“บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ ”

ท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นที่เคารพของประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้เจ็บไข้ได้ป่วย ด้วยเชื่อว่าบารมีของท่านจะช่วยให้หายเจ็บไข้ได้ตามแรงอธิษฐาน จึงมักนิยม จัดสร้าง "รูปเคารพ" หรือ "วัตถุมงคล" ทั้งขนาดบูชา พระเครื่อง และเหรียญ เพื่อไว้สักการะ ขอพรให้หายจากโรคาพยาธิทั้งโรคกายและโรคกรรม อย่างเช่นที่หน้าโรงพยาบาลสงฆ์ เป็นต้น 

มีเรื่องราวขีวิตของท่านมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถา ตลอดชีวิตของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้บำเพ็ญแต่คุณงามความดี ช่วยเหลือผู้เจ็บไข้โดยไม่เลือกฐานะ จนได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า เป็นเอตทัคคะ ผู้เลิศกว่าอุบาสกทั้งปวงในทาง "เป็นที่รักของปวงชน"

หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นบุตรของนางสาลวดี นครโสเภณีประจำเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ในสมัยนั้นตำแหน่งนี้มีเกียรติยศต่างจากในสมัยนี้ นางสาลวดีตั้งครรภ์โดยบังเอิญ เมื่อคลอดบุตรชายออกมาจึงสั่งให้สาวใช้นำไปทิ้ง 

เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น "เจ้าชายอภัย" โอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าพิมพิสาร จะเข้าเฝ้าฯ พระบิดา เสด็จผ่านไปเห็นฝูงการุมล้อมทารกอยู่ เมื่อทรงทราบว่ายังมีชีวิตจึงได้โปรดให้นำไปให้นางนมเลี้ยงไว้ในวัง ประทานนามว่า "ชีวก" แปลว่า ยังเป็นอยู่หรือยังมีชีวิตอยู่ และมีสร้อยนามว่า "โกมารภัจจ์" อันหมายถึง ผู้อันพระราชกุมารเลี้ยง

ชื่อ ชีวก ตั้งขึ้นตามคำกราบทูลตอบคำถามของพระองค์ที่ตรัสถามว่า เด็กยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า มหาดเล็กกราบทูลว่า ยังมีชีวิตอยู่ (ชีวโก) ส่วนคำว่า โกมารภัจจ์ แปลว่า กุมารที่ได้รับการเลี้ยงดู หรือ กุมารในราชสำนัก หมายถึง บุตรบุญธรรม นั่นเอง ฉะนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ จึงหมายถึง บุตรบุญธรรมที่ยังมีชีวิตอยู่ นั่นเอง

เมื่อเติบโตขึ้นชีวกถูกพวกเด็ก ๆ ในวังล้อเลียนว่า เจ้าลูกไม่มีพ่อ ด้วยความมานะ จึงหนีพระบิดาไปเรียนศิลปวิทยาที่เมืองตักสิลา เพื่อเอาชนะคำดูหมิ่น วิชาที่เลือกเรียนคือวิชาแพทย์ แต่เนื่องจากไม่มีค่าเล่าเรียน จึงอาสารับใช้พระอาจารย์ เมื่อเรียนอยู่ถึง 7 ปี จึงลาอาจารย์กลับบ้าน ระหว่างทางอาจารย์ให้ไปหาต้นไม้ที่ทำยาไม่ได้ ให้เก็บตัวอย่างมาให้ดู ปรากฏว่ากลับมามือเปล่า เพราะต้นไม้ทุกต้นใช้ทำยาได้ อาจารย์บอกว่าเขาได้เรียนจบแล้ว จึงอนุญาตให้กลับได้

หลังจากกลับเมืองมาแล้ว ได้รักษาพระเจ้าพิมพิสารให้หายขาดจากภคันทลาพาธ (โรคริดสีดวงทวาร) และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหมอหลวง และได้รับพระราชทานสวนมะม่วง แต่ต่อมาหมอชีวกก็ได้ถวายสวนนี้ให้พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย และได้ถวายตัวเป็นแพทย์ประจำพระองค์อีกด้วย ด้วยความที่เป็นคนบำเพ็ญแต่สิ่งที่ดีงาม ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย ไม่เลือกฐานะ จึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ ในด้านแพทย์ เป็นที่รักของปวงชน

หมอชีวกได้รักษาโรคร้ายสำคัญหลายครั้ง จนเมื่อคราถวายการรักษาแด่พระพุทธองค์ในคราวที่พระบาทห้อพระโลหิต เนื่องจากเศษหินจากก้อนศิลาที่พระเทวทัตกลิ้งลงมาจากภูเขาเพื่อหมายปลงพระชนม์ชีพ หมอชีวกก็ได้บรรลุธรรมเป็น "พระโสดาบัน" และด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้าปรารถนาจะไปเฝ้าวันละ 2-3 ครั้ง เห็นว่าพระเวฬุวันไกลเกินไปจึงสร้างวัดถวายใน "อัมพวัน" คือสวนมะม่วงของตน เรียกกันว่า "ชีวกัมพวัน" (อัมพวัน ของหมอชีวก) เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูเริ่มน้อมพระทัยมาทางศาสนา หมอชีวกก็เป็นผู้แนะนำให้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

ในวงการแพทย์แผนโบราณในปัจจุบันนี้ ถือว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็น บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ เป็นที่เคารพของประชาชนทั่วไป


ชีวกัมพวัน

แชร์

Shanti Stupa Road, ราชคฤห์, รัฐพิหาร, อินเดีย แผนที่

รีวิว 0 รายการ | ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,โบราณสถาน

No hours available

1271

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 0 รายการ)

สถานที่ใกล้เคียง

เขาคิชฌกูฏ ราชคฤห์ เขาคิชฌกูฏ ราชคฤห์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.32 กิโลเมตร

สถูปพระเจ้าอชาติศัตรู สถูปพระเจ้าอชาติศัตรู (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.94 กิโลเมตร

วัดเวฬุวันมหาวิหาร วัดเวฬุวันมหาวิหาร (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.95 กิโลเมตร

วัดไทยสิริราชคฤห์ วัดไทยสิริราชคฤห์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 3.46 กิโลเมตร