เส้นทางบุญ สายเก่า ใกล้กรุง ไปเช้าเย็นกลับ

29163
เส้นทางบุญ สายเก่า ใกล้กรุง ไปเช้าเย็นกลับ เส้นทางทำบุญ ไปเช้า-เย็นกลับ
เลือกเอาตามกำลังศรัทธา หรือใกล้บ้าน ได้เลยจร้า
วัดหลวงพ่อโสธร อยู่ในเขตเทศบาลเมือง ริมแม่น้ำบางปะกง เดิมชื่อว่า "วัดหงส์" สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อโสธร" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 1.65 เมตร สูง 1.48 เมตร ฝีมือช่างล้านช้าง ตามประวัติเล่าว่าได้ปาฏิหาริย์ลอยน้ำมา และมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้ แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปหล่อทองสัมฤทธิ์ปางสมาธิหน้าต... ดูเพิ่มเติม
วัดบางพลีใหญ่ใน อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดสมุทรปราการ วัดนี้อยู่ริมลำคลองสำโรง ห่างจากประตูน้ำสำโรงประมาณ 13 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 40 กว่าไร่ เนื้อที่ตั้งวัดประมาณ 35 ไร่เศษ อยู่ติดกับ ตลาดน้ำโบราณบางพลี
ในอุโบสถมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่สมัยสุโขทัยปางมารวิชัยลืมเนตร หน้าตักกว้าง 3 ศอก 1 คืบ เนื้อเป็นทองสัมฤทธิ์ เป็นที่เลื่อมใสของประชาชนโดยทั่วไปนาม หลวงพ่อโต วัดนี้จึงมีชื่อว่...
ดูเพิ่มเติม
  วัดไร่ขิง หรือ วัดมงคลจินดาราม ตั้งอยู่ที่อำเภอสามพรานห่างจากกรุงเทพฯ 32 กม. มีทางเข้า 3 ทาง คือ ทางแยกหน้าสถานี ตำรวจโพธิ์แก้ว ทางแยกหน้าสวนสามพราน และทางแยกพุทธมณฑลสาย 5 วัดไร่ขิง เป็นวัดราษฎร์ สร้างเมื่อ พ.ศ.2334 โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) เรียกชื่อวัดตามชื่อตำบล เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ได้อัญเชิญพระพุทธรูปจากวัดศาลาปูนมาประดิษฐานไว้ที่วัดไร่ขิงด้วย ปัจจุบันชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อวัดไร่ข... ดูเพิ่มเติม
พระร่วงโรจนฤทธิ์ ประดิษฐานในซุ้มวิหารทางทิศเหนือหน้าองค์พระปฐมเจดีย์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งได้พระเศียร พระหัตถ์ และพระบาทมาจากเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
โปรดเกล้าฯ ให้ช่างทำรูปปั้นขี้ผึ้งปฏิสังขรณ์ให้บริบูรณ์เต็มองค์ ทำพิธีหล่อที่วัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ.2456 เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย เสร็จแล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในซุ้มวิหารด้านเหนือตรงกับบันไดใหญ่ และพระราชทานนามว่าพระร่วงโรจนฤทธิ์...
ดูเพิ่มเติม
วัดบ้านแหลม หรือ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร ตั้งอยู่ในตัวเมือง เดิมชื่อวัดศรีจำปา เป็นวัดสำคัญที่สุดของจังหวัดสมุทรสงคราม
ตามพงศาวดารฉบับราชหัตถเลขา เมื่อ พ.ศ. 2307 พม่ายกทัพเข้ามาตีเมืองเพชรบุรี แต่กองทัพของกรุงศรีอยุธยา ได้ยกทัพมาช่วยรักษาเมืองไว้ได้ ชาวบ้านแหลมในเขตเมืองเพชรบุรีได้อพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในตำบลแม่กลอง เหนือวัดศรีจำปาขึ้นไป และเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านแหลม" ตามชื่อบ้านเดิมของตนใน...
ดูเพิ่มเติม
วัดเขาตะเครา ตั้งอยู่ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม สามารถไปได้สองทาง ทางแรกก่อนจะเข้าตัวเมืองเล็กน้อย มีถนนแยกซ้ายมือเข้าสู่วัดเขาตะเครา ระยะทาง 15 กม. อีกเส้นทางหนึ่งคือ เดินทางจาก เมืองเพชรไปบ้านแหลม แล้วขับรถต่อไปอีก 6 กม. ก็ถึงวัดเขาตะเครา ที่วัดนี้เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปปางมารวิชัย สูง 29 นิ้ว หน้าตักกว้าง 21 นิ้ว เรียกกันว่า หลวงพ่อเขาตะเครา
มีชาวเมือง และนักท่องเที่ยวไปกราบไหว้ปิดทองเป็นอันม...
ดูเพิ่มเติม
วัดพนัญเชิงวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร แบบมหานิกาย สร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี (จากคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่าเป็นพระอารามหลวงลำดับที่ 15) อยู่ในเขตปกครองของคณะสงฆ์ตำบลหอรัตนไชย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ตอนใต้ของเกาะเมือง ทางราชการใช้ชื่อว่าตำบลคลองสวนพลู (หรือตำบลกะมัง) อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประวัติ
วัดพนัญเชิง เป็นวัดเก่า สร้...
ดูเพิ่มเติม
วัดป่าโมกวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่งดงามมากองค์หนึ่งของประเทศไทย สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น มีความยาวจากพระเมาลีถึงปลายพระบาท ประมาณ 12 วา ( 22.58 เมตร) ก่ออิฐถือปูนปิดทอง ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง และผู้สร้าง แต่มีในพระราชพงศาวดารในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ว่าพระองค์ก่อนจะยกทัพไปรบ กับพระมหาอุปราชได้เสด็จมาชุมนุมพล และถวายสักการะ บูชาก่อนยกทัพไปตีพม่า และในสมัยสมเด็จพระเจ้า... ดูเพิ่มเติม
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ตั้งอยู่ที่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่หน้าบันของวิหารวัดป่าเลไลยก์มีเครื่องหมายพระมหามกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ บอกให้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จธุดงค์มาพบสมัยยังทรงผนวชอยู่ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วจึงทรงมาปฏิสังขรณ์ สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างในสมัยที่เมืองสุพรรณบุรีรุ่งเรือ... ดูเพิ่มเติม
วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลขุนโขลน ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 28 กิโลเมตร มีทางเลี้ยวซ้ายก่อนถึงอำเภอพระพุทธบาทเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2167
ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ปูชนียสถานที่สำคัญ คือ "รอยพระพุทธบาท" ที่ประทับไว้บนแผ่นหินเหนือไหล่เขาสุวรรณบรรพต หรือเขาสัจจพันธคีรี รอยพระบาทมีความกว้าง 21 นิ้ว ยาว 60 นิ้ว ลึก 11 นิ้ว ค้นพบในสมัยพระ...
ดูเพิ่มเติม

กำลังเป็นที่นิยม

แนะนำทริป

จัดทริปของคุณ

ร้านอาหารใกล้เคียง