“ไหว้หลวงพ่อวัดน้ำรอบ ชมหน้าบันโบสถ์  ”

วัดไตรมารคสถิต เดิมชื่อ วัดโคกกลอย วัดนี้สร้างขึ้นเมือ พ.ศ. 2288 ตามชื่อหมู่บ้านซึ่งคงจะมีต้นกลอยอยู่มาก โดยย้ายมาจากวัดน้ำรอบ ตามตำนานกล่าวไว้ว่า หลวงพ่อวัดน้ำรอบเห็นว่าวัดอยู่ในที่ลุ่มมีลำคลองมีลำคลองล้อมรอบและตื้นเขินขึ้นทุกปี น้ำอาจท่วมวัดจึงให้สามเณรไปสร้างวัดใหม่ ห่างออกไปประมาณ 300 ม. ต่อมในปี พ.ศ. 2480 ได้มีการเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการว่า "วัดไตรมารคสถิต"

พระอุโบสถ  เป็นโบสถ์ทรงเตี้ยกว้าง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2320 ลักษณะเสาไม้ หลังคามุงจาก ไม่มีฝากั้น พื้นทราย 

ปฎิสังขรณ์ ครั้งที่ 1 เปลี่ยนหลังคา เป็นมุงด้วยไม้กระดาน ลักษณะเบื้องสุโขทัย ไม่มีฝากั้น พื้นทราย

ปฎิสังขรณ์ ครั้งที่ 2 สมัยพระครูอ๋อง เปลี่ยนหลังคาเป็นสังกะสี เขาพื้นซีเมนต์ กั้นฝาสูง 1 เมตร ด้วยลูกกรงไม้

ปฎิสังขรณ์ ครั้งที่ 3 สมัยพระครูอ๋อง เปลี่ยนเสาใหม่เป็นไม้ตะเคียน ฝาผนังก่ออิฐถือปูน สูง 1 เมตร ท่อนบนกั้นไม้ กระดาน เว้นช่องหน้าต่างแต่ไม่มีบาน ช่อฟ้าใบระกาการูปพญานาค

ปฎิสังขรณ์ ครั้งที่ 4 สมัยพระวิทุทธิพรหมจรรย์ เปลี่ยนเสาไม้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เขาพื้นคอนกรีตใหม่ ผนังก่ออิฐถือปูน มีประตู หน้าต่าง ไม่มีช่อฟ้าใบระกา

ปฎิสังขรณ์ ครั้งที่ 5 สมัยพระอธิการพิพัฒน์ สุธีโร เปลี่ยนหลังคาใหม่ ปั้นช่อฟ้าใบระกา ปั้นลายหน้าบันประดับ เครื่องลายคราม พื้นเเละอาสน์สงฆ์ทำใหม่ ปั้นองค์พระประธานพร้อมฐานทั้ง 3 องค์

พ.ศ. 2542 ปั้นองค์หลวงพ่อวัดปาดช่อง 2 องค์

 

ประวัติ หลวงพ่อวัดน้ำรอบ

เดิมเป็นพระพุทธรูปมีแต่เศียร และเดิมทีประดิษฐานอยู่ที่วัดน้ำรอบ (โรงเรียนวัดไตรมารคสถิตปัจจุบัน) เป็นที่เคารพสักการบูชาของคนทั่วไปในยุคนั้น ต่อมาเกิดเหตุภัยธรรมชาติ เศียรหลวงพ่อถูกดินทับถม ผ่านไปหลายสิบปี วันหนึ่งเกิดฝนตกหนัก น้ำได้พัดพาหน้าดินออกไป เกตุของหลวงพ่อจึงโผล่ขึ้นมา เด็กที่ไปเลี้ยงควายไม่ทราบว่าเป็นอะไร ได้เอาเชือกไปผูกไว้กับเกตุหลวงพ่อ ตกเย็นเด็กคนนั้นเกิดไม่สบายโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ ต่อมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้มาบอกกล่าวตักเตือนให้พ่อเด็กได้รับรู้ จึงไปขอขมา เด็กก็หายเป็นปกติ เมื่อทุกคนทราบว่าเป็นเศียรของหลวงพ่อ พระและชาวบ้านจึงช่วยกันขุดขึ้นมา จากนั้นได้หาช่างมาปั้นองค์หลวงพ่อ

ตามประวัติระบุไว้ว่า เศียรหลวงพ่อกับองค์หลวงพ่อถูกปั้นขึ้นมาคนละยุคสมัย สำหรับเศียรนั้นเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย ส่วนองค์ก็น่าจะถูกปั้นขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ดูแล้วเศียรจะโตกว่ารูปร่าง ชาวบ้านในยุคนั้นนิยมบนบานศาลกล่าวหลวงพ่อวัดน้ำรอบมี 2 วิธี คือ

  1. บนบานมุงหลังคา (หลังคามุงจากคล้ายเพิงข้าว)
  2. บนบานห่มผ้าขาวม้าสีแดง ได้มีเรื่องเล่าด้วยว่า มีคนจีนซึ่งขนสินค้าจากบ้าน ท่าเรือ จ.ภูเก็ต ไปอำเภอท้ายเหมือง มีความศรัทธาต่อ หลวงพ่อวัดน้ำรอบ อย่างมาก เมื่อผ่านหน้าวัดจะแวะจุดประทัดทุกครั้ง การบนบานหลวงพ่อจึงมีเพิ่มอีกวิธีหนึ่ง คือ จุดประทัด

ปัจจุบันการบนบานหลวงพ่อวัดน้ำรอบ วัดโคกกลอยมีอยู่ 3 วิธี คือ จุดประทัด ห่มผ้าและปิดทอง ก่อนที่หลวงพ่อวัดน้ำรอบจะมาประดิษฐานอยู่ที่วัดไตรมารคสถิต เดิมที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดน้ำรอบ ต่อมาวัดได้ทรุดโทรมมากและกลายเป็นวัดร้าง ท่านพระครูอ๋อง เจ้าอาวาสวัดไตรมารคสถิต รุ่นที่ 5 ได้ชักชวนชาวบ้านอาราธนาหลวงพ่อไปอยู่ที่วัดปากช่อง หมู่ 3 ต.โคกกลอย

แต่เมื่อขบวนแห่องค์หลวงพ่อผ่านถึงประตูวัดไตรมารคสถิต ทางทิศตะวันตก ไม้คานที่ใช้หามมาเกิดหัก ไม่สามารถจะหามต่อได้ ชาวบ้านทุกคนในขบวนนั้นต่างลงความเห็นว่าหลวงพ่อวัดน้ำรอบไม่ประสงค์ไปอยู่ วัดปากช่อง ท่านต้องการอยู่วัดไตรมารคสถิต จึงอาราธนา หลวงพ่อวัดน้ำรอบ ประดิษฐานอยู่วัดไตรมารคสถิตตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

หลวงพ่อวัดน้ำรอบ มีอภินิหารมากมาย ผู้มีศรัทธาในองค์หลวงพ่อก็มักจะบนบานให้หลวงพ่อช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ เช่น การเดินทาง การประกอบการค้า มีชาวบ้านหลายคนเล่าให้ฟังว่า หากนิมนต์หลวงพ่อวัดน้ำรอบให้คุ้มครองในการเดินทาง จะทำให้เดินทางโดยปลอดภัย หากเกิดอุบัติเหตุก็มักจะผ่อนหนักเป็นเบา

มีอีกเรื่องหนึ่งว่า เมื่อปี พ.ศ.2521 ตำบลโคกกลอยขณะนั้นมีการดำแร่บริเวณบ้านนาใต้ จะมีคนต่างถิ่นมากมายมาประกอบอาชีพ วันนั้นมีชายคนหนึ่งอายุประมาณ 20 ปีเศษ สักเสือเผ่นที่หน้าอก ได้นั่งขัดสมาธิหลับตานิ่งต่อหน้าองค์หลวงพ่อในอุโบสถ เวลาผ่านไปประมาณ 20 นาที ชายคนนั้นมีอาการคล้ายเสือ ได้ตะกรุยเสื่อหน้าองค์หลวงพ่อจนเสื่อขาดกระจุย เวลาผ่านไประยะหนึ่ง ชายคนนั้นก็ได้สงบนิ่ง แต่ทำอย่างไรก็ไม่ฟื้น ชาวบ้านที่พบเห็นจึงเอาน้ำมนต์หลวงพ่อประพรมที่ร่างของชายคนนั้น พร้อมทั้งกล่าวคำขอโทษต่อองค์หลวงพ่อที่แสดงอาการไม่เหมาะสม ปรากฏว่าชายผู้นั้นค่อยรู้สึกตัว เมื่อฟื้นขึ้นมาเป็นปกติได้บูชาผ้ายันต์หลวงพ่อวัดน้ำรอบ

มีชาวบ้านหลายคนได้ถามชายผู้นั้นด้วยความสงสัยว่า "เกิดอะไรขึ้น" ชายผู้นั้นไม่ได้ตอบอะไร พูดแต่เพียงว่า "หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์มาก"


เที่ยวได้ตลอดปี

 

วัดไตรมารคสถิต

แชร์

โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา 82140 แผนที่

รีวิว 0 รายการ | ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,วัด,วัด,โบสถ์,โบราณสถาน

No hours available

3974

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 0 รายการ)

สถานที่ใกล้เคียง

บ่อน้ำพุร้อนบ้านบ่อดาน บ่อน้ำพุร้อนบ้านบ่อดาน (รีวิว 3 รายการ)

ห่าง 6.56 กิโลเมตร

โรงแรมใกล้เคียง

โรงแรม เอราวัณพังงา โรงแรม เอราวัณพังงา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.38 กิโลเมตร

จุฑามาศ อพาร์ทเม้นต์ จุฑามาศ อพาร์ทเม้นต์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.71 กิโลเมตร

จัสมิน อินน์ รีสอร์ท จัสมิน อินน์ รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.29 กิโลเมตร

นายใต้ เฮ้าส์ นายใต้ เฮ้าส์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 3.19 กิโลเมตร

โรงแรมรัญญาธาวี รีสอร์ท โรงแรมรัญญาธาวี รีสอร์ท (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 3.29 กิโลเมตร

อลีนตา รีสอร์ท แอนด์ สปา ภูเก็ต อลีนตา รีสอร์ท แอนด์ สปา ภูเก็ต (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 3.78 กิโลเมตร

เดอะ ฮอทสปริง บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา เดอะ ฮอทสปริง บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 4.87 กิโลเมตร

วอเตอร์เจดรีสอร์ท วอเตอร์เจดรีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 7.67 กิโลเมตร

ร้านอาหารใกล้เคียง

อีสานริมทาง อีสานริมทาง (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.58 กิโลเมตร

เรือนไม้แก่น เรือนไม้แก่น (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.60 กิโลเมตร

ท่านุ่นซีฟู้ด ท่านุ่นซีฟู้ด (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.04 กิโลเมตร

ร้านอาหารปูดำ ร้านอาหารปูดำ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 1.35 กิโลเมตร

ปูดำ ร้านอาหารปักษ์ใต้ ปูดำ ร้านอาหารปักษ์ใต้ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.54 กิโลเมตร

ฝาชี By ครัวกลางดง ฝาชี By ครัวกลางดง (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.11 กิโลเมตร

ครกไม้ไทย ครกไม้ไทย (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 2.64 กิโลเมตร

กาแฟ 360 องศา กาแฟ 360 องศา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 8.57 กิโลเมตร