“วัดพระธาตุถิ่นแถนหลวง พระธาตุเก่าแก่โบราณ บรรจุกระดูกศอกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า คุ่กับพระธาตุช่อแฮบรรจุกระดูกศอกเบื้องซ้าย”

ภายในวัด มี พระมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 109 องค์ ทั้งเป็นของโบราณและของสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก วิหารหลวงประดิษฐานพันองค์ หอวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตึก 3 ชั้น และเสนาสนะอื่น ๆ จนเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน พ.ศ. 2542 จึงขออนุญาตตั้งเป็นวัดขึ้น เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช โดยมีพระครูวิจิตรธรรมาภรณ์ เป็นประธานดำเนินการก่อสร้างและมีนายวิทยา สุริยะ สถาปัตยกรรมดีเด่นแห่งชาติ เป็นผู้ออกแบบ

ประวัติวัดพระธาตุถิ่นหลวง

ประมาณ พ.ศ.1700 พญาเจียง สถาปนาต๋นขึ้นเป็นกษัตริย์ ครองแผ่นดินไทยลื้อ แห่งอาณาจักรสิบสองพันนาน่านเจ้า ทรงพระนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้าหอคำหลวงรุ่งเรืองเชียงรุ้ง

ต่อมาพระองค์ได้เสด็จมาปกครองอาณาจักรโยนกนครเชียงแสน ไชยบุรี และเมืองภูกามยาวพะเยา ซึ่งเป็นแผ่นดินไทยสายเลือดเดียวกัน พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ ขยายอาณาเขตแว่นแค้วน ดินแดนล้านนาไทย ออกไปได้กว้างไกล พระองค์ทรงเสด็จลงมาเมืองพลหรือเมืองแพร่ซึ่งเป็นเมืองในหุบเขา มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วย ป่าไม้ สายธาร สัตว์น้ำ เพื่อทำพิธีคล้องช้างป่า ที่มีคชลักษณะดี จำนวน 5000 เชือกซึ่งมีอยู่มากมายตามเขตแพร่ น่าน ลาว พิธีได้จัดที่ดอยเด่นนางฟ้าฯ ปัจจุบันคือที่ตั้งองค์เจดียืพระบรมธาตุถิ่นแถนหลวง โดยมีพระยามพรมวงศาเจ้าเมืองแพร่รับเสด็จพญาแพร่ได้ถวายหญิงงามแห่งเมืองผู้เป็นธิดานามว่าเจ้าแก้วกษัตรี ให้เป็นชายาเพื่อสีบสัมพันธไม่ตรีอันดีของสองราชวงค์ไทยฯ

พญาเจียงได้กรีฑาทัพช้างขยายอาณาเขตประเทศล้านนาไทยออกไปถึง ลาว เขมร และบางส่วนของเวียดนามวรีกรรมอันยิ่งใหญ่ของพญาเจียง ถูกจารึกบันทึกไว้ในใบลานตำนานเล่าขานของล้านนา ล้านช้าง และแดนอีสานโดยเฉพาะภาพแกะสลักแผ่นหินขนาดใหญ่ที่ปราสาทนครวัดประเทศกัมพูชา นักท่องเที่ยวทั่วโลกรู้จักกันในนาม "กองทัพช้างกษัตริย์สยามก๊ก"

พ.ศ.2300 พญาเมืองชัย เจ้าเมืองแพร่ ผู้มีฉายานามว่า วีรบุรุษ 3 กรุงเก่า ของชาวเมืองแพร่และชาวไทย

    1. ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก่อนกรุงแตก ขณะที่กองทัพพญาตากตีแหกค่ายพม่าออกไปทางจันทบุรี กองทัพม้าพญาเมืองชัย 300 เศษ ตีแหกค่ายพม่าออกไปทางสระบุรี เกิดการสู้รบล้มตายทั้งสองฝ่าย ทัพพญาแพร่ได้รับชัยชนะ ทัพพม่าจึงถอยกลับไป
    2. สมัยกรุงธนบุรี พญาเมืองชัย ได้นำกองทัพแพร่ลงไปสมทบกองทัพหลวงของพระเจ้าตาก ที่เมืองพิชัยการปราบปรามทัพพม่าได้ถอยออกไปจากหัวเมืองต่างๆของไทยสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงพระกรุณาแต่งตั้งทหารเอก คือ พญาพิชัยดาบหัก แลละพญาเมืองชัย ขึ้นเป็นพญาเมืองชัยศรีสุริยะวงศ์
  1. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พญาเมืองชัยได้สะสมกองทัพไทยหลายเผ่ามีไทยยวน ไทยถิ่น ไทยเขิน ไทยลื้อ ไทยยอง ไทยลาว ตั้งทัพไว้ที่เมืองยอง โดยการสนับสนุนของพญายองกับพญาเชียงราย พอได้เวลาก็ยกเข้าโจมตี กองทัพพม่าที่ยึดครองเมืองเชียงแสนได้สำเร็จ พระเจ้ากาวิละ กษัตริย์เชียงใหม่ให้พญาแพร่ นำตัวแม่ทัพพม่าลงไปถวายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงพอพระทัยเป็นอันมาก ตรัสว่า "พญาแพร่ พญาเชียงราย พญายอง เป็นชนชาติไทยลาวที่มีความจงรักภักดีต่อกรุงเทพฯ" ได้ปูนบำเน็จ ความดีความชอบให้เป็นอันมากฯ

พ.ศ.2339 หลังสงครามสงบ ชนชาติไทยเผ่าต่างๆ ที่มีผลงานกู้ชาติได้อพยพลงมาตั้งบ้านเรือนในเมืองแพร่ เช่น ไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง ไทยลื้อบ้านพระหลวง ไทยเวียงจันทร์บ้านทุ่งกวาว ไทยใหญ่บ้านใหม่ ไทยยวนบ้านเหมืองหม้อ ไทยมะปี้บ้านดง และไทยถิ่นหรือถิ่นไทยลื้อบ้านถิ่น โดยทำพิธีไหว้ผีพญาแถนหลวง ณ ดอยเด่นนางฟ้าพระธาตุถิ่นหลวงเพื่อของสร้างบ้านแปงเมือง ให้เป็นมังคละ วุฒิสวัสดี สืบไปภายภาคหน้า

(ตำนานเชียงรุ่ง เชียงแสน ราชพงสาวดารอยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์, เรียบเรียงโดย ครูบาแดง, พิมพ์โดย Gplace.com)

ตำนานพระธาตุถิ่นแถนหลวง

ณ เชตวันมหาวิหาร ยามใกล้รุ่งคืนหนึ่งของพรรษาที่ 25 พระพุทธองค์ได้รำพึงว่า บัดนี้พระชันษา 60 แล้ว เมื่อครบ 80 ก็จะปรินิพพานในเมื่อเวลาเหลือไม่มาก ก็ขออธิษฐานให้พระธาตุ (เถ้ากระดูก) นั้นได้แบ่งกันไปกราบไหว้และขอให้พระบรมธาตุไปอยู่ ณ ที่ซึ่งพระองค์ได้ทำนายไว้

ครั้นออกพรรษาแล้ว เดือนเกี๋ยงแรมค่ำหนึ่ง (เดือน 1 แรม 1 ค่ำ) พระองค์ก็เสด็จนำพระอรหันต์และพระสาวกทั้งหลาย ออกเทศนาสั่งสอนโปรดสัตว์ตามที่ต่างๆ

ถึงเมืองแพร่ พระก็นอนอยู่ใต้นต้นจองแค่บนดอย ชื่อ โกสิยะปัปปะตะ คือ ดอยช่อแพรก็มีพุทธทำนายไว้ว่าจะเป็นที่แห่งหนึ่ง ที่พระบรมธาตุจะมาบรรจุไว้ ต่อมาภายหลังขุนลั๊วะอ้ายก้อมพร้อมพระยา 5 เมือง ได้มาสร้างเจดีย์บรรจุพระธาตุไว้ เป็นพระธาตุจากส่วนกระดูกข้อศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า

พ.ศ. 1899 สมเด็จพระยาลิไทแห่งกรุงสุโขทัยได้อัญเชิญพระบรมสารีรักธาตุ มาบรรจุว้าพร้อมกับสร้างและบูรณะศาสนสถานทั่วไปในเมืองแพร่

ส่วนพระพุทธเจ้าก็เสด็จไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปยังดอยวิสุทธิยะปัปปะตะ แปลว่า บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว หรือดอยหมด ทรงประทับใต้ต้นประดู่อันร่มรื่นมองเห็นภูมิทัศน์ได้กว้างไกล ก็ทรงทำนายจะตั้งพระศาสนาไว้อีกแห่งหนึ่งเพื่อเป็นที่พึ่งแก่คนทั้งหลายที่จะมาตั้งบ้านเมืองอยู่ในที่ราบแห่งนี้คนเหล่านั้นจะได้ดี มีสุข อยู่ดี กินดี มีศิลธรรม ค้ำจุนพระศาสนา และพระบรมธาตุจนตราบสิ้นอายุขัยของเทพเทวา

ด้วยพุทธานุภาพ ก็ปรากฏรูปนิมิตรของเทพเทวาเหล่านางฟ้า ได้นำดวงแก้วใสมารองรับพระเกศาธาตุอัญเชิญไว้ในใจกลางถ้ำดอยนั้น สถานที่ศักดิ์สิทธิแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า ดอยเด่นนางฟ้า มีพญาแถนหลวงเป็นผู้เฝ้ารักษาพระพุทธองค์ทรงสั่งว่า เมื่อปรินิพพานไปแล้ว ให้นำกระดูกข้อศอกขวาของพระพุทธองค์มารรจุไว้ที่นี่ด้วย เพราะที่นี่จะเป็นที่ชุมนุม นักศีล นักบุญ ผู้ปรารถนาจะได้ความสุข ในมนุษย์สมบัติสวรรค์สมบัติ

เมื่อผ่านพระมหาปรินิพพานไปแล้ว 218 ปี พระยาธัมมาโศกราช และเจ้าเมืองทั้งหลายในชมพูทวีปก็สร้างเจดีย์ 84,000 องค์ไว้บรรจุพระบรมธาตุพร้อมๆ กับพระอรหันต์เจ้าทั้งหลายก็อธิษฐานว่า ที่ทรงมีพุทธทำนายไว้ก็ขอให้พระบรมธาตุได้ไปสถิตประดิษฐานตั้งไว้โดยทั่วถึง

แล้วพระธาตุของพระพุทธเจ้าก็เสด็จไปด้วยอากาศกลางหาวตั้งอยู่ ณ ที่นั้นๆ ทุกแห่ง ที่ทรงมีพุทธทำนาย


วัดพระธาตุถิ่นแถนหลวง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองแพร่ ห่างจากตัวเมืองแพร่ 12 กิโลเมตร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดแพร่ 054-646205
ททท.สำนักงานแพร่(รับผิดชอบแพร่ น่าน อุตรดิตถ์) 054-521127,054-521118-9
ททท.Call Center 1672

วัดพระธาตุถิ่นแถนหลวง

แชร์

1 หมู่ 3 ต.บ้านถิ่น อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ 54000 แผนที่

รีวิว 0 รายการ | ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,วัด,ศาสนสถาน,สถานที่,วัด

ไม่ทราบเวลาเปิดปิดที่แน่นอน

054-646205

3537

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 0 รายการ)

สถานที่ใกล้เคียง

แพะเมืองผี แพะเมืองผี (รีวิว 602 รายการ)

ห่าง 4.75 กิโลเมตร

หมู่บ้านโป่งศรี หมู่บ้านโป่งศรี (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 5.77 กิโลเมตร

น้ำตกตาดหมอก แพร่ น้ำตกตาดหมอก แพร่ (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 6.02 กิโลเมตร

น้ำตกแม่แคม น้ำตกแม่แคม (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 6.59 กิโลเมตร

พระธาตุปูแจ พระธาตุปูแจ (รีวิว 3 รายการ)

ห่าง 6.64 กิโลเมตร

โรงแรมใกล้เคียง

พระจันทร์เคียงดาว รีสอร์ท พระจันทร์เคียงดาว รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 5.37 กิโลเมตร

สกาย ริช รีสอร์ท สกาย ริช รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 7.22 กิโลเมตร

ไรวินทร์บุรี รีสอร์ท ไรวินทร์บุรี รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 7.27 กิโลเมตร

ร่มไม้สายธาร รีสอร์ท ร่มไม้สายธาร รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 9.17 กิโลเมตร