สวดรัตนสูตร ทุกทิศทั่วไทย 11 พค 64

1790
สวดรัตนสูตร ทุกทิศทั่วไทย 11 พค 64 "บทสวดรัตนสูตร" เติมกำลังใจฝ่าวิกฤติโควิด-19

ฝ่าวิกฤติโควิด-19 วัดทุกแห่งทั่วไทยร่วมสร้างขวัญกำลังใจ เสริมสิริมงคลให้ประเทศ สวดมนต์รัตนสูตร 11 พ.ค.นี้

รัฐบาล อัญเชิญ "บทสวดรัตนสูตร" มาเจริญพระพุทธมนต์ ท่ามกลางสถานการณ์โควิดรอบนี้ตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ยังคงพุ่งไม่หยุด นับตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน 2564 เป็นต้นมา ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ขยับจากหลักสิบหลักร้อยทะยานขึ้นเป็นหลักพันคนต่อวันติดต่อกันเป็นวันที่สิบห้า ยังคงส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในปัจจุบัน ทั้งความเป็นอยู่และสภาพจิตใจ ที่ผ่านมาทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่างระดมสมองและสรรพกำลังที่มีอยู่ ทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อก้าวข้ามสถานการณ์นี้ไปให้ได้

ล่าสุด สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้มีหนังสือด่วนที่สุดลงวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 แจ้งไปยังกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ทุกรูปซึ่งเห็นพ้องกันให้วัดไทยทั่วประเทศ และวัดไทยในต่างแดน อัญเชิญ "บทสวดรัตนสูตร" มาเจริญพระพุทธมนต์ในวันที่ 11 พ.ค. 2564 เวลา 17.00 น. เพื่อความเป็นสิริมงคลและร่วมสร้างขวัญกำลังใจให้กับชาวไทยอีกแรง โดยให้ทุกวัดทั่วประเทศประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ตามวัน เวลา ดังกล่าวโดยพร้อมเพรียงกัน สำหรับวัดไทยในต่างแดนให้พิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมส่วนกลาง กำหนดให้วัดที่มีการถ่ายทอดสด ประกอบด้วย วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดไตรมิตรวิทยาคม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามส่วนภูมิภาค กำหนดให้วัดในนามเขตปกครองหนต่าง ๆ ที่มีการถ่ายทอดสด ประกอบด้วย หนกลางที่วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุทธยา หนเหนือ ที่วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ หนตะวันออก ที่วัดพระธาตุเชิงชุม จ.สกลนคร และหนใต้ ที่วัดกะพังสุรินทร์ จ.ตรัง

เครดิตข่าว ฐานเศรษฐกิจ
วัดไตรมิตร ผู้คนนิยมไปสักการะพระพุทธรูปทองคำกัน ตอนนี้ทางวัดได้สร้างพระมหามณฑปหลังใหม่สวยงามโอ่อ่าสำหรับประดิษฐานองค์พระ ที่สำคัญด้านในยังมีพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าความเป็นมาทั้งของพระทองคำและชุมชนชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรากในย่านเยาวราชนี้ มาไหว้พระชื่นใจแล้วยังได้มาชื่นชมกับพิพิธภัณฑ์ดี ๆ อีกแห่งของเมืองกรุง โดยเฉพาะใครที่มีเชื้อสายจีนต้องบอกว่าไม่ควรพลาดมาชมกัน วัดไตรมิตรวิทยาราม มีเนื้อที่ของวัดทั้งส... ดูเพิ่มเติม
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาลเมื่อ พ.ศ. 2412 โดยมีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นณรงคหริรักษ์ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ และเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว. ปุ้ม มาลากุล) เป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง
มีลักษณะผสมระ...
ดูเพิ่มเติม
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระอารามหลวง เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามวัดเก่าที่เมืองบางกอกครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดหลวงข้างพระบรมมหาราชวัง และที่ใต้พระแท่นประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วย 
วัดมีเนื้อที่ 50 ไร่ 38 ตารางวาอยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ทิศเหนือจ...
ดูเพิ่มเติม
วัดพนัญเชิงวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร แบบมหานิกาย สร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี (จากคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่าเป็นพระอารามหลวงลำดับที่ 15) อยู่ในเขตปกครองของคณะสงฆ์ตำบลหอรัตนไชย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ตอนใต้ของเกาะเมือง ทางราชการใช้ชื่อว่าตำบลคลองสวนพลู (หรือตำบลกะมัง) อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประวัติ
วัดพนัญเชิง เป็นวัดเก่า สร้...
ดูเพิ่มเติม
วัดพระสิงห์ หรือมีชื่อเต็มว่า วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นวัดที่มีนักท่องเที่ยวรู้จักคุ้นชื่อกันดี พญาผายู กษัตริย์เชียงใหม่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อบรรจุพระอัฐิของพญาคำฟู ซึ่งเป็นพระราชบิดา เดิมชื่อว่า วัดลีเชียงพระ  บริเวณหน้าวัดแห่งนี้เคยเป็นกาดมาก่อน ชาวบ้านเรียกว่า กาดลี
วัดพระสิงห์มีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่ หอไตร สร้างเป็นครึ่งตึกครึ่งไม้ ที่ตัวผนังตึกด้านนอกประดับด้วยทวยเทพปูนปั้นแต่งองค...
ดูเพิ่มเติม
ตามอุรังค นิทาน กล่าวว่า วัดพระธาตุเชิงชุม เป็นสถานที่ พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาโปรดชาวเมืองหนองหาร หลวง และกล่าวว่าบริเวณนี้เป็นที่บรรจุพระบาท ของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า กุกสันโธ โกนาคมโน กัส สะโป และโคตมะ ซึ่งก่อนจะเสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน ต้องไปประทับรอยพระบาทไว้ที่นั่นทุก พระองค์ นับว่าพระพุทธเจ้าพระนามว่า ศรี อาริยเมตตรัย องค์ที่ 5 ในภัทกัปป์นี้ ก็จะประทับรอยพระบาทไว้เช่... ดูเพิ่มเติม
วัดกะพังสุรินทร์ พระอารามหลวง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2440 ภายในวัดมีพระอุโบสถ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้ เสาไม้ฝาก่ออิฐถือปูน หลังคาหน้าจั่วต่างๆ ระดับสองชั้น... ดูเพิ่มเติม

กำลังเป็นที่นิยม

แนะนำทริป

จัดทริปของคุณ

ร้านอาหารใกล้เคียง