“วัดไทยแห่งแรกในอินเดีย อยู่ใกล้พุทธคยา(สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)”

เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 มีเนื้อที่ราว 12 ไร่ (5 เอเคอร์) ตั้งอยู่บริเวณพุทธคยา อยู่ห่างจากองค์เจดีย์พุทธคยาประมาณ 500 เมตร เป็นวัดที่อยู่ในความดูแลและอุปถัมภ์ของรัฐบาลไทย ปัจจุบันมีพระเทพโพธิวิเทศ (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติ

เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2497 นายปุ่น จงประเสริฐ เลขานุการสถานเอกอัครทูตไทย ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ได้เดินทางมาพบกับพระนักศึกษาไทยที่ศึกษา ณ สถาบันการศึกษาบาลีนวนาลันทา ซึ่งมีจำนวน 4 รูป คือ พระมหานคร เขมปาลี (ต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระราชรัตนโมลี อุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และอดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) พระมหามนัส จิตตทะโม พระมหาโอภาส โอภาโส และพระมหาชวินทร์ สระคำ (ต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระอุดรคณาธิการ ภายหลังลาสิกขาได้รับเลือกเป็น ส.ส.จังหวัดร้อยเอ็ด) และได้แจ้งข่าวว่า พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มีจิตศรัทธาส่งเงินจำนวน 200,000 รูปี (ในสมัยนั้นอัตราแลกเปลี่ยนที่ 1 รูปีอินเดียแลกได้ 4 บาทไทย) มายังสถานทูตไทย เพื่อดำเนินการสร้างวัดไทยในอินเดีย ตามที่รัฐบาลอินเดียเชิญชวน แต่ในตอนนั้น เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุง นิวเดลลี คือ พระพหิทธานุกร ได้มอบให้เลขานุการสถานทูตเป็นผู้ดำเนินการสร้างแทน จึงมาปรึกษาพระสงฆ์ไทย ที่เรียนอยู่ที่นาลันทา และตกลงกันว่า จะซื้อที่ดินที่พุทธคยา และมอบให้นายปุ่น จงประเสริฐ เป็นผู้ดำเนินการซื้อที่ดินจากรัฐบาลรัฐพิหาร

ซื้อที่ดินเพื่อสร้างวัด เริ่มแรกติดต่อได้ที่ดินใกล้วัดทิเบตทางทิศเหนือ มีเนื้อที่ 15 เอเคอร์ ประมาณ 37 ไร่ (ปัจจุบันคือลานแสดงธรรมของท่านดาไล ลามะ หรือชาวบ้านท้องถิ่นเรียกว่า กาลจักระ ไมดาน (ไมดาน แปลว่า สนาม กาลจักร คือ พิธีการบูชาที่ยิ่งใหญ่ของทิเบต) ต่อมาทางการเห็นว่า การก่อสร้างโบสถ์และวิหารอื่นๆ อาจจะบดบังทัศนียภาพขององค์พระเจดีย์พุทธคยา และเมื่อขุดเพื่อวางเสาเข็ม ได้พบโบราณสถานมากมาย ทางการรัฐพิหาร จึงหาที่ให้ใหม่ คือบริเวณทีตั้งปัจจุบันนี้

รัฐบาลไทยเข้ามาดูแลเรื่องสร้างวัดต่อมามีเหตุการณ์ผันแปรในการสร้างวัด จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้รับเรื่องการสร้างวัดเป็นของรัฐบาล ต่อมาท่านทูต คนใหม่ คือ ดร. บุณย์ เจริญชัย มาอยู่ทิ่อินเดีย การก่อสร้างวัดไทยในขั้นต้น จึงเสร็จเรียบร้อย คือ มีพระอุโบสถ ศิลปะรัตนโกสินทร์ แบบวัดเบญจมบพิตร และกุฏิที่พักสงฆ์ จำนวน 2 หลัง

สิ่งก่อสร้างสำคัญ

  • พระอุโบสถ จำลองแบบมาจากพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ประเทศไทย แต่ไม่ได้สร้างกำแพงแก้วล้อมด้านหลัง พระประธานในพระอุโบสถหันหน้าไปทางทิศเหนือ เพราะทางด้านทิศตะวันออกไม่ได้ติดถนนใหญ่ จึงหันหน้าออกทางทิศเหนือ เพื่อให้ชาวอินเดียและพุทธศานิกชนจากชาติต่างๆ เข้านมัสการได้สะดวก ภายในพระอุโบสถ มีภาพวาดชาดกเรื่อง พระมหาชนก ซึ่งได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • พระประธานภายในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธชินราช (จำลอง) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประธานในการเททองหล่อ ณ วัดเบญจมบพิตร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "พระพุทธธรรมิศรชมพูทีปนิวัติสุโขทัย" มีความหมายว่า "พระพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่ในธรรม กลับสู่ชมพูทวีปให้เกิดสุข" ท่านจอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศและผู้บัญชาการทหารสูงสุด ดำเนินการอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดไทยพุทธคยา โดยเครื่องบิน C 130 ของกองทัพอเมริกา สมัยที่มาทำสงครามเวียดนาม เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ทุนทรัพย์ในการสร้างพระประธานและค่าพาหนะขนส่งจำนวน 650,000 บาท โดยเครื่องบิน C 130 เริ่มแรกนั้นต้องลงจอดที่เมืองกัลกัตตา เมื่อทำพิธีศุลกาการ แต่เมื่อบินออกจากเมืองไทยแล้ว นักบินถึงแม้จะตั้งเข็มการบินไปที่เมืองกัลกัตตา แต่ไม่สามารถบินไปกัลกัตตาได้ จึงเปลี่ยนทิศทางการบินมาที่พุทธคยา โดยตรง ปรากฏว่า สามารถบินได้อย่างสะดวก เป็นพุทธปาฏิหาริย์ที่ปรากฏต่อสายตานักบินอเมริกา
    พิธีผูกพัทธสีมา ฝังลูกนิมิตร ได้มีการผูกพัทธสีมาอย่างเป็นทางการ โดยทำในนามรัฐบาลไทย เป็นรัฐพิธี สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ มีพระสงฆ์เข้าร่วมพิธี 112 รูป มีชาวพุทธไทยจำนวน 157 ท่านจากประเทศไทย และชาวพุทธไทยในอินเดียนจำนวน 62 ท่านมาร่วมพิธี เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2509 (จารึกที่แผ่นหินอ่อนวัดไทยพุทธคยา)
  • อาคารรองรับผู้แสวงบุญชาวไทย มีจำนวน 2 หลัง ลักษณะ 2 ชั้น เพื่อเป็นที่พักของพุทธบริษัทชาวไทยที่เดินทางมานมัสการพุทธสังเวชนียสถาน แสวงบุญ ณ ประเทศอินเดีย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 

ประเทศไทยมูลนิธิวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์-อินเดีย 373/45 รามคำแหง 39 แยก 7

แขวงหัวหมาก เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ10310

โทร.02-1844539-41

วัดไทยพุทธคยา

แชร์

ตำบลโพธิคยา อำเภอคยา จังหวัดปัตตะนะ รัฐพิหาร อินเดีย 824231 แผนที่

รีวิว 0 รายการ | ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,วัด,ศาสนสถาน,สถานที่,วัด

เปิด

+91 91996 53333

watthaibuddhagaya935.com

watthaibuddhagaya935@gmail.com

881

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 0 รายการ)

สถานที่ใกล้เคียง

วัดญี่ปุ่นพุทธคยา วัดญี่ปุ่นพุทธคยา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.56 กิโลเมตร

พุทธคยา พุทธคยา (รีวิว 4 รายการ)

ห่าง 0.64 กิโลเมตร

เจดีย์บ้านนางสุชาดา เจดีย์บ้านนางสุชาดา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.89 กิโลเมตร

วัดไทยพุทธภูมิ วัดไทยพุทธภูมิ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.47 กิโลเมตร