขทัย ต้องยกทัพลงมาปราบปรามจนราบคาบแล้วจึงได้เสวยราชย์ เรื่องนี้ตรงกับเค้าเรื่องพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกยกกองทัพลงมาตีเมืองศรีสัชนาลัยในพงศาวดารเหนือ อีกประการหนึ่ง ลักษณะพระชินราช พระชินสีห์ ก็ด่างจากพระพุทธรูปอื่น ในบางอย่างเช่น มีนิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ นิ้ว พระบาททั้ง ๔ นิ้วยาวเสมอกัน ต้องตามคัมภีร์มหาปุริสลักษณะแสดงว่าผู้สร้างได้ทราบคัมภีร์นั้น พระพุทธรูปที่ได้สร้างกันขึ้นชั้นหลัง ได้ถือเป็นแบบสืบมาทุกวันนี้ พระพุทธรูปที่สร้างในเมืองเมืองไทยแต่ก่อนนั้น ทั้งทางเมืองเหนือและเมืองใต้ ทำปลายนิ้วพระหัตถ์เป็นหลั่นกันเหมือนกับนิ้วมือคนสามัญ
อนึ่งมีทรวดทรงและชายจีวรยาวแบบลังกา แสดงให้เห็นว่าสร้างในสมัยพระเจ้าเลอไทยหรือลือไทย เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๐
พระพุทธชินสีห์ พระพุทธชินราช มีลักษณะงดงามอย่างน่าพิศวง และนับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ปรากฏในประวัติศาสตร์ว่าสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินในกรุงสยาม ได้เสด็จฯไปถวายนมัสกาหลายพระองค์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาป็นราชธานี กล่าวเฉพาะพระพุทธชินสีห์เมื่อเมื่ออัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่มุขหลังของพระอุโบสถวัดนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เมื่อทรงเสด็จมาผนวชอยู่ครองวัดนี้ ได้ทูลขอพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ อัญเชิญย้ายจากมุขหลังออกสถิตหน้าพระพุทธรูปองค์ใหญ่หรือพระโต เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๐ ปิดทองก้าไหล่พระรัศมีฝั่งพระเนตรใหม่ และติดพระอุนาโลม ส่วนมุขหลังอัญเชิญพระไสยาสน์เข้าไว้แทน ต่อมาได้รื้อมุขหลัง น่าจะเพื่อขยายทักษิณพระเจดีย์ออกมาอีกชั้นหนึ่ง ส่วนพระไสยาสน์น่าจะคงยังอยู่หลังพระอุโบสถ ณ ที่ติดพระบาทจำลองในบัดนี้ ต่อมาได้อัญเชิญไปไว้ในวิหารพระศาสดาเมื่อทรงลาผนวชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ตรัสให้แผ่ทองคำทำพระรัศมีลงยาราชาวดีประดับพระรัศมีเดิมอีกชั้นหนึ่ง ถวายฉัตรตาด ๙ ชั้นถวายผ้าทรงสพักตาด ต้นไม้ทองเงิน เมื่อพ.ศ. ๒๓๙๔ โปรดหล่อ ด้วยทองสัมฤทธิ์ปิดทองใหม่ มีการสมโภช เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๘ ทรงสมโภชอีกและถวายพระธำมรงค์หยกสวมนิ้วพระอังคุฐซ้าย ( แหวนที่นิ้วหัวแม่มือซ้าย) เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๙ ในรัชการที่ ๕ก็ได้ทรงปิดทองและโปรดให้มีการสมโภช พร้อมด้วยการฉลองพระอารามที่ทรงปฎิสังขรณ์ใหม่ และทรงสร้างเพิ่มเติมเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๔ พระพุทธชินสีห์ มีพระอัครสาวกยืนคู่หนึ่ง สันนิษฐานว่าสร้างภายหลัง 
พระสุวรรณเขต
	พระสุวรรณเขตหรือเรียกว่าหลวงพ่อโต หรือ “หลวงพ่อเพชร” คือพระประธานองค์ใหญ่ ตั้งอยู่ด้านในสุด เป็นพระประธานองค์แรกของพระอุโบสถนี้ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระพุทธรูปโลหะ ลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา  หน้าตักกว้าง ๙ ศอก ๒๑ นิ้ว พระยาชำนิหัตถการได้ปั้นพอกพระศกให้มีขนาดดังที่เห็นในปัจจุบันแล้วลงรักปิดทอง ด้านข้างพระพุทธรูปองค์นี้มีพระอัครสาวกปูนปั้นหน้าตัก ๒ ศอก ข้างละ ๑ องค์

	
	พระพุทธรูปวัดสระตะพานองค์นี้ เป็นพระหล่อ หน้าพระเพลา (ตัก) ๙ ศอก ๒๑ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปโบราณ เรียกว่า พระโต แต่ นายอ่อน เจตนาแจ่ม ผู้รักษาพระอุโบสถเล่าว่า เคยได้ยินสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานิศรานุวัดติวงศ์ ตรัสกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่า

ถูกใจ แชร์

สถานที่ใกล้เคียง

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.32 กิโลเมตร

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 0.49 กิโลเมตร

ถนนข้าวสาร ถนนข้าวสาร (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 0.59 กิโลเมตร

วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.61 กิโลเมตร

วัดราชนัดดารามวรวิหาร วัดราชนัดดารามวรวิหาร (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.70 กิโลเมตร

วัดเทพธิดาราม วัดเทพธิดาราม (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.75 กิโลเมตร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ (รีวิว 3 รายการ)

ห่าง 0.77 กิโลเมตร

ป้อมพระสุเมรุ ป้อมพระสุเมรุ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.77 กิโลเมตร

วัดอินทรวิหาร วัดอินทรวิหาร (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.78 กิโลเมตร

โรงแรมใกล้เคียง

เดอะ โคซี เฮาส์ โฮเทล เดอะ โคซี เฮาส์ โฮเทล (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.29 กิโลเมตร

คาซา วิมายา ริเวอร์ไซด์ คาซา วิมายา ริเวอร์ไซด์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.31 กิโลเมตร

บ้านนพวงศ์ บ้านนพวงศ์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.33 กิโลเมตร

วิลล่า ชาช่า บางลำภู วิลล่า ชาช่า บางลำภู (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.39 กิโลเมตร

ไดมอนด์ เฮาส์ ไดมอนด์ เฮาส์ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.43 กิโลเมตร

สลีพ วิธ อินน์ สลีพ วิธ อินน์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.46 กิโลเมตร

บ้านดินสอ บ้านดินสอ (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 0.46 กิโลเมตร

โรงแรมสวัสดี บางกอก อินน์ โรงแรมสวัสดี บางกอก อินน์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.47 กิโลเมตร

โฟร์มังกี้ โฟร์มังกี้ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.47 กิโลเมตร

ไอยาธร ไอยาธร (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.50 กิโลเมตร

ร้านอาหารใกล้เคียง

นันฟ้าภัตตาคาร นันฟ้าภัตตาคาร (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.20 กิโลเมตร

พรชัยขนมปัง พรชัยขนมปัง (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 0.22 กิโลเมตร

ปาท่องโก๋ย่างบางลำภู ปาท่องโก๋ย่างบางลำภู (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.24 กิโลเมตร

ไส้กรอกหมูวุ้นเส้นบางลำภู ไส้กรอกหมูวุ้นเส้นบางลำภู (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 0.24 กิโลเมตร

เม้งโภชนาบางลำภู เม้งโภชนาบางลำภู (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.25 กิโลเมตร

ลูกชิ้นปลานายง้ำ ลูกชิ้นปลานายง้ำ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.26 กิโลเมตร

กิมเซี้ย กิมเซี้ย (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.26 กิโลเมตร

ทาคิเทย์ ทาคิเทย์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.34 กิโลเมตร

ครัวอัปษร ครัวอัปษร (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.43 กิโลเมตร

โจ๊กหมูเก้าหม้อ โจ๊กหมูเก้าหม้อ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.47 กิโลเมตร